two rabbit statues are in front of Sara Kratai Chomchan
the Buddha's relics kept in miniature glass stupas
the stupa is called Chedi Luang
LP Thaworn sleeps in a coffin on the 2nd floor of Chedi Luang
Viharn Phaputthachao Luangyai
the wax statue of Luang Phu Suang
LP Jarun Wat Amphawan & LP Thaworn Wat Pasi Thaworn
inside viharn phranon
Black tiger statue is in front of Chedi Luang
Luang Pho Sukkho is in a building near dragon columns
Wat Pasi Thavorn Nimit
Update : December 28, 2022
Temple is located at Ban Bung Khe, Nongsaeng sub-district, Pak Phi district, Nakhon Nayok province. It's located in a natural area, hidden among tall trees and mountains.
The location of the temple as you see today was once covered with lot of trees growing closely together. But everything changed when Luang Pho Thavorn (the former abbot) had the temple built.
And King Bhumibol Adulyadej (King Rama 9) ordered the construction of a reservoir near the temple named "Klong Sisiat" because the king wanted to help people in rural areas.
Besides Klong Sisiat reservoir, there is a big pond within the temple, around the edge of that pond is filled with Golden shower trees or Thai people call Dok Koon. Dok Koon is large hanging flower clusters, often blooming from April to June. When they flower, it indicates the start of hot season.
For those who want to transfer money to help temple, please see details below.
Name of Bank : Siam Commercial Bank Public Company Limited (SCB)
SWIFT Code : SICOTHBK
Address : B2-256/26 Suwannasorn road, Nakhon Nayok subdistrict, Mueang district, Nakhon Nayok, 26000 Thailand
Branch : Nakhon Nayok
Account name : Temple Pasreethawornnimit
Account number : 659-224705-9
Attractions are as follows
1. Viharn Phaputthachao Luangyai is a one-storey white building, enshrining the big white Buddha statue and the wax statue of Luang Phu Suang, who is known as the angel on the ground.
2. Traditional Thai house, where LP Thavorn once stayed in, was moved from Wat Patum Wanaram, Bangkok, after he passed away. It's located next to the white stupa (Chedi Luang).
3. Chedi Luang or the white stupa consists of 3 floors.
The 1st floor has Buddha statues, The 2nd floor enshrines the coffin that the body of Luang Pho Thaworn is placed inside, and the top floor keeps the Buddha's relics. It's open to the public every day, but the top floor only on special occasions.
4. Viharn of LP Thavorn is a one-storey building with 2 naga statues, located opposite the white stupa. It contains the gigantic statue of LP Thavorn.
5. Sara Kratai Chomchan is an open pavilion, that enshrines the Buddha's relics in miniature glass stupas, Buddha statues and famous monk statues.
Every morning, people gather in the pavilion to chant and listen to Dhamma teachings from monks, and then offer food to monks. In the evening, they all gather again to chant and meditate.
6. Viharn Phranon is a big white building, near the temple entrance. It's situated opposite the temple cooperative (Sahakorn), where everyone can buy necessary things for monks.
Inside, it enshrines a big reclining Buddha statue, emerald Buddha statues and LP Thavorn's photos.
7. Luang Pho Sukkho is a high relief sculpture of reclining Buddha. You will find it in a one storey building on the way to Klong Sisiat reservoir.
Monk Biography
LP Thavorn Jittathawaro (Phrathep Vimonyarn) who held Phra Racha Kana rank (Dhammayut Nikaya sect), was the assistant abbot of Wat Pathum Wanaram in Bangkok and deputy primate region 9.
Moreover, he was the founder of Buddhist temples in Thailand, India, and the USA such as Wat Buddha Thai Thavorn Vanaram in New York, Wat Pa Sri Thavorn in Texas, Wat Nerancharawas in India. Nowadays, Wat Pa Sri Thavorn has 13 branches in Thailand, not including monks' residences.
LP Thavorn was born on March 4, 1952, at Baan Non Silalerng, Kalasin province. On the same day he was born, his mother died. Mr.Ting and Mrs.Pua Wongmalai, who were at the scene, decided to adopt a child.
