the statue of Luang Pho Charp
The ordination hall is called Ubosot
Traditional Thai houses
Inside the sermon hall
A happy Buddha statue
the pink building is amulet shop
Wat Sri Sakorn
Update : August 3, 2022
Temple is located on the bank of the Chao Phraya River, Tonpho sub-district, 7km from The City Pillar Shrine.
No one knows who built this temple, but there is a story that has been told through generations. The story says the temple was built by Luang Pho Sri and Luang Pho Son, two Buddisht monks from Pukam city.
They took a boat along the river until the boat passed a land which is known today as Wat Sri Sakorn, they decided to build a temple there. After the construction of the ordination hall was finished, the principal Buddha staue called Luang Pho Sri is enshrined in there.
The purpose of travellers to come here is to pay their respect to the statue of LP Charp - they probably also buy his talismans. LP Charp was one of the top monks, who had superpowers.
If you expect to take a photo with many objects in the temple, I'm sure you will be disappointed. Besides the ordination hall, there are few Buddha statues and two clusters of traditional Thai houses connected to a spacious sermon hall. However, Thai houses isn't open every day.
Monk Biography
Phrakru Mongkhon Nawakarn or LP Charp was born into a pretty rich family in Singburi. One day, thieves broke into his house - the thieves not only robbed his house, but also stole a baby (LP Charp).
Just a few days later, the thieves returned the baby along with a famous amulet, that LP Charp wore around his neck from then on.
As a child, he studied at Wat Sri Sakorn school next to the temple, unitl grade 4. When he was 14 years old, he had the chance to meet one of the most famous monks, named Luang Pho Chaem of Wat Takong.
LP Chaem travelled to Wat Sri Sakorn to help the abbot make amulets and stayed there for 6 months. During that time, he became LP Chaem's disciple and learned samatha and vipassana meditation for 3 months.
At the age of 17, he saw LP Chaem again at Wat Sri Sakorn. He had a chance to take care of LP Chaem and also studied magic. But unluckily, LP Chaem passed away saveral years later.
When he reached the age of 20, he was ordained as a monk at Wat Sri Sakorn, and learned discipline & meditation from Luang Pho Sap, the abbot of Wat Sangkarachawat.
The 1st time pilgrimage in 1950
He made a pilgrimage to Wat Tham Tako (Lopburi) to meet LP Phao. But LP Phao passed away before he reached there. So he became a disciple of LP Kong, who was the abbot at that time - LP Kong was a top disciple of LP Phao.
Later, he continued walking to Wat Khao Sarika (Lopburi) to meet LP Kop, with the intention of advancing his studies. However, LP Kop passed away before. So he went to a temple nearby, Wat Khaowong (Lopburi).
During his stay in Wat Khaowong, he met two famous monks : one became his master, named LP Opasri of Arsom Bangmod. LP Charp learned Kasin, that is another type of mediation practice from LP Opasri, who happened to be a direct disciple of LP Kop.
The other one became his friend, named LP Cha Suphattho of Wat Nongpaphong.
After leaving Wat Khaowong, he went to Wat Khao Samokorn (Lopburi) in order to furthered his studies. And shortly afterward he became a disciple of LP Boonme.
He later journeyed to the North of Thailand, walked across Burma border, and returned to Thailand. And he continued walking to Bangkok to pay homage to his master, LP Opasi, at Arsom Bangmod in 1953.
Finally, he decided to go back to Wat Sri Sakorn and stayed there for 2 weeks. And then he went to Wat Cheepakhao to ask LP Suang to be his master. Two years after he learned the art of magic from LP Suang, he became abbot of Wat Sri Sakorn and also very famous.
The 2nd time pilgrimage in 1978
LP Charp was already appointed as the abbot, but it seemed like his interest in the study of magic & Dhamma didn't end. So he asked the deputy abbot to work instead of him during his pilgrimage.
He journeyed to Wat Nongphap (Saraburi) to meet LP Bang who specialized in using magic, and afterward, LP Charp became his disciple.
