you can see Viharn Mongkon Bophit from here
it served as a model for the Temple of the Emerald Buddha
three stupas were built to keep the ashes of three kings
I like the contrast of the red stupas with the blue sky
Wat Phra Si Sanphet
Update : September 25, 2023
I went back to Ayutthaya again, which is the old capital city of Thailand and packed with the legacy of Thai history. This time, I visited an ancient royal temple within the palace grounds. It's like the temple of the Emerald Buddha located in the Grand Palace in Bangkok.
It's located next to Viharn Phra Mongkon Bophit (a white building with multiple roof tiers). The temple has only one gate for entry and exit. If you face toward Viharn Mongkon Bophit, the gate will be on the right.
A very popular spot for photography is the three big stupas, where the ashes of three kings were kept inside.
If you reaches the temple in the afternoon and don't want to walk in the sun, you can borrow an umbrella for free at the temple gate.
But If you arrive after dark, you can enjoy night views from many ancient temples along the streets of the city. Spotlights create a wonderful atmosphere, and perfectly display the splendor of each temple.
History of the temple
The palace was built by the order of King U-Thong (the founder of the Ayutthaya Kingdom), in the same area where Wat Phra Si Sanphet stands today.
Later, in the reign of King Trai Lokanat, the king moved the palace further north and converted the old palace grounds into a royal temple called Wat Phra Si Sanphet.
In 1492, King Ramathibodi 2 added two stupas to the temple in order to keep the ashes of his father (King Trai Lokanat) and his older brother (King Borommaracha 2).
In 1499, a royal chapel was built on the palace grounds. A year later, a big Buddha statue named "Phra Si Sanphet Dayan" was cast. The Buddha statue was 16 meters high, covered in gold.
The Buddha statue had been enshrined in the royal chapel until the end of the kingdom in 1767. At that time, the Burmese melted the gold away and left the core of the Buddha. The Buddha was completely destroyed and couldn't be restored.
So, King Rama 1 of the present Chakri Dynasty ordered the construction of a big stupa at Wat Pho, Bangkok, in order to enshrine the damaged Buddha inside.
Later, in 1530, the third stupa built in the same style was added to the temple. It was built by King Boromaracha 4 to keep the ashes of his father (King Ramathibodi 2).
วัดพระศรีสรรเพชญ์
วัดนี้ตั้งอยู่ในเกาะเมืองอยุธยา อยู่ถัดจาก วิหารพระมงคลบพิตร ถือเป็น "วัดหลวงที่สร้างอยู่ในเขตพระราชวัง" เช่นเดียวกับ วัดพระแก้ว ที่อยู่ในพระราชวังในกรุงเทพฯ เราสามารถมองเห็นหลังคาของวิหารมงคลบพิตรได้ ขณะเดินเล่นในวัด เพราะกำแพงวัดไม่ได้สูงมากนัก
ประตูทางเข้าและทางออก มีจุดเดียว คืออยู่ใกล้ๆ กับทางเข้าวิหารพระมงคลบพิตร เมื่อมาถึงวัดนี้แล้ว ก็แวะไปเที่ยวตลาดในบริเวณวิหารพระมงคลบพิตรเลย ตลาดจะเน้นขายของกิน ของฝากในราคาถูก โดยเฉพาะโรตีสายไหมที่ขึ้นชื่อของจังหวัด แม่ค้าก็ทำขายกันสดๆ ราคาไม่แพง ชุดละ 35 บาท ร้านอาหารตามสั่ง หรือก๋วยเตี๋ยวก็มีนะ
สำหรับใครที่ไม่ชอบเดินร้อนๆ ก็ไม่ต้องกังวลไป เพราะวัดในอยุธยาส่วนใหญ่ มีร่มให้ยืมฟรี แต่แนะนำให้มาเที่ยวตอนเช้า หรือเย็น เพราะอากาศไม่ร้อนมาก โดยเฉพาะเวลาที่ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าไปแล้ว หลายๆ วัด จะเปิดไฟสปอร์ตไลท์ ทำให้วัดนั้นดูสวยงามมากขึ้นไปอีก
ประวัติวัด
ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) พระองค์ให้สร้างพระราชวังในบริเวณที่วัดพระศรีสรรเพชญ์ตั้งอยู่ในปัจจุบัน แต่ต่อมาในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ได้มีการย้ายพระราชวังขึ้นไปทางเหนือ และยกที่ดินเดิมให้สร้างวัดพระศรีสรรเพชญ์ วัดนี้ถูกสร้างในปี พ.ศ.1991 และถือเป็นวัดประจำพระราชวัง
ในปี พ.ศ.2035 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ให้สร้างเจดีย์ใหญ่สององค์ โดยองค์แรกอยู่ทางทิศตะวันออก เพื่อบรรจุอัฐิของพ่อ (สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ) และองค์ที่สองคือองค์กลาง เพื่อบรรจุอัฐิของพี่ชาย (สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3)
ต่อมาในปี พ.ศ. 2042 ได้สร้างพระวิหารขนาดใหญ่ และในปี พ.ศ.2043 ทรงหล่อ พระพุทธรูปยืนสูง 16 เมตร หุ้มด้วยทองคำหนักถึง 171 กิโลกรัม ประดิษฐานไว้ในวิหาร นามว่า "พระศรีสรรเพชญดาญาณ"
ในปี พ.ศ.2310 อยุธยาได้เสียกรุงแก่พม่า พม่าได้เผาองค์พระศรีสรรเพชญดาญาณ และลอกทองคำไปหมด ดังนั้น ร.1 (สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก) ให้อัญเชิญองค์พระมาประดิษฐานที่เจดีย์ใน วัดโพธิ์ เนื่องจากองค์พระชำรุดมาก ยากที่จะบูรณะ และตั้งชื่อเจดีย์ว่า "เจดีย์สรรเพชญดาญาณ"
ส่วนเจดีย์องค์ที่สาม สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 ได้สร้างเพื่อเก็บอัฐิของพ่อ (สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2) เจดีย์สามองค์นี้เป็นเจดีย์แบบลังกา ระหว่างเจดีย์แต่ละองค์มีมณฑปคั่นไว้ ซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะสร้างในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง
สรุปคือ เจดีย์สององค์แรก สร้างโดยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 เพื่อเก็บอัฐิของพ่อ และพี่ชาย ส่วนเจดีย์องค์ที่สาม สร้างโดยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 เพื่อเก็บอัฐิของผู้ที่สร้างเจดีย์สององค์แรก (สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 หรือพระหน่อพุทธางกูร เป็นลูกของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2)