The way to the ordination hall and other buildings
the statue of Somdej Toh in a building (viharn)
The principal Buddha statue in the ordination hall
Giant Buddha statue is called Phramaha Phuttapim (Luang Pho Toh)
Buddha's footprint in Phra Mondop
At the back of the temple
Wat Chaiyo Worawihan
Update : November 20, 2022
Temple is located in Chaiyo district, Ang Thong Province. What attracts many travellers to the temple is the giant Buddha statue, named Phramaha Phuttapim. However, most Thai people call "Luang Pho Toh".
I think the reason they call like this because its construction was initiated by Somdej Toh, one of the most revered monks in Thai history. And another reason, the word "Toh" means giant or big.
The construction of Luang Pho Toh took almost 3 years to finish, that coincied with the reign of King Rama 4. The physical characteristics of Luang Pho Toh is different from other Buddha statues in the same period such as his face and ears that look like normal people. Also, his robe is wrinkled.
Later, in 1887, the building (viharan) of Luang Pho Toh collasped during the renovation, causing "Luang Pho Toh" to serious damage. Therefore, King Rama 5 ordered the reconstruction of Luang Pho Toh. Even though its size is smaller, it's still much bigger than other Buddha statues.
I guess everyone must be wondering, how the giant Buddha statue like this was carried through the door. This makes me think of the reclining Buddha at Wat Pho in Bangkok. Many tourists often ask me the same question? It's because the Buddha statue was constructed before the building.
The next building is the ordination hall with beautiful mural paintings, depicting the Buddha's life. Another interesting one is Somdej Toh's statue who faces towards the river, enshrined in the building that is called viharn at the back of the temple.
Monk Biography
Somdej Toh or Somdej Phra Phutthajan Toh Brahmaransi - Somdej is a title, that shows a high social status. It's still unclear whether King Rama 1 or King Rama 2 is his father. However, we believe he was descended from the Royal family.
He was born on April 17, 1788 at Baan Tha Luang, Tha Ruea district, Ayutthaya province. He was well-known for his preaching style and creating amulets called "Phra Somdej Wat Rakhang".
Before he moved to Wat Rakhang Kositaram in Bangkok, a monk (Phra Buddha Kosachan Nak) dreamed that there was a white elephant coming and eating all the books in his Tripitaka cabinet.
That monk thought he would have a wise disciple. And the next day, a young novice (Somdej Toh) came to Wat Rakhang and became his disciple.
Somdej Toh learnt magic and meditation from many famous monks. And one of those monks was the Supreme Patriarch Suk Kai Tuan. He never entered the contest, even though he had expertist in Buddhist scriptures (Phra Pariyat), because he loved living a simple life.
He had never accepted any positions until the reign of King Rama 4, because of some reasons. King Rama 3 once wanted to appoint him as Phra racha khana, but he didn't want. Hence, he went on a pilgrimage to many cities, and sometimes crossed the border into Laos and Cambodia.
In 1852, it coincided with the reign of King Rama 4. He was given the title "Phra Thammakiti". At that time he was 64 years old and was the abbot of Wat Rakhang Kositaram. Two years later, he was given the title "Phra Thepkawe". And ten years after that, the king gave him the highest title "Somdej Phra Phutthajan".
He was proficient in Buddhist scriptures and also gave a talk on various topics frankly. This made the king admire him, but sometimes got him in trouble.
One story says that a women called Mae Fang (procurer) made merit by building a temple and inviting Somdej Toh for a Dhamma talk. Mae Fang asked him how much reward she would get. He replied that she would get a little because she made merit with money from sex trade". After listening, she slammed offerings down angrily.
Another story that got him in big trouble happened during the time he was "Phra Thepkawe". One day, he was invited to the royal palace to give a talk.
He gave a talk on the foundation of Kapilavastu city and dynasty. He said that after building the new city, the royal family couldn't find anyone who came from a highborn family to marry.