He then walked toward the northeastern region of Thailand (Nakhon Ratchasima, Surin and Ubon Ratchathani), to learn how to use his spiritual power to bless an amulet and different types of kasin from famous monks.
After travelling for a long time, he decided to return to his temple in Singburi.
Few years later, he was invited to attend a cemetery cleaning ceremony in Warin Chamrap district, Ubon Ratchathani province. At that time, he stayed in LP Cha Suphattho's residence, Wat Nongpaphong for 5 days.
This ceremony is called Piti Langpacha by Thai people - unclaimed bodies previously buried by volunteers will be dug up to be given a Buddhist cremation, in order to clear burial grounds.
After the ceremony, he went to Wat Phra That Pranom to pay respect to one of the great stupa, where people have worshipped for hundreds of years .
And he headed toward Wat Sawong Thasi (Roi Et) to exchange his knowledge with LP Thongma Thawaro. This is the last temple he visited before his long journey ended.
Speed up the Dhamma practice
After a journey, he spent time alone in his room practicing Dhamma. And he rarely walked out of the room for almost 30 years, except when he was invited to attend a very important ceremony.
However, he let everyone pay homage to him for a short while every day. At the end of his life, he kept mentioning LP Cha Suphattho's name. It seemed like they always saw each other while meditation, even though they were far away.
Another friend who often visited him at the temple is LP Phae of Wat Pikunthong, Singburi.
As I said before, LP Charp had accumulated enough experience, that made him master the art of black & white magic. Villagers living on the other side of the river saw him walking across the river to receive alms.
Besides that, he could make magical water in the blink of an eye. He let drops of melting wax fall into the bowl of water, each drop suddenly turned into a blooming lotus, that most of the devotees witnessed with their own eyes.
LP Charp passed away on March 19,2018, at the age of 89.
วัดศรีสาคร
วัดนี้ตั้งอยู่ติดริมแม่น้ำเจ้าพระยา ห่างจากตัวเมือง 7 กม. วัดนี้สร้างเมื่อไรไม่มีใครทราบ แต่จากหลักฐานเดิมของวัดและคำบอกเล่าของชาวบ้าน กล่าวว่า มีพระภิกษุสองพี่น้อง คือ หลวงพ่อศรี และหลวงพ่อสน แห่งเมืองพุกาม เดินทางมาพบสถานที่แห่งนี้ และคิดว่าเป็นสถานที่ๆ เหมาะกับการสร้างวัด ท่านจึงได้สร้างวัดขึ้น
