The statue of Luang Pu Budda
The body of Luang Pu Budda rests in a glass coffin
The ordination hall
the ruins of stupas
Wat Klang Chusri Charoensuk
Update : Septemper 5, 2022
Temple is quite remote from a busy city and about 13km far from Wat Phra Prang & Maenam Noi Kilns. It's believed to be built in the early Ayutthaya period and became a deserted temple. Later, the temple was renovated as we see today.
Visiting Wat Klang Chusri Charoensuk, where one of the most famous monks had lived before passing away. Thing that will catch your eye is a glass coffin, that displays the abbot's body whose name is Lung Pu Budda. He had been in the monkhood for 72 years and passed away on January 12, 1994, at the age of 101 . His body shows no sign of decay after passing away 27 years ago - it looks as if he was sleeping.
His coffin is placed on high tables about 1m above the floor, to let most Buddhists walk under the coffin. In Thailand, we believe walking under a great monk's coffin will bring good luck to us.
After you pay homage to him, you can walk around the temple. The temple has the ordination hall, a small building called viharn, a prayer hall and some Buddha statues.
Monk Biography
Luang Pu Budda, a native of Lopburi province, could remember his past lives. He said that he was a man living on the left bank of the Mekong River in his past lives.
The alphabet used during that time is the same as King Ramkhamhaeng's in Thailand. But it's different from the alphabet that we use today. As a child, he didn't study so he couldn't read. But when he served as a soldier, he had a chance to study.
He was born a man and lived near the bank of the Mekong River for seven past lives, back from his present life. He had a brother, who loved him very much and promised not to leave him. Therefore, his brother was reborn as his father.
At the end of his life, he worked 20 hours a day, except when he was sick. He still made a pilgrimage every year, after the end of Buddhist Lent Day (the end of the rainy season) until he was 78 years old. Besides, he ate only one meal a day and ate every other day until he was 80 years old.
Important events of LP Budda's life
He met a monk, named Luang Pho Song - LP Song was his brother and also father in his previous lives. When he met LP Song, he remembered who LP Song was.
At that time, LP Song was ordained as a monk a year before him, and was many years older than him. So he called LP Song "father Song" from then on. And they both decided to travel together, until they reached Phu Kha Cave in Nakhon Sawan province.
The two monks spent time walking meditation and talking about Dhamma, even though they sat in different places. Not long after that, LP Song didn't hear his voice - LP Song felt that something wrong was happening to him.
So LP Song walked to him and found a large centipede curling on his head. He lowered his rain-bathing cloth for the centipede climbing and released it outside. And the most unbelievable thing happened - the centipede bit itself.
Attain enlightenment
In 1925, they both went to stay at Wat Pa Nongku in Nakhon Sawan province during Buddhist Lent. After the end of Buddhist Lent Day, they walked to Phu Kha Cave again and sped the meditation practice up.
Finally, LP Budda reached the stage of enlightenment, at the age of 32, after 4 years in monkhood. A few days later, LP Song attained enlightenment.
After their enlightenment, they travelled separately to spread Buddhism for over 40 years. However, they would see each other and stay together at Wat Pa Nongku during Buddhist Lent every year.
And later in 1967, they saw each other again, but this time they talked about Phu Kha Cave, where both of them had attained enlightenment. They decided to build the Buddha statue, named Phra Phutta Ketkaew Julamanee, to be enshrine at the top of the hill.