And they ended up marrying with their cousins, to keep power in the family for as long as possible. Marrying within a royal family had become a custom. And this custome influenced Thai royal family. This made the king lost face and was very angry.
And now the king said angrily, "go out of my kingdom!", so he walked out of the palace and returned to Wat Rakhang. He stayed in the ordination hall.
Answer questions intelligently
After criticizing King Rama 4, he didn't set foot outside the ordination hall. Then one day, the king entered the ordination hall to give offerings, but suddenly he saw Somdej Toh in there. There was little communication between them.
The king : I don't allow you to stay in my kingdom. Why are you still here?
Somdej Toh : I don't stay in your kingdom, but have stayed in Wisungkhamsima area since the day I was banished. And I have never set foot on Thailand soil.
The king : And where do you eat? Where do you poop?
Somdej Toh : I receive alms in here. I poop in a chamber pot and the deities take it out. Wisungkhamsima area is a territory, which is granted from royal family to build the ordination hall. It's considered as part of the kingdom, but the king has no power to force anyone to leave.
After listening carefully, the king lifted the banishment order and apologized to Somdej Toh.
Later, in 1872, it coincided with the reign of King Rama 5. Somdej Toh went to Wat Intharawihan in Bangkok, because wanted to know the construction progress of the standing Buddha statue, that is known today as Luang Pho Toh.
In the same year, Somdej Toh passed away at the age of 85 - it was June 22,1872.
Chinabanchorn Mantra
The legend of Chinabanchorn mantra begins when Somdej Toh read the Nakhonchum inscription.
He found that the Buddha's relics were kept in a stupa, that was built by King Lithai of Sukhothai in 1357. It's located in Wat Phra Borommathat Nakhonchum, Kamphaeng Phet.
Therefore, the stupa was explored, and many valuable objects were discovered. One of those is Chinabanchorn mantra, that is widely considered as the most powerful mantra to remove negative energy, evil spirits, or even black magic. However, this mantra was improved and written agian by Somdej Toh.