ในขณะนั้นหลวงพ่อได้นำพระพุทธรูปคู่บ้าน คู่วัด (วัดขรัวศรี) ติดมาด้วย คือพระพุทธรูปศรีอริยเมตไตย 2 องค์ และได้มีการสร้างอุโบสถขึ้น มีพระประธานเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ซึ่งชาวบ้านเรียกท่านว่า หลวงพ่อศรี
วัดนี้อาจไม่เหมาะกับนักเดินทางที่ชอบการถ่ายรูปเท่าไรนัก เพราะทั้งวัดมีพระพุทธรูปไม่กี่องค์ ส่วนบ้านเรือนไทยยกสูงที่ถูกปรับให้เป็นศาลาการเปรียญ ก็ไม่ได้เปิดทุกวัน จุดมุ่งหมายหลัก ของคนที่มาที่นี่ คือ ต้องการมากราบหลวงพ่อฉาบ และเช่าพระของท่าน ซึ่งรูปหล่อของท่านประดิษฐานในศาลาไม้ ใกล้ๆ กับบ้านเรือนไทย
ประวัติหลวงพ่อฉาบ
พระครูมงคลนวการ หรือ หลวงพ่อฉาบ ท่านเป็นคนสิงห์บุรีโดยกำเนิด ท่านเกิดในครอบครัวที่มีฐานะดี มีอันจะกิน แต่ต่อมามีโจรขึ้นบ้าน ในขณะที่โจรกำลังขนทรัพย์สิน ก็พลันได้เหลือบไปเห็นเด็กทารก ซึ่งทารกนั้นก็คือหลวงพ่อฉาบ โจรจึงได้นำหลวงพ่อฉาบไปด้วย
แต่ด้วยเหตุใดมิทราบได้ อีก 2-3 วัน โจรได้นำเด็กทารกมาคืน แล้ววางพระของหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่าไว้ที่หน้าอกหลวงพ่อ เมื่อเริ่มโตขึ้น ท่านก็ได้เรียนหนังสือที่วัดศรีสาคร ท่านเรียนจนจบ ป.4
ต่อมาเมื่อท่านอายุ 14 ปี ท่านได้พบกับหลวงพ่อแช่ม อินทโชโต วัดตาก้อง จ.นครปฐม (หลองพ่อแช่มเป็นสหธรรมิกกับเจ้าอาวาสวัดศรีสาคร) ได้เดินทางมาจำพรรษาที่วัดศรีสาคร นานถึง 6 เดือน เพื่อมาช่วยทำเหรียญแจกญาติโยมที่มาทอดกฐินที่วัดศรีสาคร
ท่านจึงได้ฝากตัวเป็นลูกศิษย์ของ หลวงพ่อแช่ม และได้เรียนสมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน วิทยาคมต่างๆ กับหลวงพ่อแช่ม เป็นเวลา 3 เดือน
ต่อมาเมื่อท่านอายุ 17 ปี ตรงกับ ปี พ.ศ.2488 หลวงพ่อแช่มได้มาจำพรรษาที่วัดศรีสาครอีกครั้ง ท่านจึงได้อยู่รับใช้และเรียนวิทยาคมต่างๆ กับหลวงพ่อแช่ม แต่ไม่นานนักหลวงพ่อแช่มก็มรณภาพ
เมื่อท่านอายุครบ 20 ปี ท่านได้อุปสมบทที่วัดศรีสาคร และได้ศึกษาพระธรรมวินัย วิปัสสนากรรมฐาน กับ หลวงพ่อทรัพย์ เจ้าอาวาส วัดสังฆราชาวาส
ธุดงค์ครั้งแรก พ.ศ.2493
ท่านได้ออกธุดงค์ไปยัง วัดถ้ำตะโก จ.ลพบุรี ซึ่งขณะนั้นหลวงพ่อเภา มรณภาพไปแล้ว ท่านจึงได้ฝากตัวเป็นศิษย์ของ หลวงพ่อคง คงคปัญโญ เจ้าอาวาสวัดถ้ำตะโกในตอนนั้น (หลวงพ่อคงเป็นศิษย์เอกหลวงพ่อเภา)
ต่อมาท่านได้ออกเดินทางไปวัดเขาสาริกา เพื่อจะไปเรียนกรรมฐานกับหลวงพ่อกบ แต่หลวงพ่อกบได้มรณภาพไปแล้ว ท่านจึงไปปฏิบัติธรรมที่วัดเขาวงกฎ ต.สนามแจง อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี ซึ่งอยู่ติดกับวัดเขาสาริกา