วัดกลางชูศรีเจริญสุข
วัดนี้ตั้งอยู่ อ.บางระจัน ห่างจาก วัดพระปรางค์ (ชัณสูตร) 13 กม. สันนิษฐานว่าสร้างในช่วงต้นกรุงศรีอยุธยา ต่อมากลายเป็นวัดร้าง แล้วก็ได้มีการบูรณะกันในภายหลัง เป็นวัดที่หลวงปู่บุดดา ถาวโร จำพรรษาในช่วงบั้นปลาย ก่อนจะมรณภาพ ในวันที่ 12 ม.ค. 2537 สิริอายุ 101 ปี วัดนี้ค่อนข้างเงียบสงบ สำหรับใครที่อยากมา บวชเนกขัมมะ ก็มาที่นี่ได้นะคะ
หลวงปู่บุดดา เป็นคน จ.ลพบุรี ท่านสามารถระลึกชาติได้ตั้งแต่ยังเป็นเด็ก ท่านเล่าว่าในอดีตชาติท่านเป็นผู้ชาย อยู่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง ตัวหนังสือที่ใช้เป็นตัวหนังสือแบบเดียวกับสมัยพ่อขุนรามคำแหง ไม่ใช่ตัวหนังสือแบบเดียวกับในปัจจุบัน และตอนเด็กท่านไม่ได้เรียนหนังสือ ดังนั้นท่านจึงอ่านหนังสือไม่ออก แต่เมื่อท่านได้เป็นทหาร ท่านจึงได้เรียนหนังสือ และสามารถเขียนภาษาไทยที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันได้
ท่านยังได้เล่าอีกว่า จากชาตินี้ย้อนไป 7 ชาติ ท่านเกิดเป็นชายทุกชาติและเกิดริมฝั่งแม่น้ำโขง ในอดีตท่านมีพี่ชายที่รักท่านมาก และสัญญากับท่านไว้ว่าจะไม่ทิ้งท่านไปไหน ซึ่งต่อมาพี่ชายท่านจึงมาเกิดเป็นพ่อของท่าน
และยังมีอีกเรื่องในอดีตชาติ ท่านเคยไปชอบหญิงชาวบ้านคนนึง แต่ผู้หญิคนนั้นไม่ชอบท่านและยังได้พูดกับท่านว่า ในอดีตท่านทำให้ฉันต้องถูกตี ถูกจับทรมาน จนอดข้าวตาย แล้วชาตินี้จะมาชอบทำไม
ขณะนั้นท่านก็เห็นอดีตของท่าน ท่านเคยเป็นสมภารวัดอยู่ที่ลาว และช่วงที่ป่วย มีหมาตัวเมียขึ้นมาลักอาหารไปกิน ท่านจึงได้บอกให้เด็กไล่หมาไป พวกเด็กไม่ใช่แค่ไล่ตีแต่ยังจับหมาไปผูกกับรั้ว ซึ่งตอนนั้นทุกคนก็กังวลกับอาการป่วยของท่าน จนลืมหมาตัวนั้นไป สุดท้ายหมาก็อดข้าวตาย เมื่อหมาตายจึงจองเวรท่าน
ในช่วงบั้นปลายของหลวงปู่ ท่านใช้เวลาทำงาน 20 ชม. ต่อวัน ยกเว้นช่วงที่ท่านเจ็บป่วย แม้ท่านจะจำพรรษาในที่แห่งเดียวติดต่อกันบ้างบางแห่ง แต่ท่านไม่เคยอยู่ที่ใดติดต่อกันตลอดทั้งปี พอออกพรรษาหลวงปู่ก็ออกธุดงค์ไปตามป่าตามเขา
จนอายุ 78 ปี ร่างกายของท่านทรุดโทรม ท่านจึงหยุดธุดงค์ นอกจากนี้ท่านฉันอาหารมื้อเดียวต่อวัน โดยฉันวันเว้นวัน จนกระทั่งท่านอายุ 80 ปี ท่านจึงหยุดการปฏิบัติแบบเคร่งครัด เพื่อพักผ่อนกายสังขาร