Chinabanchorn (abbreviated version)
Namo Tassa Pakawato Arrahato Summa Sumputtasa - 3 times.
Chi na pan cha ra pa ri tang mang ra kha tu sap pa tha - 10 times.
Chinabanchorn (full version)
Namo Tassa Pakawato Arrahato Summa Sumputtasa - 3 times.
Putagarmo Lapayputung Tanagamo Lapaytanung Auttigaryegarya Yaryataywanung Piyatungsutawa
1. Chayasanakatha Puttha Chaytawa Marung Sawahanung Jattusutjasapung Rasunk Yay Pivingsu Narasapa
2. Tunhunggaratayo Puttar Audtaveesati Naryaga Suppay Patidtitar Maihung Mudtagaytay Munisara
3. Seesay Patitidtoh Maihung Puttho Thummo Tavilojanay Sungko Patitidtoh Maihung Uray Sapakunagaro
4. Hatayay May Arnurutho Sareeputho Jatukkinay Gotunyo Pitidparkussaming Mokkunlano Ja Wamagay
5. Tukkhinay Sawanay Maihung Arsung Arnunta Rahulo Gussapo Ja Mahanamo Aupasung Wamasotagay
6. Gaysuntay Pitidparkussaming Suriyo Wa Papunggaro Nisinno Sirisumpunno Sopito Munipungkawo
7. Gumarla Gussapo Tayro Mahaysee Jitta Watago So Maihung Watane Nidjung Patidthasi Kunagaro
8. Punno Aungkulimarlo Ja Auparlee Nunta Seewalee Tayra PunJa Imay Chata Nalatay Tilagar Mama
9. Saysarseeti Mahatayra Vishitar Chinasawaga Etayseeti Mahatayra Chitawonto Chinorasa Chaluntar Seelataychayna Aungkamungkaysu Suntitar
10. Ratanung Purato Arsi Tukkinay Metta Suttagung Tachakung Padshato Arsi Wamay Aungkulimarlagung
11. Khanta Moraparitunja Ardarnartiya Suttagung Argarsay Shatanung Arsi Saysar Pagarrasuntitar
12. China Nana Warasungyutta Sudtuppagara Lunggatar Watapidta TasunchaTar Parhirut Nutupadthawa
13. Arsaysar Vinayung Yuntu Arnuntachinna Taychasar Wasato May Sagitjayna Satar Sumputtapuncharay
14. Chinapunchara Mutchimhi Viharuntung Mahee Talay Sata Palentu Mung Suppaytay Mahapurisasapar
15. Itjaywamunto Sukutto Surukkho Chinarnupawayna Chitupadtawo Dhummanuparwayna Chitarisungkho Sungkanuparwayna Chituntarayo Suddhummarnu Parwaparitoh Jarami China Puncharayti
วัดไชโยวรวิหาร
วัดนี้ตั้งอยู่ อ.ไชโย จ.อ่างทอง สิ่งที่ดึงดูดนักเดินทางจากทั่วสารทิศให้เข้ามาที่นี่ คือ พระพุทธรูปสีทอง ขนาดใหญ่ ได้รับพระราชทานนามว่า “พระมหาพุทธพิมพ์” แต่คนทั่วไปเรียกว่า "หลวงพ่อโต" เป็นพระพุทธรูปที่โดดเด่นกว่าพระอื่นๆ ในยุคนั้น โดยใบหน้ากับใบหูมีลักษณะเหมือนคนธรรมดา และสบง จีวร ก็มีรอยยับย่น
