Ancient ordination hall is located on a high base
unusual building with high relief sculptures of the Buddha
Another ancient ordination hall behind the pagoda
Inside, it enshrines Buddha statues and monk statues
The pagoda in corn-cob shape
Luang Pu Sri is the former abbot
Maenam Noi Kiln Museum
A large museum with two kilns
Inside a small museum, the stairs lead to the mezzanine
A kiln model is placed next to a small museum
Wat Phra Prang & Maenam Noi Kiln
Update : August 29, 2022
Wat Phra Prang and Maenam Noi Kiln are located on the outskirts of town. When you come here, you can visit both the temple and the kiln, because they are in the same area.
Here, the temple has a market, named "Talad Wat Phraprang". It is held every Sunday from 12.00 - 6.00pm. If you love Thai street snacks and food, you must visit this market.
You might have already heard of the Maenam Noi kiln - the largest site for pottery making in Thailand during the Ayutthaya period. Over 200 kilns were found at Wat Phra Prang and around 2 km along the Noi river.
Today, the kiln acts like a magnet that attracts tourists to Singburi. The other magnet is the prang or the pagoda in corn-cob shape. It's 15 meters high, built in the reign of King Narai the Great. The Fine Arts Department registered the kilns and the Prang as national ancient monuments in 1935.
I think everyone comes here because of the prang or the kilns, while the thing that fascinates me is the ordination hall near the main road, especially the door with intricate design, and the new pavilion that construction workers are building.
You will see not only the kilns and the prang, but also an old building in the Ayutthaya style, the ruins of stupas and Maenam Noi Kiln Museum (a ceramic learning center).
Kiln museum consists of 2 buildings
1.A large building with two kilns - you can walk around the kilns.
2.A small building displays mortars, jars and others that were found in those days. You can walk up to the mezzanine, that you will see photos of the abbot (Luang Pu Sri) and other famous monks.
Both of the two buildings provide information in Thai and English on information boards.
The unusual building with high relief sculptures of the Buddha as the 2nd photo is what you shouldn't touch or try to break a lock. I have a horror story to tell you, that happened when LP Sri was the abbot.
It's said that many children in the village disappeared, until one day villagers found blood stains on the mouth of the Buddha. The villagers believed that the missing children were eaten by the Buddha. After LP Sri learned about this, he performed a ceremony to control the spirit and locked the door from then on.
In the past, most monks inserted something powerful into Buddha statues - something might protect people from danger, whereas something might hurt people.
Monk Biography
Luang Pu Sri was the former abbot and also one of Thailand's most famous monks . Everyone praised him as the master of mastes who had many famous disciples, such as LP Chan of Wat Sing, LP Phae of Wat Pikunthong, LP Juan of Wat Nong Soom, and LP Guay of Wat Kositaram.
LP Sri was born in Ang Thong province, in 1867. He was really interested in learning magical arts. When he reached the age of 20, he was ordained as a monk at a temple in his hometown, and received a Buddhist name "Kesaro" that means "tree".
After he studied vipassana meditation and became proficient at it, he moved to Wat Phra Prang and was appointed as the 3rd abbot. Not long after, he went to Wat Yai Thachanuan, Chinat province, to learned magical arts under the guidance of Luang Pho Krai.
Later, he was invited to attend a grand blessing ceremony at Wat Phra Kaew, Bangkok. He was one of 43 famous monks, who consecrated the Emerald Buddha coins in 1932. It's the year that Bangkok celebrated its 150th anniversary.
Besides that, he succeeded in learning Jinda Manee Mantra, that could call animals. Therefore, the temple was full of animals during his time.
No one dared to hurt those animals, because everyone was scared of his words, that had power to make something become true. Luang Pho Phae of Wat Pikunthong who was his disciple, already proved it.
LP Phae once saw a branch of kaffir lime tree hang over LP Sri's residence. Whenever its fruits fell on the roof of his residence, he was startled. So LP Phae asked for permission to cut the branch. But LP Sri said that let it grow, it wouldn't live long. Around 10 days passed, that branch died on the tree. Therefore, LP Phae told everyone to talk carefully with LP Sri, otherwise you would be in trouble.
LP Sri passed away at the age of 72, in 1939 (the 1st day of the 11th waning moon). Six months after his death, temple held his funeral. A miraculous event happened on that day - a star shone brightly in the sky during the afternooon, and then slowly moved higher until it disappeared from sight.