เหตุการณ์สำคัญในชาติปัจจุบัน
1. เมื่อครั้งออกธุดงค์จาก จ.ลพบุรี ไป จ.หนองคาย ท่านได้การเผชิญหน้ากับวัวป่าฝูงหนึ่ง แต่วัวป่าพวกนั้นก็ไม่ได้ทำอะไรท่านเลย โดยหัวหน้าฝูงวัวเข้ามาดมๆ ที่ตัวท่านก่อน แล้ววัวตัวอื่นก็เข้ามาดมตาม แล้วก็เดินจากไป
2. ท่านระลึกชาติได้ และจำได้ว่าท่านเกิดที่นอกนครเวียงจันทร์ เมื่อตอนที่เสียชีวิต เขานำร่างท่านไปฝังดิน โดยไม่ได้เผา ท่านจึงไปขุดกระดูกนั้นขึ้นมาเผาด้วยตนเอง
3. เมื่อครั้งที่ท่านจำพรรษาอยู่ที่ วัดบ้านทุ่ง จ.หนองคาย ท่านได้มีโอกาสข้ามไปเวียงจันทร์ เพื่อชมพิพิธภัณฑ์และวัดพระแก้ว เมื่อท่านเห็นตู้พระไตรปิฎก ท่านก็จำได้ว่าในอดีตชาติท่านเป็นสมภารวัดนี้และจารตู้พระไตรปิฎกนี้ด้วยตนเอง
4. ขณะที่ท่านพักอยู่ที่ วัดบ้านทุ่ง จ.หนองคาย ท่านได้นั่งเรือไปรับกิจนิมนต์ร่วมกับพระภิกษุหลายรูป ขณะนั้นเรือเกิดจมลง พระรูปอื่นต่างว่ายน้ำหนีจากเรือหมด เหลือแต่ท่านรูปเดียว ตอนนั้นน้ำท่วมเกือบถึงคอท่านแล้ว แต่โชคดีชาวบ้านเอาเรือไปรับท่านทันเวลา
5. ท่านได้พบกับ หลวงพ่อสงฆ์ พรหมสโร ซึ่งหลวงพ่อสงฆ์แก่กว่าหลวงปู่บุดดา 1 พรรษาและอายุมากกว่าท่านหลายปี เมื่อพบกัน ท่านก็ระลึกได้ว่า หลวงพ่อสงฆ์ คือบิดาในอดีตชาติ ตั้งแต่นั้นท่านก็เรียกคุณพ่อสงฆ์
ท่านทั้งสองได้ออกเดินทางด้วยกัน จนถึงถ้ำภูคา อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ ท่านจึงได้เดินจงกรมและสนทนาธรรมกัน ถึงแม้จะสนทนากัน แต่ก็นั่งอยู่กันคนละที่ คราวหนึ่งเมื่อเสียงของหลวงปู่บุดดาหายไป หลวงพ่อสงฆ์รู้สึกผิดสังเกตจึงเดินไปดูแล้วพบว่า มีตะขาบตัวใหญ่ขดอยู่กลางศรีษะของหลวงปู่บุดดา หลวงพ่อสงฆ์ต้องเอาผ้าอาบของท่านหย่อนลงให้ตะขาบไต่ขึ้นผ้าแล้วจึงเอาไปปล่อยนอกถ้ำ เมื่อหลวงพ่อสงฆ์เอาไปปล่อย ปรากฏว่าตะขาบได้กัดตัวเองจนขาดเป็นท่อน ๆ
6. ในปี 2468 ท่านทั้งสองได้ไปจำพรรษาที่ วัดป่าหนองคู จ.นครสวรรค์ และพอออกพรรษาก็กลับมาที่ ถ้ำภูคาอีก โดยพวกท่านต่างเร่งความเพียรเจริญสมณธรรมอย่างเต็มที่ และในคืนวันหนึ่งท่านได้สนทนาธรรมกัน
หลวงพ่อสงฆ์ : ...ยังถือวินัยอยู่หรือ?