He studied until the forth grade, and left the school to support his parents work for 3 years. His interest in Buddhism bloomed at a young age, so when he reached the age of 15, he was ordained as a novice at Wat Baan Pordang, Kalasin province.
His preceptor was LP On, who was the Provincial Ecclesiastical Governor (Dhammayut) and also disciple of LP Mun Phurithatto.
During the first year of his ordination, he stayed with LP Boonken who was his real uncle at Wat Samrong Yuttawat, Udon Thani province.
Later, in 1967, he moved to Wat Phothi Somphon (a Buddhist school), located in the same province. It was residence of LP Chansi Chantatipo, who was another disciple of LP Mun Phurithatto. He lived there and took care of LP Chansi for 6 years.
He then moved to Wat Pathum Wanaram in Bangkok. And he was ordained as a monk in 1973, given a Buddhist name "Jittathawaro".
Get over his fear
LP Boonken was the first master, teaching him how to practice mindfulness. LP Boonken knew that his disciple was scared of ghosts, so he told his diciple to spend a night in the cemetery alone. Moreover, his disciple had to burn a body.
He had to do as what LP Boonken told, because LP Boonken was the one that he both feared and respected. During the burning, he thought when the ghost would come out to help him burn.
But he didn't find any ghosts that night. For this reason, he wasn't afraid of ghosts from then on, and had no doubt about it at all. He also thought that "Fear came from our own mind that we created". Later, the cemetery became the place where he practice meditation.
He practiced Dharma strictly as he had learned from his masters. Each master was the disciple of LP Mun Phurithatto - LP Khao Analayo of Wat Tham Klong Phen, LP Fun Acharo of Wat Pa Udom Somphon, LP Thet Thetrangsi of Wat Hin Makpeng, Luangta Maha Bua of Wat Pa Baan Tad.
During his stay at Wat Pathum Wanaram, Chao Khun Phra Ratchamuni who was his last meditation master, usually took him to meditate at night in cemeteries in Bangkok (Wat Don Cemetery), Chonburi and Saraburi.
They both started barefood travel from Bangkok to the northeast of Thailand. From the 5th Buddhist lent onwards, he practiced meditation harder at least 20 hours a day, that helped him stay mindful all the time.
Never disrobe
During the 8th Buddhist lent, he made a vow never to leave the monkhood, and meditated harder in order to destroy his desire.
Therefore, he went on a pilgrimage to Sa Kaeo cave, where is known today as Wat Tham Khao Chakan in Sa Kaeo province. When he reached the cave, he prayed that he would abstain from speaking and eating for 7 days, but he fasted for 2 days before.
During his stay, he had to climb up and down inside the cave every day, as if he claimbed down a four-storey building! because the pond he took a bath was deep in the cave.
He faced difficulties, that he had never faced before. However, he still meditated strictly in the cave until the last day (July 8,1980). This time, he saw something he had never seen before, and understood the Buddha's teachings clearly.
After that, he had spread Buddhism throughout Thailand and served the Buddhist faith until he passed away. He passed away on October 18, 2015, at the age of 63.