ในขณะนั้นสมเด็จพุฒาจารย์โต ได้เลือกวัดนี้เป็นสถานที่สร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ ซึ่งใช้เวลาสร้างเกือบ 3 ปี จนกระทั่งการก่อสร้างแล้วเสร็จในสมัย ร.4 จากนั้นสมเด็จฯ ได้ถวายวัดไชโยเป็นวัดหลวง และได้รับพระราชทานนามว่า “วัดเกษไชโย"
ต่อมาใน ปี พ.ศ.2430 ทางวัดได้ทำการบูรณะพระอาราม แรงสั่นสะเทือนจากการก่อสร้างส่งผลให้พระวิหารพังลงมา และพระพุทธรูปเสียหาย ดังนั้น ร.5 จึงให้สร้างพระพุทธรูปขึ้นมาใหม่ โดยรื้อองค์พระเดิมออกทั้งหมด และลดขนาดจากองค์พระเดิมให้เล็กลง
เมื่อมาถึงวัดแล้ว เพื่อนๆ ต้องไปกราบหลวงพ่อโตให้ได้นะคะ ไม่งั้นถือว่ามาไม่ถึงอ่างทอง จากนั้นเราก็เดินไปที่อุโบสถ ด้านในมีภาพจิตรกรรมที่บอกเล่าเรื่องราวพุทธประวัติ สวยงามมากทีเดียว และอาคารที่อยู่ใกล้กันก็คือ วิหารสมเด็จโต ซึ่งประดิษฐานรูปหล่อสีทองของสมเด็จโต พอเดินออกมาจากวิหาร เราจะเห็นศาลไม้ตะเคียนทอง และศาลาที่เรียงรายตลอดแนวแม่น้ำ เพราะวัดอยู่ติดแม่น้ำ ถ้าใครอยากปล่อยปลา ก็มีคนขายปลานั่งอยู่ข้างๆ ศาลา
นอกจากนี้ ยังมีอีกเรื่องที่ทำให้วัดโด่งดังมาก คือในอดีต สมเด็จฯ ท่านได้สร้างพระสมเด็จฐาน 6 ชั้น และ 7 ชั้น แล้วนำไปบรรจุไว้ที่องค์พระมหาพุทธพิมพ์ ต่อมาองค์พระได้พังทลายลงมา ดังนั้นผู้คนที่ได้ไปพบเจอพระเหล่านี้ จึงเรียกพระสมเด็จนี้ว่า "พระสมเด็จเกษไชโย" ต่อมาในปี พ.ศ.2430 องค์พระได้พังทลายลงมาอีกรอบ พระสมเด็จบางส่วนจึงถูกนำไปบรรจุไว้ในเจดีย์ วัดโพธิ์เกรียบ จ.อ่างทอง เนื่องจากเจ้าอาวาสวัดไชโยกับเจ้าอาวาสวัดโพธิ์เกรียบมีความสนิทสนมกัน
ต่อมาใน ปี พ.ศ.2502 คนร้ายทราบว่าพระสมเด็จเกษไชโย ถูกนำมาบรรจุไว้ในเจดีย์ที่วัดโพธิ์เกรียบ กลุ่มคนร้ายจึงได้มาลักลอบขุด และได้พระสมเด็จไปหลายร้อยองค์ มีคนไปพบเจอพระเหล่านี้ที่สนามพระวัดมหาธาตุ ท่าพระจันทร์
ประวัติสมเด็จโต
สมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี เจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม เกิดวันพฤหัสบดี 17 เมษายน พ.ศ.2331 ณ บ้านท่าหลวง อ.ท่าเรือ จ.อยุธยา
สมเด็จโตมีนิสัยพูดจาไพเราะ ไม่ว่ากับคนหรือสัตว์ มีครั้งนึงท่านพูดกับหมาว่า "โยมจ๋า ฉันขอไปทีจ๊ะ" จึงมีคนถามว่าทำไมท่านต้องพูดแบบนั้นกับหมา ท่านตอบว่า "ฉันไม่รู้ได้ว่า สุนัขนี้เคยเป็นพระโพธิสัตว์หรือไม่ เพราะในเรื่องชาดกกล่าวว่าในกาลครั้งนึง พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นสุนัข"