หลวงปู่ : ไม่ถือวินัยได้ไง ถ้าเราจะเดินผ่านต้นไม้ ของเขียวก็ต้องระวัง มันจึงเป็นอุปาทานทำความเนิ่นนานต้องช้ามาถึง 4 พรรษา
หลวงพ่อสงฆ์ : วินัยมันมีสัตว์ มีคนรึ
หลวงปู่บุดดา : มีตัวซี ถ้าไม่มีตัวจะถือวินัยได้ยังไง วินัยก็ผู้ถือนั่นเอง เสขิยวัตร 75 เป็นตัวไม่ได้หรอก เนื้อหนัง กระดูก ตับไต ไสพุง มันไม่ใช่ตัวถือวินัย ตัวถือวินัยเป็นธรรมนี่
เถียงกันมาสักพัก ปัญญาก็เกิด "เอ๊ะ! ไม่มีจริงๆ เน้อ ผู้ถือไม่มี มีแต่ระเบียบของธรรมเท่านั้น ไปถือมั่น-ยึดมั่นไม่ได้นี่" ทันใดนั้นหลวงพ่อสงฆ์เห็นหลวงปู่นิ่งเงียบ นัยน์ตาลืมค้างอยู่อย่างนั้น 2 ชั่วโมงกว่า ถึงกลับมาพูดได้ ทั้งนี้ก็เพราะ หลวงปู่ใช้ปัญญาตัดกิเลสได้แล้วในขณะที่นั่งลืมตา ซึ่งหลวงปู่บอกว่า ถ้าเกิดปัญญาขึ้นในอิริยาบถทั้ง 4 ซึ่งขณะนั้น ถ้าลืมตาตัด ก็ต้องลืมตาตัด ถ้านั่งตัด ก็ต้องนั่งตัด ถ้ายืน เดิน หรือนอนตัด ก็ต้องตัดในท่านั้น ขึ้นอยู่กับว่าใครจะตัดกิเลสได้ขณะไหน ยกตัวอย่างเช่นพระอานนท์ ท่านตัดได้ตอนเอนกายขณะกำลังจะนอน
หลวงปู่บุดดาบรรลุธรรม ขณะที่ท่านมีอายุได้ 32 ปี พรรษาที่ 4 พอรุ่งเช้าถึงเวลาออกบิณฑบาต หลวงพ่อสงฆ์บอกว่า "โลกกุตระธรรมแล้ว ขอนิมนต์ให้หลวงปู่เดินหน้า" แต่หลวงปู่ว่า "พรรษาอ่อนกว่าก็ต้องเดินหลังซี" สรุปหลวงปู่ก็ยังขอเดินตามหลังหลวงพ่อสงฆ์เหมือนเดิม ต่อมาอีกไม่กี่วัน หลวงพ่อสงฆ์ ก็เร่งปรารภความเพียรอย่างหนัก จนได้ดวงตาเห็นธรรม ณ ถ้ำภูคาเช่นเดียวกัน
7. เมื่อหลวงปู่บุดดาและหลวงพ่อสงฆ์ ได้รู้แจ้งเห็นจริงในอริยสัจธรรมแล้ว ต่างก็แยกกันไปประกาศพระสัทธรรม เป็นเวลากว่า 40 ปี แต่เมื่อใกล้เข้าพรรษาของทุกปี ท่านทั้งสองจะกลับมาจำพรรษาร่วมกัน ที่วัดบ้านป่าหนองคู
ต่อมาในปี พ.ศ.2510 ท่านทั้งสองได้มาพบกัน และพูดถึง ถ้ำภูคา จ.นครสวรรค์ ซึ่งเป็นสถานที่ ที่หลวงปู่กับหลวงพ่อสงฆ์ได้บรรลุธรรม ท่านจึงตัดสินใจสร้างพระพุทธเกษแก้วจุฬามณี ประดิษฐาน ณ ยอดเขาภูคา
8. หลวงปู่ได้รับนิมนต์จากชาวบ้าน จ.เพชรบุรี พร้อมด้วยอาจารย์เหล็ง พอเดินทางไปบ้านเจ้าภาพ ท่านก็บอกให้เจ้าภาพผูกวัว เจ้าของบ้านบอกท่านว่าไม่เป็นไรเดินเข้ามาได้เลย
