the pavilion enshrines the former abbot statues

cow statues in front of the pavilion 

the photo of LP Iam 

Buddha statues in the ordination hall 

a 200-year old Thai house 

amulets and talismans for sale 

Wat Konon

Update : April 17, 2023

Wat Konon is located in Phasi Charoen district, estimated to be built in the late Ayutthaya period around 1757, because "Bot Mahaud" or the ordination hall without a window is the identity of architecture in that period. 

Within the temple compound, there is a pavilion with multi-layered roofs near a car park. It enshrines statues of the former abbots and other famous monks from different eras. 

The two cow statues in front of the pavilion is the symbol of this temple, that reflects the story of this area in the past. In the old days, this area was higher than the surrounding area, and had never flooded. So, cows were moved to this area during a flood.

The highlight is a 200-year old Thai house, that was built in Thai style. It's richly decorated with intricate wood carvings. Currently, it's under maintenance, to bring it back to its original look and style. 

And more importantly, it would be a learning center and display a collection of artifacts. Of course, this takes time and much money. So the assistant abbot of the temple, Phrakru Kob, made amulets to give them to donors.


Luang Pu Rod's Biography

Dating back to the reign of King Rama 4, Luang Pu Rod who was the abbot of Wat Nangnong at that time was removed from his position, because LP Rod didn't agree with King Rama 4 on the establishment of Dhammayut Nikaya sect in Thailand. 

LP Rod thought this led to conflict between two sides of Buddhist monks, so he refused to welcome the king during the king's visit to the temple. 

After being removed from his position, LP Rod and his disciple (LP Iam) moved to Wat Konon in his hometown and lived there. Later, LP Rod passed away, and LP Iam became the next abbot of Wat Konon. But not long after that, LP Iam was invited to be the abbot of Wat Nang. 

LP Rod was known as the great magical expert in that era, he passed down his knowledge to his closest disciple (LP Iam). His miracle story has been told and retold many times, especially when he walked on lotus leaves to cross to the other side of the pond. 

When it comes to an amulet, the one that makes temple well known is Pra Pitta. At that time, LP Toh of Wat Pradoo Chimplee and many great monks from all over Thailand were invited to participate in the grand blessing ceremony at Wat Konon. And some of those monks are LP Phae of Wat Pikunthong and LP Boonmee of Wat Angkaew.

The amulet is made with lead, and pieces of broken amulets from many temples in Thailand. All the amulets were melted to created new amulets. And each amulet was made one by one during the blessing ceremony.


Luang Pu Iam's Biography

LP Iam, who was the top disciple of LP Rod, was the abbot of Wat Konon and Wat Nang. LP Iam was born in October 1832, that coincided with the reign of King Rama 3. 

He entered the monkhood at the age of 22, at Wat Ratcha Orasaram. He received a Buddhist name "Suwannasaro". After his ordination, he moved to Wat Nangnong, where he learnt Dharma, mantras and others from LP Rod.

LP Rod was later removed from his position as abbot, so decided to return to his hometown. LP Iam together with his teacher walked to Wat Konon and lived there. Then LP Rod passed away, he became the abbot of Wat Konon.

But later, in 1898, King Rama 5 ordered him to be the abbot of Wat Nang, and then gave him a title "Phra Phawana Kosol". LP Iam took care of the temple for 27 years, and passed away on Apr. 26, 1926, at the age of 94.

LP Iam was a widely-respected monk. King Rama 5 respected LP Iam very much and treated LP Iam as his teacher. Before the king travelled to Europe, LP Iam told the king that he would earn an achievement, but he had to ride on a stubborn horse.

So LP Iam gave a powerful mantra to the king, in order to break a stubborn horse. When the king reached there, the king cast a spell on the grass and fed the grass to the stubborn horse. The horse became very tame and the king could control it.