วัดป่าศรีถาวรนิมิต
วัดป่าศรีถาวรนิมิต ตั้งอยู่ที่ บ้านบุ้งเข้ ต.หนองแสง อ.ปากพลี จ.นครนายก เป็นวัดที่ตั้งอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ ล้อมรอบด้วยภูเขาและต้นไม้ใหญ่มากมาย และเพื่อนๆ รู้ไหม บริเวณรอบสระน้ำในวัด ทางวัดปลูกต้นคูน ช่วงที่ดอกคูนบานนะ สระน้ำและพื้นดินบริเวณนั้นกลายเป็นสีเหลือง สวยงามจับใจจริงๆ
นอกจากความเป็นธรรมชาติแล้ว อากาศที่นี่ยังเย็นสบายอีกด้วย วัดนี้เหมาะกับคนที่ชอบความสันโดษ เพราะคนมาปฏิบัติธรรมไม่มากนัก และยังมีพื้นที่หลายแห่งในวัดให้เราแยกไปปฏิบัติคนเดียวได้อีกด้วย
ถ้าชอบความเงียบ ก็เข้าสุสานไปเลยโลด ซึ่งสุสานอยู่หลังที่พักของแม่ขาว แต่ห้ามเข้าไปตอนกลางคืนนะคะ หลวงพ่อท่านไม่อนุญาติ อากาศในบริเวณสุสานเย็นสบายมากๆ เงียบสงบ มีกระรอก ผีเสื้อ แต่ที่เราไม่ชอบมากๆ และทำให้คอยระแวงคือกิ๊งกือคะ
สมัยก่อนพื้นที่ตรงนี้เป็นป่า ไม่มีอะไรเลย แห้งแล้งมากๆ หลวงพ่อถาวรมาสร้างวัด และในหลวง ร.9 ได้เสด็จมาที่นี่ ให้คนมาสร้างอ่างเก็บน้ำคลองสีเสียด เพื่อบรรเทาภัยแล้งให้กับชาวบ้าน
สำหรับท่านใดที่อยากร่วม ทำบุญกับทางวัด โอนไปที่ ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขานครนายก / บัญชีเงินออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 659-224705-9 / ชื่อบัญชี วัดป่าศรีถาวรนิมิต
สำหรับเงินทำบุญ ทางวัดจะใช้ในส่วนต่างๆ ดังนี้
1.พิพิธภัณฑ์พระเทพวิมลญาณ (หลวงพ่อถาวร จิตฺตถาวโร) เป็นอาคารแบบล้านนา 3 ชั้น สำหรับอาคารนี้หลวงพ่อถาวร ต้องการให้สร้างตั้งแต่ก่อนท่านจะละสังขาร แต่ยังขาดเงินจำนวนมาก
ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมจากทางวัด เรื่องการสร้างพิพิธภัณฑ์พระเทพวิมลญาณ โทร 037-616-635, 087-913-5078
2.ถวายสังฆทานทิพย์, ถวายอาหารแด่พระภิกษุ สามเณร
3.ชำระหนี้สงฆ์, ช่วยค่าน้ำ ค่าไฟ, บูรณะวัด
4.พิมพ์หนังสือธรรมะ แจกเป็นธรรมทาน และสมทบทุนมูลนิธิ ถาวร จิตฺตถาวโร-วงศ์มาลัย
สิ่งที่น่าสนใจในวัด
1.วิหารพระพุทธเจ้าหลวงใหญ่ (หลวงพ่อขาว) ภายในประดิษฐานหลวงพ่อขาว พระพุทธรูปปางต่างๆ และรูปหล่อหลวงปู่สรวง (เทวดาเดินดิน) *ด้านหน้าหลวงปู่สรวง เราจะเห็น "ว่าว" จำนวนมาก นั่นคือของที่คนนำมาแก้บนค่ะ
2.บ้านเรือนไทยยกสูง เป็นที่พักของหลวงพ่อถาวร ซึ่งสมัยก่อนอยู่ที่วัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ แต่พอหลวงพ่อถาวรมรณภาพ เรือนไทยก็ถูกย้ายมาไว้ที่วัดนี้
3.เจดีย์หลวง เป็นเจดีย์สีขาวขนาดใหญ่ ซึ่งชั้นแรก ประดิษฐานพระพุทธรูป คือ สมเด็จองค์ปฐม พระแก้วมรกต ฯลฯ ชั้น 2 มีพระพุทธรูปปางต่างๆ และร่างของหลวงพ่อถาวร ซึ่งอยู่ในโลงทึบ ส่วน 3 ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ
เจดีย์นี้จะเปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าไปกราบสักการะได้ทุกวัน ยกเว้นชั้น 3 จะเปิดในช่วงที่มีงานสำคัญของทางวัดเท่านั้น
4.วิหารหลวงพ่อถาวร เป็นอาคารชั้นเดียว ซึ่งด้านหน้าประตูทางเข้ามีรูปปั้นพญานาค 2 ตน (อยู่ฝั่งตรงข้ามเจดีย์หลวง) ภายในประดิษฐาน รูปหล่อสีทองขนาดใหญ่ของหลวงพ่อถาวร ใหญ่เกือบชนเพดานห้องเลยคะ
5.ศาลากระต่ายชมจันทร์ เป็นศาลาเปิดโล่งทั้ง 4 ด้าน อากาศเย็นสบาย เนื่องจากวัดติดเขา อ่างเก็บน้ำ และมีต้นไม้ใหญ่เต็มวัด ช่วงเช้าและเย็น คนจะมาปฏิบัติธรรมและสวดมนต์เย็นกันที่นี่ ภายในศาลาประดิษฐาน พระบรมสารีริกธาตุ รูปหล่อสมเด็จโตฯ รูปหล่อหลวงปู่มั่น รูปหลวงพ่อยี และพระพุทธรูปปางต่างๆ
สิ่งที่แปลกตาคือ พระแก้วมรกต ขนาดเท่าคนจริง ซึ่งมีหลายสี โดยปกติเราจะเห็นแต่องค์สีเขียว *สำหรับเรา เราว่าวัดนี้มีพระแก้วมรกตเยอะมากที่สุด พบได้ในหลายจุดของวัด น่าจะร่วมๆ 40 องค์ได้ หรืออาจจะมากกว่านั้น ส่วนด้านหลังเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ จะมีหุ่นขี้ผึ้งของหลวงพ่อถาวร และพระพุทธรูปอีกหลายองค์ เข้าไปกราบท่านได้คะ
6.วิหารพระนอน (ตรงข้ามกับสหกรณ์วัด) ด้านหน้ามีรูปวาดของหลวงพ่อถาวรและเสือสองตัว ซึ่งหนึ่งในนั้นคือเสือดำ เป็นเสือที่ติดตามหลวงพ่อในช่วงที่ท่านออกธุดงค์ และเสือดำที่อยู่ในรูปนั้น ก็คือเสือดำที่ประดิษฐานอยู่หน้าเจดีย์หลวง
7.วิหารหลวงพ่อสุขโข (อยู่ใกล้กับรูปปั้นมังกรที่พันเสา) ด้านในวิหาร มีพระพุทธรูปหลายองค์ สวยงามมาก แต่ที่เรารู้สึกแปลกตาคือ "พระนอน" ที่ดูเหมือนภาพนูนสูงบนหินขนาดใหญ่ ทาด้วยสีทอง งดงามมาก เราจะพบวิหารนี้ก่อนจะขับรถขึ้นไปบนอ่างเก็บน้ำคลองสีเสียด
จากสหกรณ์วัด ถึง วิหารหลวงพ่อสุขโข เพื่อนๆ จะผ่านเส้นทางที่มีต้นไผ่และต้นไม้ใหญ่มากมาย ซึ่งต้นไม้ปกคลุมทั้งสองข้างทาง ดูค่อนข้างเปลี่ยว แต่ไม่น่ากลัวนะคะ ขับต่อไป 1.5 กม. ก็จะเห็นวิหารหลวงพ่ออยู่ทางซ้าย และขับขึ้นเนินไปอีกนิดนึง จะพบอ่างเก็บน้ำคลองสีเสียด บริเวณวิหารนี้ เล่ากันว่าเป็นจุดเชื่อมต่อกับเมืองลับแลนะคะ สมัยก่อนเคยมีคนหายไปบริเวณนี้ด้วย
ประวัติหลวงพ่อถาวร
หลวงพ่อถาวร จิตฺตถาวโร หรือ พระเทพวิมลญาณ ชื่อเดิมท่านคือ ถาวร วงศ์มาลัย เกิดวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ.2495 ณ บ้านโนนศิลาเลิง จ.กาฬสินธุ์ วันที่ท่านเกิด มารดาของท่าน (นางศรีทา นาชัยเพชร) ก็ได้เสียชีวิตลง เนื่องจากคลอดบุตร
นายติ่ง และนางพั้ว วงศ์มาลัย ได้อยู่ในเหตุการณ์วันนั้น จึงได้ขอนำท่านไปเลี้ยงเป็นลูกบุญธรรม ท่านได้เรียนหนังสือจนถึง ป.4 แล้วออกมาช่วยพ่อแม่ทำนาต่ออีก 3 ปี