ทันใดนั้นวัวก็วิ่งเข้าใส่ทันที แต่พอมันเข้ามาใกล้ท่าน อาจารย์เหล็งจึงรีบวิ่งขึ้นไปเสมอกับท่าน เพราะกลัวว่าวัวจะทำร้ายท่าน ทันใดนั้นขาทั้ง 4 ของเจ้าวัวเหมือนถูกตรึงอยู่ห่างจากหลวงปู่ประมาณ 2 วา เหตุการณ์นี้ทำให้ชาวเพชรบุรีร่ำลือกันไปทั่ว
9. มีครั้งนึง มีนายทหารคนนึงเข้ามาในวัดจนถึงหน้ากุฎิของท่าน เพื่อหวังจะยิงนก ท่านเลยบอกให้ยิงได้ 2 ครั้ง นายทหารคนนั้นเอาปืนยิงทันที แต่ยิงไม่ออกทั้ง 2 ครั้ง ท่านอาจารย์เหล็งเห็นเหตุการณ์ จึงได้บอกกับทหารคนนั้นว่า "อย่ายิงอีกนะ ไม่งั้นปืนจะแตก" นายทหารคนนั้นก็เชื่อ แล้วไม่กลับมาที่นี่อีกเลย
10. หลวงปู่จำพรรษาที่วัดราชานิวาส ท่านทราบว่าครูบาศรีวิชัยต้องอธิกรณ์ ท่านจึงได้เดินทางไปเยี่ยมที่วัดเบญจมบพิตร ท่านเล่าว่า ครูบาศรีวิชัยเห็นท่านไม่พาดสังฆาฏิ จึงกล่าวว่า "เราเป็นนายฮ้อยก็ต้องให้เขารู้ว่าเป็นนายฮ้อยไม่ใช่นายสิบ" ตั้งแต่นั้นมาท่านก็พาดสังฆาฏิตลอด
11. ในระหว่างที่ท่านจำพรรษาที่วัดราชาธิวาส ท่านได้พบกับท่านพุทธทาสและสนทนากัน จนท่านพุทธทาสออกปากนิมนต์ท่านไปจำพรรษาที่สวนโมกขพลาราม แต่ท่านบอกท่านพุทธทาสว่า อย่าให้ท่านเป็นผู้ทำลายแบบแผนที่วางไว้เลย
จากเหตุการณ์คราวนั้น ทำให้ท่านพุทธทาสแก้ไขระเบียบที่ว่า "ผู้ที่จะเข้าพำนักในสำนักของท่านได้ ต้องเป็นเปรียญหรือนักธรรมเอก มาเป็นข้อยกเว้นว่า หากไม่มีประโยคประธานใด ๆ ท่านต้องทดสอบก่อน"
ต่อมาท่านได้เดินธุดงค์ไปยังเพชรบุรี และได้พบกับท่านพุทธทาสอีก ซึ่งท่านก็ได้ไปเยี่ยมท่านพุทธทาสที่สวนโมกข์อีกหลายครั้ง บางครั้งก็พักค้างคืน ครั้งหลังสุดเป็นช่วงก่อนเข้าพรรษาปี 2533 ท่านก็ยังไปเยี่ยมท่านพุทธทาส
12. ขณะนั้นหลวงปู่ท่านจำพรรษาที่ จ.ระยอง วันหนึ่งท่านจะต้องเดินข้ามสะพานเพื่อไปทำธุระที่กุฏิอีกหลังหนึ่ง แต่บนสะพานนั้นมีสุนัขตัวหนึ่งนอนขวางอยู่ ท่านก็ไม่ข้าม แต่กลับเดินลงไปลุยโคลนแทน โดยท่านบอกว่า ไม่อยากให้ผู้อื่นได้รับความขุ่นเคือง แม้ว่าจะเป็นแค่สัตว์เดรัจฉานก็ตาม
13. หลวงปู่ถูกนิมนต์ให้ไปเทศน์คู่กับท่านเจ้าคุณองค์หนึ่ง ท่านก็คงเห็นหลวงปู่เป็นพระบ้านนอกรุ่มร่าม