วัดโคนอน

วัดโคนอนตั้งอยู่เขตภาษีเจริญ ธนบุรี สร้างราวปี พ.ศ.2300 สันนิษฐานว่าเป็นวัดเก่าสมัยอยุธยาตอนปลาย เนื่องจากอุโบสถหลังเก่าเป็นแบบมหาอุด แต่ไม่มีใครทราบแน่ใจว่าสร้างขึ้นในสมัยใดและใครเป็นผู้สร้าง 

ภายในบริเวณวัด ติดกับลานจอดรถมีศาลาที่ประดิษฐานรูปปั้นของหลวงปู่รอด หลวงปู่เอี่ยม สมเด็จโตฯ หลวงปู่ศุข (วัดปากคลองมะขามเฒ่า) ด้านหน้าศาลามีรูปปั้นวัว 2 ตัว เนื่องจากสมัยก่อนบริเวณนี้มีลักษณะเป็นโคกสูง น้ำท่วมไม่ถึง ช่วงที่เกิดน้ำท่วมชาวบ้านมักจะนำวัวมานอนพักที่บริเวณนี้ จึงเป็นที่มาของชื่อวัดโคนอน

แต่จุดเด่นของวัดนี้คือ เรือนไทยขนาดใหญ่ ที่แกะสลักจากไม้สัก ขณะนี้ทางวัดกำลังจะบูรณะและปรับปรุงใหม่ โดยย้ายเรือนไทยขึ้นไปบนชั้น 2 เพื่อทำเป็นพิพิธภัณฑ์ และจัดแสดงสิ่งของโบราณของทางวัด เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับเยาวชน

แม้ว่าทุกวันนี้อดีตเกจิดังทั้ง 2 รูปได้มรณภาพไปแล้ว แต่ผู้คนที่มีศรัทธาในตัวท่านยังคงมากราบไหว้ท่านอยู่เสมอ สำหรับท่านใดที่อยากร่วมทำบุญในการ บูรณะกุฏิเรือนไทยของหลวงปู่เอี่ยม (อดีตเจ้าอาวาส) ซึ่งมีอายุประมาณ 200 กว่าปี สามารถโอนไป ธนาคารออมสิน / ชื่อบัญชี วัดโคนอน / เลขที่บัญชี 020-246-626-616 

แต่ถ้าใครอยากช่วยวัดด้วยการเช่าวัตถุมงคล ก็บึ่งรถมาที่วัดโลด ส่วนอุโบสถทางวัดไม่ได้เปิดให้เข้าชมนะคะ อุโบสถที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันนี้ คือ อุโบสถหลังใหม่ที่สร้างเพื่อครอบหลังเดิมไว้ เพราะหลังเก่านั้นทรุดโทรมมาก


ประวัติหลวงปู่รอด

ย้อนกลับไปในสมัย ร.4 ขณะนั้นพระภาวนาโกศลเถระ (เจ้าคุณรอด) เจ้าอาวาสวัดนางนอง ได้ถูกถอดจากสมณศักดิ์และตำแหน่งเจ้าอาวาส เนื่องจากหลวงปู่รอดไม่เห็นด้วยที่ ร.4  ทรงตั้ง "ธรรมยุตินิกาย" ขึ้นมา ทำให้พระสงฆ์แตกแยกกัน 

ดังนั้นเมื่อ ร.4 เสด็จพระราชทานกฐินวัดนางนอง หลวงปู่รอดจึงไม่ยอมถวายอดิเรก ร.4 (ภาษาชาวบ้านก็คือ ไม่ได้กล่าวคำถวายพระพรแก่กษัตริย์ตามธรรมเนียม) ซึ่งถือเป็นความผิด ฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

เมื่อท่านถูกถอดจากสมณศักดิ์ ท่านพร้อมกับลูกศิษย์ (หลวงปู่เอี่ยม) จึงออกจากวัดนางนอง กลับไปยังวัดบ้านเกิด ก็คือ วัดโคนอน และได้อยู่ที่นั่นจนมรณภาพ 