Amulet
When it comes to his amulet, it's well known in amulet market. In 1933, five hundred amulet coins were made to be given to those who donated money to the temple.
The amulet coin is in the shape of a water drop, with the image of LP Sri. The purpose of making those amulet coins was to raise money for the construction of a sermon hall.
วัดพระปรางค์ (ชัณสูตร) และเตาเผาแม่น้ำน้อย
วัดและเตาเผา ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมือง 17 กม. ถ้าเพื่อนๆ จะมาเที่ยวตอนสาย บ่าย เตรียมร่ม หมวกมาให้พร้อม บอกเลยว่าร้อนคะ ถ้าจะมาเที่ยววัดและชมเตาเผา ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง
เราแนะนำให้มา วันอาทิตย์ เพราะที่วัดมีตลาด ชาวบ้านเรียกว่า "ตลาดนัดวัดพระปรางค์" ตลาดเริ่ม เวลา 12.00 - 18.00 น. ถือว่าเป็นตลาดนัดที่ค่อนข้างใหญ่ในย่านนี้ ชาวบ้านจะนำของกินมาขายเยอะมากและราคาถูกด้วย บางร้านมีโต๊ะ-เก้าอี้ ให้เรานั่งทานได้ด้วย
จุดเด่นของวัดคือ พระปรางค์ ซึ่งมีความสูง 15 เมตร ศิลปะแบบอยุธยาตอนต้น (รูปทรงคล้ายฝักข้าวโพด) สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ด้านในปรางค์มีลักษณะคล้ายห้องเล็กๆ ที่ไม่มีประตู ภายในปรางค์มีภาพจิตรกรรมฝาผนัง แต่ปัจจุบันมองไม่เห็นแล้วคะ
ส่วนด้านหลังปรางค์องค์นี้จะมีวิหารเก่า ศิลปะอยุธยา เจดีย์รูปแบบโบราณ และใกล้ๆ กัน เราเห็นคนงานกำลังก่อสร้างศาลาขนาดใหญ่ บ่อน้ำที่ล้อมรอบด้วยรูปปั้นพญานาค และพระพุทธรูปสีทองที่วางเรียงขนานไปกับถนน ซึ่งทำให้วัดนี้ดูน่าสนใจมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีอุโบสถ (ด้านหน้าวัด) ที่มีความโดดเด่น ตั้งแต่ประตูทางเข้า ไปจนถึงกำแพงที่ล้อมรอบ
โดยส่วนตัวเราคิดว่า วัดนี้กำลังจะกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมอย่างแน่นอน เป็นอีกวัดที่กำลังจะไปได้ไกลเทียบเท่ากับ วัดม่วงชุม
นอกจากนี้ยังมีการขุดพบเครื่องปั้นดินเผาจำนวนมากในพื้นที่ของวัดพระปรางค์ เพราะวัดอยู่ใกล้กับเตาเผาแม่น้ำน้อย ซึ่งเป็น แหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาขนาดใหญ่ที่สุดในสมัยอยุธยา ปัจจุบันทางกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนวัดเป็นโบราณสถานของชาติเรียบร้อยแล้ว จบจากวัด เราก็มาเดินเล่นกันต่อที่ พิพิธภัณฑ์เตาเผาแม่น้ำน้อย
พิพิธภัณฑ์เตาเผาแม่น้ำน้อย แบ่งเป็น 2 ส่วน
1.อาคารสีขาว หลังเล็กๆ มี 2 ชั้น
ชั้นที่ 1 จะมีการจัดแสดงข้อมูลของเครื่องปั้นดินเผา และวัตถุโบราณที่ขุดค้นพบ
ชั้นที่ 2 เป็นเหมือนชั้นลอย บันไดค่อนข้างชัน จะมีการแสดงรูปถ่ายของหลวงปู่ศรี หลวงพ่อแพ ฯลฯ