ท่านเจ้าคุณจึงได้ถามหลวงปู่ว่า : ท่านจะเทศน์เรื่องอะไร
หลวงปู่ : เรื่องตัวโกรธ กิเลสตัณหา
ท่านเจ้าคุณ : ตัวโกรธเป็นอย่างไร
หลวงปู่ : ส้นตีน ไงละ
ท่านเจ้าคุณโกรธจนหัวฟัดหัวเหวี่ยงและไม่ยอมเทศน์ร่วมกับหลวงปู่ เมื่อท่านเทศน์จบ ท่านจึงไปขอขมาท่านเจ้าคุณ และอธิบายให้ท่านเข้าใจว่าตัวโกรธนี้เป็นอย่างนี้
14. หลวงปู่ท่านเรียก สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ว่า "สมเด็จไส้ออก" เวลาท่านผ่านมาทางวัดบวรนิเวศ ถ้าพระองค์เห็นเข้าก็จะจูงมือหลวงปู่ขึ้นบนกุฎิปิดประตูสนทนากัน และจัดให้หลวงปู่จำวัดในพระตำหนักด้วย
15. ระหว่างที่ท่านออกธุดงค์ ท่านได้พบปปะสนทนาธรรมกับพระอีกหลายรูป อาทิเช่น
-หลวงปู่เภา พุทธสโร วัดถ้ำตะโก จ.ลพบุรี (พระสายปฏิบัติฝ่ายธรรมยุต สายท่านเจ้าคุณอุบาลี และหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)
-หลวงพ่อสด จันทสโร วัดปากน้ำภาษีเจริญ กรุงเทพฯ
-หลวงพ่อเกรียง กิตติธรรมโม วัดหินหักใหญ่ จ.ลพบุรี
- ครูบาพรหมจักร วัดพระพุทธบาทตากผ้า จ.ลำพูน
-หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค จ.อยุธยา มักจะมาพบกับหลวงปู่บุดดาเสมอที่บริเวณเขาวงพระจันทร์
-หลวงปู่สิม พุทธจาโร วัดถ้ำผาปล่อง จ.เชียงใหม่ ได้สนทนาธรรมกับหลวงปู่บุดดาอยู่บ่อย ๆ
-เจ้าคุณพระสิทธิสารโสภณ อดีตเจ้าอาวาสวัดอาวุธวิกสิตาราม ก่อนจะมาอยู่วัดอาวุธฯ นั้น ท่านได้เคยพบหลวงปู่บุดดามาก่อน แล้วหลวงปู่แนะนำท่านเจ้าคุณให้รักษาศีลเท่าชีวิต ท่านก็ปฏิบัติจนกระทั่งปรากฏแสงสว่างเกิดขึ้นเป็นที่น่าอัศจรรย์ ท่านจึงศรัทธาและฝากตัวเป็นศิษย์หลวงปู่บุดดาในขณะนั้นท่านเจ้าคุณได้สร้างโบสถ์ วิหาร ไว้ แต่ยังทำไม่เสร็จท่านก็มรณภาพไปเสียก่อน หลวงปู่บุดดาจึงช่วยสร้างต่อจนเสร็จ
-คุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติม เป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่บุดดา คุณแม่ได้ฟังธรรมและนำคำสอนของหลวงปู่มาปฏิบัติด้วยตนเองจนได้บรรลุธรรม (ปัจจุบันกระดูกกลายเป็นอรหันตธาตุอยู่ ณ วัดอาวุธฯ)