หลังจากที่ท่านมรณภาพ หลวงปู่เอี่ยมจึงได้เป็นเจ้าอาวาสรูปต่อไปของวัดโคนอน แต่ต่อมาไม่นาน ร.5 ได้ให้ปู่เอี่ยมมาเป็นเจ้าอาวาสวัดหนัง เนื่องจากตอนนั้นไม่มีเจ้าอาวาสปกครองวัด

หลวงปู่รอด ได้ชื่อว่าเป็นพระเกจิดังในยุคนั้น ท่านได้ถ่ายทอดวิชาต่างๆ ให้กับหลวงปู่เอี่ยม มีเรื่องเล่าถึงปาฏิหาริย์มากมาย เช่น การถอนคุณไสย การผจญกับสัตว์ร้าย และถูกลองดีจากพวกที่มีวิชาอาคม ฯลฯ 

แต่เรื่องราวอันเป็นที่กล่าวขานมาถึงปัจจุบันนี้คือ หลวงปู่รอด เดินบนใบบัว ตอนนั้นท่านกับสามเณรรูปนึงได้ออกเดินธุดงค์มาด้วยกัน เมื่อเดินทางมาถึงห้วยกระบอก จ.กาญจนบุรี ด้านหน้าที่จะเดินต่อไปเป็นบึงกว้าง ส่วนด้านข้างเป็นเขาสูงชันมาก

หลวงปู่รอดจึงหันมาถามสามเณรว่า "จะข้ามน้ำกลางบึงไปด้วยกันไหม" สามเณรตอบว่า "ถ้าหลวงปู่ข้ามไปได้ ผมก็จะข้ามไปด้วย" หลังจากนั้นหลวงปู่รอดท่านก็เจริญอาโปกสิณครู่หนึ่ง แล้วจึงก้าวไปบนใบบัวอย่างช้าๆ จนไปถึงอีกฝั่ง 

ส่วนสามเณรก็เดินตามหลวงปู่ไปทุกฝีก้าว แต่เมื่อใกล้ถึงฝั่งกลับไม่เหยียบตามท่าน จึงตกลงไปในน้ำ หลวงปู่รอดท่านจึงพูดว่า "เห็นไหมหละ กำชับไว้แล้วยังพลาดจนได้ ถ้าเป็นกลางบึงอาจจมน้ำได้" การทำเช่นนี้ต้องมีสมาธิจิตที่แน่วแน่

สำหรับวัตถุมงคลที่สร้างชื่อให้วัดโคนอน คือ พระปิดตา ซึ่งหลวงปู่โต๊ (พระราชสังวราภิมณฑ์) แห่งวัดประดู่ฉิมพลี เกจิดังในยุคนั้น ได้เป็นระธาน ปลุกเสก ตลอด 9 วัน 9 คืน 

นอกจากนี้ยังมีพระเกจิดังจากทั่วประเทศมาร่วมปลุกเสกด้วย เช่น หลวงพ่อไพฑูรย์ วัดโพธินิมิต กทม, หลวงพ่อถิร วัดป่าเลย์ไลย์ จ.สุพรรณบุรี, หลวงพ่อเงิน-หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม, หลวงพ่อเก็บ วัดดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี,  หลวงพ่อสุด วัดกาหลง จ.สมุทรสาคร, หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี จ.สมุทรสงคราม, หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนโร่ สุพรรณบุรี, หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยาณมิตร กทม, หลวงพ่อหวน วัดพิกุล กทม, หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี, หลวงพ่อบุญมี วัดอ่างแก้ว กทม, หลวงพ่อมี วัดมารวิชัย จ.อยุธยา, หลวงพ่อดี วัดพระรูป จ.สุพรรณบุรี, หลวงปู่เทียม วัดกษัตราธิราช จ.อยุธยา, หลวงพ่อทองอยู่ วัดท่าเสา จ.สมุทรสาคร, หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะอง จ.สมุทรสาคร, หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม จ.นครปฐม, หลวงปู่สิม วัดถ้ำผาปล่อง จ.เชียงใหม่, หลวงพ่อโด่ วัดนามะตูม จ.ชลบุรี, หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง จ.นนทบุรี, หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ จ.เพชรบุรี เป็นต้น