เมื่ออายุได้ 15 ปี ก็ได้บวชเป็นสามเณร ที่วัดบ้านปอแดง จ.กาฬสินธุ์ โดยมีพระอุปัชฌาย์ คือ หลวงปู่อ่อน จกฺกธมฺโม เจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์ (ธรรมยุต) ซึ่งหลวงปู่เป็นลูกศิษย์ก้นกุฏิของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
ปีแรกท่านได้ไปจำพรรษากับหลวงน้า ซึ่งเป็นพระน้องชายของนางศรีทา นาชัยเพชร คือ พระครูวิจิตรบุญญาภรณ์ (หลวงพ่อบุญเคน) ที่วัดสัมโรงยุทธาวาส จ.อุดรธานี
ต่อมาในปี พ.ศ.2510 ท่านได้ย้ายไปอยู่ที่วัดโพธิสมภรณ์ (ธรรมยุต) จ.อุดรธานี ซึ่งเป็นวัดที่สอนพระปริยัติธรรม และเป็นที่จำพรรษาของเจ้าคณะจังหวัด คือ หลวงปู่จันทร์ศรี จนฺททีโป ซึ่งหลวงปู่เป็นลูกศิษย์อีกรูปของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ท่านอยู่รับใช้ใกล้ชิดหลวงปู่จันทร์ศรี ถึง 6 ปี
ต่อมาท่านได้ย้ายไปอยู่ที่ วัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ และในปี พ.ศ.2516 ก็ได้บวชเป็นพระ ได้รับฉายาว่า "จิตตฺถาวโร" ขณะที่เป็นสามเณรนั้น พระรูปแรกที่สอนการปฏิบัติให้ท่านคือ หลวงพ่อบุญเคน โดยสอนให้กำหนดสติในทุกอิริยาบท และบริกรรม พุท-โธ
บททดสอบ
หลวงน้ารู้ว่าท่านกลัวผี จึงให้ไปนั่งในป่าช้าตามลำพัง ด้วยความเคารพและเกรงกลัวหลวงน้า สามเณรน้อยจึงไม่อาจขัดคำสั่งได้ ดังนั้นท่านจึงเข้าไปในป่าช้าและทำหน้าที่เผาศพไปด้วย
ขณะที่เผาศพ ท่านคอยเขี่ยชิ้นส่วนศพที่หลุดออกมาจากกองไฟให้กลับเข้าไปในกองไฟ และก็คิดว่าเมื่อไรผีจะออกมาช่วยเผาบ้าง เมื่อศพถูกเผาไหม้จนไหม้หมด ท่านก็ไม่พบผีสักตน
ตั้งแต่วันนั้นท่านก็ไม่เคยกลัวผีสางอีกเลย และคิดได้ว่า "ตัวเองหลอกตัวเอง คือกลัวความคิดของตัวเองแท้ๆ" ต่อมาป่าช้าจึงได้กลายเป็นที่เจริญจิตภาวนาของท่านมาจนถึงปัจจุบัน
ท่านปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัด ตามแบบอย่างครูอาจารย์ที่ท่านได้ไปปฏิบัติธรรมด้วย ซึ่งการไปปฏิบัติธรรมแต่ละที่ ท่านจะไปพักอยู่ไม่นาน แต่ะจะไปบ่อย เดือนละหลายๆ ครั้ง เช่น
1. หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล จ.อุดรธานี (ปัจจุบัน คือ จ.หนองบัวลำภู)
2. หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร จ.สกลนคร
3. หลวงปู่เทศก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย
4. หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี
ขณะที่ท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดปทุมวนาราม ท่านได้รับใช้ใกล้ชิดกับท่านเจ้าคุณพระราชมุนี (โฮม โสภโณ) ซึ่งเป็นครูที่สอนการปฏิบัติกรรมฐานรูปสุดท้าย สถานที่ที่หลวงปู่โฮมพาไปฝึกปฏิบัติอยู่เป็นประจำในยามค่ำคืน คือ ป่าช้าวัดดอน นอกจากนี้ยังได้พาไปที่ ป่าช้า จ.ชลบุรี และสระบุรี