ส่วนด้านข้างอาคาร จะมีเตาเผาจำลอง ซึ่งมีขนาดเล็ก ให้เราได้ชมกัน
2.อาคารขนาดใหญ่ ที่สร้างคลุมเตาเผาขนาดใหญ่ 2 เตา ภายในอาคาร เราสามารถเดินชมเตาเผาได้รอบทิศทาง มีบันไดขนาบข้างซ้าย-ขวา พร้อมกับมีป้ายแสดงข้อมูล มีเก้าอี้ให้นั่งพักผ่อน
**เกือบลืมบอกไป อันนี้สำคัญมาก ให้ดูรูปที่ 2 ด้านบน ที่มีรูปพระพุทธรูปยืนในซุ้มโค้ง อีกด้านของพระพุทธรูปเป็นประตูลูกกรงที่ถูกใส่กุญแจล็อคไว้ อย่าทะลึ่งเปิดเข้าไปหรือยื่นมือเข้าไปนะ
เพราะในอดีตเล่ากันว่า มีเด็กในหมู่บ้านหายไปหลายคน จนวันนึงมีชาวบ้านมา พบคราบเลือดที่ปากพระพุทธรูป ซึ่งสมัยก่อนเขาจะมีการฝังปรอทไว้ในองค์พระ สำหรับปรอทอันนี้ คือ ปรอทกินคน และเชื่อกันว่าเด็กที่หายไปนั้นถูกพระองค์นี้กิน เมื่อหลวงปู่ศรีทราบเรื่อง ท่านจึงทำพิธีตอกตะปู สะกดวิญญาณ และให้ปิดประตูล็อคเอาไว้
ประวัติหลวงปู่ศรี
เมื่อพูดถึงวัดนี้ ถ้าไม่เอ่ยถึงชื่อหลวงปู่ศรีคงไม่ได้ ท่านเป็นเจ้าอาวาสรูปที่ 3 ของวัด ในยุคของท่านนั้น วัดพระปรางค์โด่งดังมากที่สุด ท่านเชี่ยวชาญทางด้านไสยเวททุกแขนง ทุกคนยกย่องท่านเป็น "อาจารย์เหนืออาจารย์" ลูกศิษย์ของท่านในยุคนั้น เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในวงการพระเครื่อง อาทิ
1.หลวงพ่อแป้น วัดบ้านไร่ จ.สิงห์บุรี
2.หลวงพ่อเชน วัดสิงห์ จ.สิงห์บุรี
3.หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี
4.หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม จ.สิงห์บุรี
5.หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม จ.ชัยนาท
6. หลวงปู่เย็น วัดสระเปรียญ จ.ชัยนาท
7. หลวงพ่อหร่ำ วัดวังจิก จ.สุพรรณบุรี
8.หลวงพ่อบัว วัดแสวงหา จ.อ่างทอง
หลวงปู่ศรีเป็นคนแสวงหา จ.อ่างทอง เกิดในปี พ.ศ.2410 ท่านสนใจด้านไสยเวทมาก เมื่ออายุครบ 20 ปี ท่านได้อุปสมบทที่วัดสุวรรณราชหงส์ จ.อ่างทอง ได้รับฉายาว่า "เกสโร" แปลว่า ต้นไม้
เมื่อได้ศึกษาวิปัสสนากรรมฐานจนเชี่ยวชาญแล้ว ท่านได้ย้ายมาจำพรรษาที่วัดพระปรางค์ และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส พร้อมทั้งได้รับสมณศักดิ์เป็น "พระครูวิริยะโสภิ" จากนั้นท่านได้ไปศึกษาไสยเวทกับ หลวงพ่อไกร วัดใหญ่ท่าฉนวน จ.ชัยนาท จนท่านมีความเชี่ยวชาญ และมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วสารทิศ
ต่อมาท่านได้รับเชิญให้ เข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษกเหรียญพระแก้วมรกต ณ วัดพระแก้ว ในปี พ.ศ.2475 ซึ่งเป็นปีที่ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในโอกาสฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบรอบ 150 ปี ซึ่งพิธีดังกล่าวถูกจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ มีพระเกจิจากทั่วประเทศ จำนวน 43 รูป เข้าร่วมพิธีในครั้งนั้น