ทางวัดได้สร้างพระเครื่อง ชุดวัดโคนอน ปี 2515 พระชุดนี้ มีการจัดสร้างทั้งหมด 5 พิมพ์  ได้แก่ สมเด็จ พระรอด นางพญา พระปิดตา นางกวัก ซึ่งพระชุดนี้ได้ นำแท่งชนวนชินเก่าของหลวงปู่เอี่ยมและเศษพระปิดตาที่พบจากกรุวัดโคนอนที่ชำรุด  ชนวนโลหะเนื้อชินเก่าจากพระกรุทั่วประเทศมาหลอมใหม่ 

ซึ่งพระทุกองค์จะหลอมและเทพิมพ์พระทีละองค์ในพิธีเท่านั้น และพระทุกองค์จะมีการต๊อกโค๊ตไว้ที่ด้านหลัง ของแท้โค้ดจะคมชัดดูง่าย


ประวัติหลวงปู่เอี่ยม

หลวงปู่เอี่ยม หรือ เจ้าคุณเฒ่า (ศิษย์เอกของหลวงปู่รอด)  อดีตเจ้าอาวาสวัดโคนอน และวัดหนัง เกิดเดือน ตุลาคม พ.ศ. 2375 ตรงกับสมัยของ ร.3 เมื่อท่านมีอายุครบ 22 ปี ท่านได้อุปสมบทที่ วัดราชโอรสาราม ได้รับฉายา "สุวณฺณสโร" และได้ย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดนางนอง ท่านได้ศึกษาวิชาต่างๆ จากหลวงปู่รอด ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสในขณะนั้น

ต่อมาหลวงปู่รอดถูกถอดจากสมณศักดิ์และตำแหน่งเจ้าอาวาส หลวงปู่รอดจึงเดินทางกลับมาอยู่วัดโคนอน ซึ่งท่านก็ติดตามหลวงปู่รอดมาด้วย หลังจากที่หลวงปู่รอดมรณภาพ ท่านจึงได้เป็นเจ้าอาวาสรูปต่อไปของวัดโคนอน 

แต่ต่อมาในปี พ.ศ. 2441 วัดหนังขาดเจ้าอาวาสปกครอง ร.5 จึงได้โปรดเกล้าให้ "หลวงปู่เอี่ยม" ไปดูแลวัดหนัง หลังจากนั้นไม่นาน ร.5 ได้พระราชทานสมณะศักดิ์ให้แก่หลวงปู่เอี่ยม เป็นพระราชาคณะ "พระภาวนาโกศล" ท่านปกครองวัดหนังนานถึง27 ปี ก็มรณภาพ เมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2469 รวมอายุได้ 94 ปี 

หลวงปู่เอี่ยมเป็นพระเกจิที่ ร.5 นับถือมาก เมื่อครั้งที่พระองค์จะเสด็จประพาสยุโรป หลวงปู่เอี่ยมได้ทำนายไว้ว่า การเดินทางครั้งนี้ พระองค์ท่านจะบรรลุผลสำเร็จทุกประการ แต่จะต้องเผชิญหน้ากับสัตว์ที่ดุร้ายในยุโรป (ม้า) และท่านจะต้องทรงขี่มัน 

ดังนั้นหลวงปู่เอี่ยมจึงได้มอบ คาถาเสกหญ้าให้ม้ากิน  และมอบยันต์มงกุฎพระพุทธเจ้าให้กับพระองค์ เมื่อไปถึงที่นั่นพระองค์ได้เสกหญ้าให้ม้ากิน และบังคับม้าตัวนั้นได้