ส่วนเรื่องบิดามารดาของท่าน ไม่มีข้อมูลที่ชัดเจน ข้อมูลบางแห่งบอกว่าท่านเป็นโอรสของ ร.1 แต่ก็มีคนแย้งว่าท่านเป็นโอรสของ ร.2 ส่วนมารดาของท่านเป็นสาวชาวบ้าน ดังนั้นเราจึงขอข้ามเรื่องบิดามารดาของท่าน
มีเรื่องเล่ากันว่า ก่อนที่สามเณรโตจะย้ายมาอยู่วัดระฆังโฆสิตาราม มีพระรูปหนึ่งนามว่า สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์นาค ฝันว่า "มีช้างเผือกมากินหนังสือในตู้พระไตรปิฎกของท่านจนหมดเกลี้ยง" ท่านจึงคิดว่า ท่านจะได้ศิษย์ที่มีปัญญาหรือมีบุญ วันต่อมาท่านเจ้าคุณอรัญญิก (ด้วง) ก็พาสามเณรโตมาฝากเป็นศิษย์ท่าน
ท่านได้ศึกษาวิชาต่างๆ กับพระที่มีชื่อเสียงมากมาย และหนึ่งในนั้นคือ สมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) ท่านเชี่ยวชาญด้านพระปริยัติธรรมมาก แต่ก็ไม่เข้าสอบพระเปรียญ เนื่องจากท่านรักความเรียบง่าย ตลอดเวลาที่ผ่านมาท่านไม่เคยยอมรับตำแหน่งใดๆ เลย
มีครั้งนึงที่ ร.3 จะตั้งท่านเป็นพระราชาคณะ ท่านก็ไม่ยอมรับ และมักหลบออกไปธุดงค์ตามหัวเมืองต่างๆ บางทีก็ไปไกลถึงลาว เขมร แต่ต่อมาในสมัย ร.4 ท่านก็ยอมรับสมณศักดิ์ เนื่องด้วยเหตุผลบางประการ
ในปี พ.ศ. 2395 ซึ่งตรงกับสมัย ร.4 พระองค์ท่านทรงเมตตาสมเด็จโตมาก ดังนั้นจึงได้พระราชทานสมณศักดิ์ให้เป็น "พระธรรมกิติ" ซึ่งในตอนนั้นสมเด็จโตดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม และมีอายุถึง 64 ปีแล้ว
อีก2 ปีต่อมา ท่านได้รับเลื่อนสมณศักดิ์เป็น "พระเทพกวี" และอีก 10 ปีต่อมา ตรงกับ พ.ศ.2407 ท่านได้รับสมณศักดิ์สูงสุด คือ "สมเด็จพระพุฒาจารย์"
สมเด็จโต ท่านเป็นผู้ที่แตกฉานในพระไตรปิฎกและเทศนาเรื่องต่างๆ อย่างตรงไปตรงมา ดังนั้นจึงเป็นที่ชื่นชมของ ร.4 มีครั้งนึง มีโยมที่ชื่อคุณแม่แฟง ซึ่งเป็นแม่เล้า คิดอยากทำบุญสร้างวัดถวาย (วัดคณิกาผล) ที่พลับพลาไชยจึงได้นิมนต์สมเด็จโตมาเทศน์
สมเด็จโตเทศน์ว่า เจ้าภาพทำบุญด้วยทุนรอนจากผลเช่นนี้ ย่อมได้อานิสงส์เพียงสลึงเฟื้องเท่านั้น พร้อมยกนิทานธรรมะประกอบ เมื่อคุณแม่แฟงได้ฟังเช่นนั้นก็โกรธมาก จึงได้ยกเครื่องกัณฑ์เทศน์กระแทกถวาย
และมีอีกครั้งนึง ขณะนั้นท่านมีสมณศักดิ์เป็นพระเทพกวี ท่านเทศน์เรื่องการตั้งกรุงกบิลพัสดุ์และตั้งศากยวงศ์ โดยให้พี่น้องแต่งงานกันเองตามความเชื่อของพราหมณ์ เพื่อให้มีความแน่นแฟ้น บริสุทธิ์ไม่เจือไพร่ คราวนี้ประเทศไทยก็เลียนแบบตาม
เมื่อเทศน์มาถึงตอนนี้ ร.4 ทรงกริ้วมาก ไล่ลงจากธรรมมาสน์ และให้ออกไปนอกราชอาณาจักร ดังนั้นสมเด็จโตจึงออกจากวังและไปนอนในอุโบสถวัดระฆัง ไม่ยอมออกมาเหยียบแผ่นดินอีกเลย
ใช้ปัญญาในการตอบคำถาม