หลวงปู่โฮม ได้พาท่านออกธุดงค์ไปในภาคอีสานหลายจังหวัด โดยเดินด้วยเท้าเปล่าจาก วัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ นับตั้งแต่พรรษาที่ 5 เป็นต้นไป ท่านปฎิบัติอย่างหนัก คือวันละ 20 ชั่วโมง เป็นอย่างน้อย มีสติกำหนดรู้อารมณ์ที่เกิดกับจิตทุกขณะที่ตื่น
ขอบวชตลอดชีวิต
พรรษาที่ 8 ท่านได้อธิษฐานจิตว่าจะขอตายในเพศบรรพชิต และประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า "ชาตินี้ทั้งชาติจะไม่ขอสึก แม้นจะต้องถูกตัดคอก็ยอมตาย"
พรรษานี้ท่านได้ปฏิบัติหนักขึ้นอีก เพื่อปราบกิเลสให้ได้ ท่านจึงได้ธุดงค์ไปที่ "ถ้ำสระแก้ว เขาฉกรรจ์" จ.ปราจีนบุรี (ปัจจุบัน คือ จ.สระแก้ว) และอธิษฐานว่าจะงดอาหาร 9 วัน และงดการพูด 7 วัน
โดยก่อนเดินทางไปถึงถ้ำท่านได้เริ่มงดอาหาร 2 วัน และเมื่อไปถึงถ้ำก็เริ่มงดการพูด 7 วัน ท่านปฏิบัติอย่างเคร่งครัดจนถึงวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ.2523
ขณะที่อยู่ในถ้ำ ท่านต้องไต่ขึ้นลงในถ้ำทุกวัน ซึ่งมีความสูงประมาณตึก 4 ชั้น เพื่อลงไปสรงน้ำและล้างหน้าที่สระน้ำ ซึ่งต้องใช้ความอดทนอย่างมาก ผลจากความเพียรพยายามนี้ ทำให้ท่าน "ได้ในสิ่งที่ไม่เคยได้ เห็นในสิ่งที่ไม่เคยเห็น เกิดปิติเอิบอิ่ม จิตใจชุ่มชื่นเบิกบานเย็นสบาย จิตมีพลังอำนาจ"
หลังจากท่านได้เข้าใจธรรมะอย่างถ่องแท้ ท่านก็ได้เผยแผ่ธรรมะ เมื่อครั้งที่ท่านได้ดูแลวัดปทุมวนาราม ท่านได้สั่งให้ตั้งโรงทานแจกอาหารให้กับผู้ที่มาปฏิบัติธรรมทุกคน
หลวงพ่อถาวร มรณภาพ 18 ตุลาคม พ.ศ.2558 สิริอายุ 63 ปี พรรษา 43
งานด้านการปกครอง
1. ประธานอุปถัมภ์อำนวยการ มูลนิธิถาวรจิตตถาวโร-วงศ์มาลัย
2. เจ้าอาวาส วัดคุณแม่จันทร์ กรุงเทพฯ
3. ผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ
4. ประธานอุปถัมภ์อำนวยการ มูลนิธิศาลาพระราชศรัทธา
5. ประธานบริหาร วัดพุทธไทยถาวรวนาราม นิวยอร์ก
6. รองประธานกรรมการ มูลนิธิพุทธไทยภารตะ
7. รองประธานกรรมการ สมาคมพุทธไทยภารตะ ชุดที่ 1
8. กรรมการฝ่ายสาธารณูปการของมหาเถรสมาคม
9. ประธานอุปถัมภ์อำนวยการ โครงการเมืองสหกรณ์อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
10. กรรมการฝ่ายเลขานุการ-ทะเบียน-ประวัติ กรรมการเฉพาะกิจในการประชุมเจ้าคณะตำบล ธรรมยุตทั่วประเทศ
11. ประธานอุปถัมภ์อำนวยการ สมาคมเทิดทูนพระรัตนตรัย
12. ประธานกรรมการสมาคมถาวร - อินเดีย
13. ผู้อำนวยการเผยแผ่ธรรมะ ศาลาพระราชศรัทธา
14. ได้รับแต่งตั้งเป็น รองเจ้าคณะภาค 9 (ธรรมยุต)
ขอบคุณข้อมูลจาก หนังสือ จิตฺตถาวรานุสรณ์