นอกจากนี้ท่านยังสำเร็จวิชา “มหาจินดามนต์” สามารถเรียกสัตว์ได้ ทำให้ในยุคของท่าน มีสัตว์นานาชนิดมาอาศัยอยู่ในวัด และไม่มีใครสามารถทำร้ายสัตว์ได้ เพราะท่านได้เสกคาถาคุ้มกันไว้ ถึงแม้จะยิงปืน แต่ก็จะยิงไม่ออก
เล่ากันว่าท่านเป็นผู้มีวาจาสิทธิ์ เรื่องนี้หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง ท่านก็ได้เห็นมาแล้ว เนื่องจากมีครั้งนึงหลวงพ่อแพ ขอตัดกิ่งมะกรูดที่ยื่นมาบนหลังคากุฏิของท่าน เพราะเวลาลูกมะกรูดหล่นใส่หลังคา จะทำให้หลวงปู่ศรีสะดุ้งตกใจ หลวงปู่จึงได้พูดกับหลวงพ่อแพว่า “ปล่อยเขาเถอะ เขาอยู่กับเราไม่นานหรอก” ผ่านมาประมาณ10 วัน ใบมะกรูดร่วงหมด ยืนตายซากอยู่เพียงกิ่งเดียว
หลวงพ่อแพ จึงพูดกับญาติโยมที่วัดว่า “โยมต้องระวังนะ เวลาไปกุฏิจะคุยกับหลวงปู่ อย่าทำอะไรให้หลวงปู่ไม่พอใจนะ เดี๋ยวหลวงปู่พูดอะไรเป็นอย่างนั้นพวกเราจะลำบาก"
อีกเรื่องเกิดขึ้นในช่วงที่วัดมีงานประจำปี วันนั้นท่านบอกกับพระ เณร ทั้งหมดว่า “วันนี้นะ ถ้ามืดแล้วให้กลับเข้ามาอยู่ในวัดกันให้หมดทุกคน ถ้ามืดแล้ว ตะวันตกดินแล้ว อย่าออกไปข้างนอกวัด” พอตะวันตกดิน ก็มีฝนกระหน่ำลงมาที่รอบๆ วัด มีเพียงในวัดเท่านั้นที่ไม่มีฝนตกเลย
เรื่องวาจาสิทธิ์ของท่านมีอีกมากมาย แม้กระทั่งน้ำลายของท่านที่อยู่บนพื้น ยังทำให้พื้นคอนกรีตนั้นแตกได้เลย ลูกศิษย์ท่านได้เห็นมาแล้ว ดังนั้นเวลาใครที่ไปเที่ยววัด ไปไหว้ขอพรท่าน อย่าไปพูดปรามาสท่านเป็นอันขาด
วัตถุมงคล
เหรียญหลวงปู่ศรี เป็นที่รู้จักกันดีในวงการพระเครื่อง จัดสร้างในปี พ.ศ.2476 จำนวน 500 เหรียญ เพื่อแจกให้แก่ผู้ที่ร่วมทำบุญสร้างศาลาการเปรียญ
โดยเหรียญเป็นรูปทรงพัดยศ (หยดน้ำ) หยักมุม ห่วงหูในตัว เนื้อทองแดง ด้านหน้าเป็นรูปหลวงปู่ศรี นั่งเต็มองค์ ด้านล่างมีตัวหนังสือ 3 แถว เขียนว่า "หลวงพ่อพระครูศรี" ส่วนด้านหลังเขียนว่า "ที่ระลึกในงานสร้างศาลาวัดพระปรางค์ พ.ศ.2476" ตรงกลางมีคาถาเป็นภาษาขอมอ่านได้ว่า "อิติมานิ"
เหรียญหลวงปู่ศรีจัดสร้างขึ้น โดยการนำแผ่นทองแดงชนวนมาลงอักขระเลขยันต์ก่อนแล้วปลุกเสก จากนั้นนำแผ่นทองแดงชนวนนั้นไปหล่อหลอมกับทองแดงที่จะปั๊มเป็นเหรียญ แล้วนำไปรีดเป็นแผ่นเพื่อปั๊มเป็นเหรียญ แล้วปลุกเสกเหรียญนั้นอีกครั้งหนึ่ง มีพุทธคุณด้านแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี ราคาเช่าปัจจุบันก็หลักแสน
หลวงปู่ศรี มรณภาพใน แรม 1 ค่ำ เดือน 11 พ.ศ.2482 สิริรวมอายุ 72 ปี พรรษา 52 หลังจากท่านมรณภาพไปแล้ว 6 เดือน ทางวัดได้จัดงานฌาปนกิจร่างของท่าน ในวันนั้นมีเหตุการณ์มหัศจรรย์เกิดขึ้น คือ มีดาวดวงหนึ่งส่องแสงสว่างบนท้องฟ้าในเวลากลางวัน จากนั้นค่อยๆ เคลื่อนตัวสูงขึ้นไป จนหายลับตาไป