หลังจากที่ท่านโดนไล่ลงจากธรรมมาสน์ ท่านก็อยู่แต่ในพระอุโบสถ ต่อมามีวันนึง ร.4 ได้เสด็จเข้าไปที่อุโบสถ วัดระฆัง เพื่อจะถวายพระกฐิน แต่เห็นสมเด็จโตอยู่ในนั้น จึงได้มีการสนทนากัน
รัชกาลที่ 4 : "อ้าว ไล่แล้ว ไม่ให้อยู่ในราชอาณาจักรสยาม ทำไมขืนอยู่อีกล่ะ"
สมเด็จโต : "ถวายพระพร อาตมาไม่ได้อยู่ในราชอาณาจักร อาตมาอาศัยอยู่ในพุทธจักรตั้งแต่วันที่มีพระบรมราชโองการ อาตมาไม่ได้ลงดินของมหาบพิตรเลย"
รัชกาลที่ 4 : แล้วกินข้าวที่ไหน ไปถานที่ไหน"
สมเด็จโต : ขอถวายพระพร บิณฑบาตในอุโบสถนี้ ถานในกระโถน เทวดาเป็นคนนำไปลอยน้ำ" "ถวายพระพร อุโบสถเป็นวิสุงคามสีมา เป็นส่วนหนึ่งของพระราชอาณาจักร ซึ่งกษัตริย์ได้พระราชทานที่ดินนี้ให้กับสงฆ์เพื่อสร้างอุโบส กษัตริย์ไม่มีอำนาจขับไล่ได้"
เมื่อ ร.4 ได้ฟังเช่นนั้น ก็ทรงขอโทษแล้วถวายพระกฐิน และรับสั่งให้อยู่ในพระราชอาณาจักรได้ เมื่อครั้งที่ท่านมีชื่อเสียงมากขึ้นก็มีญาติโยมเดินทางมาหาตลอด จนท่านไม่มีเวลาว่าง ท่านมักจะหลบไปอยู่ในป่าช้าวัดสระเกศ
ต่อมาในปี พ.ศ.2415 ตรงกับรัชกาลที่ 5 สมเด็จโตไปดูงานก่อสร้างหลวงพ่อโต ณ วัดอินทรวิหาร เขตบางขุนพรหม กทมฯ ซึ่งเป็นปีเดียวกันกับที่ท่านมรณภาพ คือวันเสาร์ที่ 22 มิ.ย. พ.ศ.2415 สิริอายุ 85 พรรษา
ก่อนมรณภาพ ท่านได้เขียน คำนายดวงเมือง ไว้ดังนี้ "มหากาฬ พาลยักษ์ รักมิตร สนิทธรรม จำแขนขาด ราชโจร ชนร้องทุกข์ ยุคทมิฬ ถิ่นกาขาว ชาววิไล"
นอกจากนี้ ท่านยังได้ให้ช่างเขียนภาพประวัติของท่านไว้ที่ผนังอุโบสถของวัดอินทรวิหาร แต่ในปัจจุบันภาพวาดเหล่านั้นได้ลบเลือนไปจนเกือบหมด และมีการทาสีทับใหม่
สำเร็จวิชานารายณ์แปลงรูป
เมื่อครั้นที่ท่านออกธุดคงค์หายไปหลายปี ร.4 ทรงระลึกถึง จึงสั่งให้เจ้าเมืองทั่วพระราชอาณาจักรตามหาตัวสมเด็จโต และพาท่านกลับเข้าเมืองหลวง
สมเด็จโตท่านทราบจึงใช้วิชานารายณ์แปลงรูป ทำให้คนจำท่านไม่ได้ ต่อมาท่านเห็นว่าสิ่งที่ท่านทำ ทำให้พระรูปอื่นต้องถูกจับไปอดอาหารบ้าง ตากแดดตากฝนบ้าง ท่านจึงได้แสดงตนให้คนรู้และพาท่านกลับเข้าพระนคร
การสร้างพระแบ่งเป็น 5 ช่วง
ท่านคือผู้สร้างตำนานพระสมเด็จวัดระฆัง ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในพระเบญจภาคีที่ทุกคนต่างต้องการครอบครอง นอกจากพระสมเด็จแล้ว ท่านยังสร้างพระอื่นๆ อีกมากมาย ดังนี้
1. พ.ศ.2363-2365 ท่านเรียนวิปัสสนากรรมฐานชั้นสูง รวมถึงการออกแบบและมวลสารในการสร้างพระพิมพ์กับ สมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน)
2. พ.ศ.2385-2393 เมื่อมารดาท่านสิ้นบุญ ท่านใช้เวลาส่วนใหญ่ออกธุดงค์ไปทางเหนือ ลาว เขมร และได้สร้างพระพุทธรูปยืน ปางอุ้มบาตร วัดกลางคลองข่อย อ.โพธาราม จ.ราชบุรี และสร้างพระเจดีย์ที่หลังโบสถ์วัดละครทำ ต.บ้านช่างหล่อ จ.ธนบุรี ปัจจุบันผุพังหมดแล้ว