แต่ก่อนวัดเขาวงกฏเป็นป่า แต่มาสร้างเป็นวัดเมื่อครั้งที่หลวงพ่อเภา วัดถ้ำตะโก มาปฏิบัติธรรม ตอนนั้นมีคนมาพบหลวงพ่อเภา และเกิดความเลื่อมใสในหลวงพ่อเภา จึงได้บริจาคเงินเพื่อให้ท่านช่วยสร้างวัด
ในช่วงที่หลวงพ่อฉาบอยู่ที่วัดเขาวงกฎ ท่านได้พบกับ หลวงพ่อโอภาสี พระมหาชวน มลิพันธ์ (หลวงพ่อโอภาสีเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อกบ) ท่านจึงได้ฝากตัวเป็นศิษย์และเรียนวิชากสิณต่างๆ ซึ่งตอนนั้นหลวงพ่อโอภาสีก็ได้ชวนท่านไปพักที่อาศรมบางมดของท่านในกรุงเทพ
นอกจากหลวงพ่อโอภาสี ท่านยังได้พบกับ หลวงพ่อชา สุภัทโท แห่งวัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี ซึ่งต่อมาท่านทั้งสองได้เป็นสหธรรมิกกัน วันที่หลวงพ่อชาละสังขาร หลวงพ่อฉาบก็รีบเดินทางล่วงหน้าไปที่วัดหนองป่าพงเพื่อไปร่วมงาน
เมื่อออกจากวัดเขาวงกฏ ท่านได้เดินทางไปที่ วัดเขาสมอคอน และฝากตัวเป็นศิษย์ หลวงพ่อบุญมี อิสสโร จากนั้นก็ออกเดินธุดงค์ต่อที่ไป ดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่, แม่ฮ่องสอน แล้วกลับไปทางเชียงราย พะเยา เชียงแสน ข้ามไปฝั่งพม่าแคว้นเซียงตุง มุ่งสู่ภาคอีสานตอนบน แล้วเข้ามาที่กรุงเทพ ในปี พ.ศ.2496
เมื่อถึงกรุงเทพ ท่านได้ไปกราบนมัสการหลวงพ่อโอภาสีอีกครั้งที่อาศมบางมด และได้พักอยู่ที่นั่นเป็นเวลา 3 เดือน จากนั้นก็เดินทางกลับวัดศรีสาคร หลังจากกลับมาอยู่วัดได้ 2 อาทิตย์ ท่านก็ได้เดินทางต่อไปยัง วัดชีปะขาว แล้วฝากตัวเป็นศิษย์ หลวงพ่อซวง อภโย ท่านได้เรียนวิชากับหลวงพ่อซวงถึง 2 ปี
ช่วงปลายปี พ.ศ.2497 หลวงพ่อซวงได้พูดกับหลวงพ่อฉาบว่า "ต่อไปท่านจะได้เป็นเจ้าอาวาสวัดศรีสาครที่มีชื่อเสียง และมีคนเลื่อมใสศรัทธามาก" และก็เป็นจริงเช่นนั้น ในปี พ.ศ.2498 ท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดศรีสาคร
ธุดงค์ครั้งที่สอง พ.ศ.2521
ก่อนออกธุดงค์ ท่านได้ให้รองเจ้าอาวาสดูแลวัดแทนท่านชั่วคราว โดยท่านเริ่มออกเดินทางไปยัง จ.สระบุรี เพื่อเข้าพบ หลวงพ่อบาง วัดหนองพลับ และขอคำแนะนำด้านอาคมต่างๆ
จากนั้นก็เดินทางไปพบ หลวงพ่อนิล ที่ อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา และขอเรียนวิชาบรรจุพลังจิตในการเสกวัตถุมงคล รวมถึงกสิณต่าง ๆ
ต่อมาท่านมุ่งสู่ จ.สุรินทร์ ท่านได้พบกับ หลวงพ่ออ่อน วัดธรรมรงค์ษา และได้ฝากตัวเป็นศิษย์ ซึ่งหลวงพ่ออ่อนเป็นพระเกจิที่เชี่ยวชาญด้านมหาอุต และอยู่ยงคงกระพันชาตรี ซึ่งชาวเขมรให้ความเคารพท่านมาก
แล้วออกธุดงค์มาที่ จ.อุบลราชธานี เข้ากราบนมัสการ หลวงพ่อพั่ว วัดนาเจริญ และเข้าขอคำชี้แนะศึกษาธรรมปฏิบัติต่างๆ หลวงพ่อพั่วเป็นพระที่มีพลังจิตแก่กล้ามาก เป็นพระได้สำเร็จญาณสมาบัติถึงอนาคามี