3. พ.ศ.2394-2407 เป็นช่วงต้นรัชกาลที่ 4 ซึ่งเป็นช่วงที่ท่านได้รับสมณศักดิ์และมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นในประเทศมากมาย สันนิษฐานว่าน่าจะมีการสร้างพระ เนื่องในโอกาสเลื่อนสมณศักดิ์, การขึ้นครองราชย์ของ ร.4, พระราชสมภพของ ร.5 ฯลฯ
-ในปี พ.ศ.2396 สร้างหลวงพ่อโตองค์นั่ง ณ วัดเกศไชโย จ.อ่างทอง
-ในปี พ.ศ.2406-2407 สร้างพระสมเด็จ จำนวน 84,000 องค์ เพื่อบรรจุไว้ในกรุ วัดเกศไชโย ซึ่งเล่ากันว่าครั้งนี้สมเด็จโตได้อัญเชิญเหล็กไพลดำมาใช้เป็นส่วนผสมในการสร้างพระด้วย
4. พ.ศ.2408-2411 เป็นช่วงปลายรัชกาลที่ 4 ในปี พ.ศ.2408 สร้างพระสมเด็จบรรจุกรุพระธาตุพนมจำลอง ณ วัดบวรสถานสุทธาวาส (ไม่ใช่ที่พระธาตุพนม จ.นครพนม)
-ในปี พ.ศ.2410 สร้างหลวงพ่อองค์ยืน ณ วัดอินทรวิหาร สันนิษฐานว่าน่าจะมีการสร้างพระสมเด็จบรรจุในกรุด้วย ขณะเดียวกัน ท่านก็ได้สร้างพระพุทธรูปปางมารวิชัย นามว่า พระพุทธมหามุนีศรีมหาราช ณ วัดกุฎีทอง อ.มหาราช จ.อยุธยา
5. พ.ศ.2411-2415 เป็นช่วงต้นรัชกาลที่ 5 มีการสร้างพระพิมพ์ พระบูชา จำนวนมาก เนื่องในวโรกาสที่ ร.5 ขึ้นครองราชย์
-ปี พ.ศ.2412 มีการสร้าง พระสมเด็จเบญจรงค์ หรือเบญจสิริ เพื่อถวาย ร.5 โดยได้ส่วนผสมหลักมาจากประเทศจีน โดยเจ้าคุณกรมท่า (ท้วม บุนนาค) ซึ่งชุดนี้เรียกว่า พระสมเด็จวังหน้า ได้มีการนำไปบรรจุในกรุวัดพระแก้ว
-ปี พ.ศ.2412 เสมียนตราด้วงได้ขอแม่พิพม์จากสมเด็จโต เพื่อสร้างพระสมเด็จ 84,000 องค์ และนำพระไปบรรจุในกรุเจดีย์ใหญ่ ณ วัดบางขุนพรหม (วัดใหม่อมตรส) ซึ่งได้สร้างและทำพิธีที่วัดอินทรวิหาร ในปีเดียวกัน สมเด็จโตได้สร้างพระนอนวัดสะตือ จ.อยุธยา เล่ากันว่าท่านได้สร้างพระบรรจุในกรุวัดนี้ด้วย
-ปี พ.ศ.2415 สมเด็จโตมรณภาพ ท่านเจ้าคุณพระธรรมถาวรจึงได้นำพระสมเด็จมาแจกในงานศพ จำนวนมากกว่า 30,000 องค์
การค้นพบคาถาชินบัญชร
เมื่อครั้งที่สมเด็จโตได้อ่านจารึกนครชุม ทราบว่ามีพระบรมสารีริกธาตุประดิษฐานใน เจดีย์พระบรมธาตุนครชุม ซึ่งพญาลิไท สถาปนาไว้เมื่อปี พ.ศ.1900 จึงได้มีการสำรวจภายในเจดีย์ในวัดพระบรมธาตุ และสิ่งที่ได้พบคือ
1. คัมภีร์คาถาชินบัญชร
2. จารึกลานเงิน จารึกเรื่องการสร้างพระเครื่อง และการอาราธนาพระเครื่อง
3. พระบรมสารีริกธาตุ9 พระองค์ บรรจุในสำเภาเงิน
4. พระเครื่อง พระบูชา และของมีค่า เงินทองต่างๆ
ชินบัญชร แปลว่า เกราะป้องกันภัยของพระพุทธเจ้า คำว่า "ชิน" หมายถึง "พระพุทธเจ้า" ส่วนคำว่า "บัญชร" หมายถึง "กรง หรือ เกราะ" หลังจากที่มีการค้นพบคาถาแล้ว สมเด็จโตท่านนำมาดัดแปลงเพิ่มเติมอีก
ก่อนสวดมนต์ เตรียมดอกไม้ 3 สี หรือดอกบัว 9 ดอก หรือดอกมะลิ 1 กำ จุดธูปและเทียนบูชาพระรัตนตรัยโดยตั้งนะโม 3 จบ
พระคาถาชินบัญชร ฉบับย่อ
ชิ นะ ปัญ ชะ ระ ปะ ริ ตัง มัง รัก ขะ ตุ สัพ พะ ทา (ภาวนา 10 จบ)
พระคาถาชินบัญชร ฉบับเต็ม (15บท)
ปุตตะกาโม ละเภปุตตัง ธะนะกาโม ละเภธะนัง อัตถิกาเย กายะ ญายะ เทวานัง ปิยะตัง สุตตะวา
อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ มรณังสุขัง อะระหังสุคะโต นะโมพุทธายะ
1. ชะยาสะนากะตา พุทธา เชตวา มารัง สะวาหะนัง
จะตุสัจจาสะภัง ระสัง เย ปิวิงสุ นะราสะภา
2. ตัณหังกะราทะโย พุทธา อัฏฐะวีสะติ นายะกา
สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง มัตถะเกเต มุนิสสะรา
3. สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน
สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง อุเร สัพพะคุณากะโร
4. หะทะเย เม อะนุรุทโธ สารีปุตโต จะทักขิเณ
โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง โมคคัลลาโน จะ วามะเก
5. ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง อาสุง อานันทะ ราหุโล
กัสสะโป จะ มะหานาโม อุภาสุง วามะโสตะเก
6. เกสันเต ปิฏฐิภาคัสมิง สุริโย วะ ปะภังกะโร
นิสินโน สิริสัมปันโน โสภิโต มุนิปุงคะโว
7. กุมาระกัสสโป เถโร มะเหสี จิตตะ วาทะโก
โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง ปะติฏฐาสิคุณากะโร
8. ปุณโณ อังคุลิมาโร จะ อุปาลี นันทะ สีวะลี
เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา นะลาเต ติละกา มะมะ
9. เสสาสีติ มะหาเถรา วิชิตา ชินะสาวะกา
เอเตสีติ มะหาเถรา ชิตะวันโต ชิโนระสา
ชะลันตา สีละเตเชนะ อังคะมังเคสุ สัณฐิตา
10.ระตะนัง ปุระโต อาสิ ทักขิเณ เมตตะ สุตตะกัง
ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ วาเม อังคุลิมาละกัง
11.ขันธะโมระปะริตตัญจะ อาฏานาฏิยะ สุตตะกัง
อากาเส ฉะทะนัง อาสิ เสสา ปาการะสัณฐิตา
12.ชินา นานาวะระสังยุตตา สัตตัปปาการะ ลังกะตา
วาตะปิตตาทะสัญชาตา พาหิรัช ฌัตตุปัททะวา
13.อะเสสา วินะยัง ยันตุ อะนันตะชินะ เตชะสา
วะสะโต เม สะกิจเจนะ สะทา สัมพุทธะปัญชะเร
14.ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ วิหะรันตัง มะฮี ตะเล
สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ เต มะหาปุริสาสะภา
15.อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข ชินานุภาเวนะ ชิตุปัททะโว
ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโฆ สังฆานุภาเวนะ ชิตันตะราโย
สัทธัมมานุภาวะปาลิโต จะรามิ ชินะ ปัญชะเรติ