จากนั้นท่านก็เดินทางกลับมาที่วัดศรีสาคร ต่อมาท่านได้ถูกนิมนต์ให้ไปร่วมพิธีล้างป่าช้า ที่ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี ท่านจึงได้ไปพักที่วัดหนองป่าพง ที่กุฏิหลวงพ่อชา เป็นเวลา 5 วัน ในตอนนั้นท่านได้เข้าไปกราบนมัสการหลวงพ่อพั่ว วัดนาเจริญ และได้พบปะกับสหาย คือหลวงพ่อชา
ท่านออกเดินทางต่อไปยัง จ.นครพนม เพื่อกราบนมัสการพระธาตุพนม แล้วก็เดินทางเข้าสู่ จ.ร้อยเอ็ด ไปยังวัดสว่างธาศรี เข้าพบ หลวงพ่อทองมา ถาวโล และขอแลกเปลี่ยนวิชากับหลวงพ่อทองมา แล้วเดินทางกลับวัดศรีสาคร
มุ่งหน้าปฏิบัติธรรม
หลังจากที่ท่านกลับจากธุดงค์แล้ว ท่านก็พักอยู่แต่ในวัดศรีสาคร ปิดกุฏิและมุ่งหน้าปฏิธรรม ในแต่ละวันจะเปิดกุฏิรับญาติโยมเป็นบางเวลา ในช่วงที่ท่านอยู่ที่วัด ท่านมักเอ่ยถึง หลวงพ่อชา สุภัทโท อยู่เสมอ เหมือนท่านได้ส่งกระแสจิตคุยกันตลอด
นอกจากหลวงพ่อชาแล้ว สหธรรมมิกอีกรูปของหลวงพ่อฉาบก็คือ หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง ซึ่งหลวงพ่อแพมักจะเดินทางมาหาหลวงพ่อฉาบที่วัดศรีสาครอยู่เสมอ
เล่ากันว่า หลวงปู่ฉาบโดนของ และยังไม่สามารถถอนของออกได้หมด ซึ่งส่วนนึงเป็นเพราะวิบากกรรมเก่าของท่านด้วย ในตอนนั้นพระแม่ธรณีได้มาช่วยท่านไว้ ท่านจึงได้ลั่นวาจาว่า "จะไม่เอาเท้าเหยียบบนพื้นธรณีอีก" และนี่เป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ท่านไม่ลงจากกุฏิเป็นเวลากว่า 30 ปี ในช่วงบั้นปลายชีวิตของท่าน
นอกจากนี้ยังมีเรื่องเล่าอีกว่า ท่านบรรลุญาณสมาบัติชั้นสูง สามารถถอดกายทิพย์ไปบิณฑบาตรในสถานที่ต่างๆ ได้ มีผู้พบเห็นท่านเดินข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาข้ามไปบิณฑบาตรฝั่งตรงข้าม และท่านได้สำเร็จวิชาแปลงธาตุ ทำให้ท่านเเข้าไปในห้องที่ปิดประตูทึบได้
ส่วนวัตถุมงคลทุกรุ่นของหลวงพ่อเป็นที่ยอมรับในวงการพระเครื่อง โดยเฉพาะเหรียญรุ่น 1 ปี พ.ศ.2514 ซึ่งหาได้ยากและมูลค่าสูงในปัจจุบันนี้ สำหรับใครที่อยากเช่าพระ ก็ไปเช่าที่วัดได้เลยค่ะ
อย่างที่ทราบกันว่าท่านเรียนวิชาอาคมจากเกจิดังมากมายในยุคนั้น นอกจากจะสร้างวัตถุมงคลได้ขลังแล้ว ยังทำน้ำมนต์ให้ขลังได้ในชั่วพริบตา สมัยก่อนเวลาท่านทำน้ำมนต์ เมื่อน้ำตาเทียนหยดลงที่น้ำ มันจะกลายเป็นรูปดอกบัวบานขึ้นทันที ตอนหลังท่านแค่ใช้มือจับโอ่งหรือไม่ก็ใช้มือกวนเท่านั้น น้ำก็ศักดิ์สิทธิ์เหมือนกัน
หลวงพ่อฉาบมรณภาพ 19 มีนาคม พ.ศ. 2561 สิริอายุได้ 89 ปี ซึ่งก่อนมรณภาพ ท่านได้สั่งไว้ว่า ให้ตั้งศพไว้ 9 วันแล้วเผาเลย ดังนั้นจึงไม่มีร่างของท่านในวัด