The tallest Buddha statue in Bangkok
visitors look very small in the photo
an 8-meter green glass stupa contains Buddha relics
The stupa is 80 meters high with a 12-sided polygon shape
LP Sod's body is placed in a coffin
the statue of LP Sod
Buddha statues and others on the 1st floor
the principal Buddha statue
Wat Paknam Phasi Charoen
Update : April 28, 2023
The giant Buddha statue next to the white stupa is becoming a big magnet, attracting tourists to Bangkok. With its huge size, the Buddha statue is visible across Bangkok. Moreover, the nearby stupa offers one of the best 360-degree viewpoints in Bangkok.
If you're planning to visit this temple, you can take the skytrain (BTS) and get off at Wutthakat station. From here, you can take a cab or a motorcycle taxi to the temple. This temple is located in Thonburi area, near Wat Apsorn Sawan.
The temple is large and shady, so it takes about 2 hours to walk around. And if you feel tired, there are many corners to relax and hide from the heat of Bangkok sun. The temple isn't only a tourist destination, but also a center for Dharma practice.
Typically, Buddhist monks wear orange robes, while Buddhist nuns wear white robes. So if you see them chant or meditate, you shouldn't speak loudly.
Interesting things
1. A big white stupa is called "Phra Maha Chedi Maha Ratchamongkon. The stupa is 80 meters high with a 12-sided polygon shape, that is an achitecture in mixed styles of the Lanna (North) and the present Rattanakosin. It took up to 9 years to complete. The stupa consists of 5 floors.
The 1st floor : Museum displays general items.
The 2nd floor : A prayer and meditation hall.
The 3rd floor : Museum displays personal collections of Somdej Chuang, the late abbot, who just passed away in Dec. 2021.
The 4th floor : A memorial hall displays a life-sized statue of Luang Pu Sod, made of pure gold.
The 5th floor : An 8-meter green glass stupa contains Buddha relics, under the beautiful dome ceiling.
2. The tallest Buddha statue in Bangkok is named "Phra Phuttha Dhammakaya Thepmongkon". It was the Buddha Luang Pu Sod (The late abbot) saw during meditation. But the tallest one in Thailand is Phra Buddha Maha Nawamin statue in Ang Thong province, 92 metres high. The construction began on Mar. 4, 2017 and was completed on June 19, 2021.
It looks like a gold-coated Buddha, but it's actually made of bronze. Its parts were produced in China but assembled in Thailand.
The buddha statue is the equivalent height of a 20-story building, nearly 70 meters tall and 40 meters wide, in the meditation posture. Inside the lotus bud on the head of the Buddha is the Buddha's relics.
History of the temple
It's an old temple from the Ayutthaya period, that was built in 1610. The temple has been restored many times, since the reign of King Taksin, the Great.
After King Taksin passed away, the temple received support from the kings of the present Chakri Dynasty (King Rama 1, 3, 5). But during the reign of King Rama 6, the temple was nearly abandoned. So Luang Pu Sod was sent there as the abbot.
The temple became widely known under the leadership of Luang Pu Sod. It's said that LP Sod discovered the method of Dhammakaya meditation and became an expert at meditation.
Besides, he played a big role in developing Buddhism. He founded the most innovative Buddhist school in the early 20th century, that attracted lots of monks and Dharma practitioners to the temple.
Later, the temple becomes the center for meditation practice. LP Sod passed away peacefully on Feb. 3, 1959 at the age of 74.
Luang Pho Sod's Biography
LP Sod was born on Oct. 12, 1884 in Suphanburi province. When he was young, he studied Khmer language and could read influently. After studying, he would help his parents work and looked after cows.
When he used cows to do work, his cows would work until noon. After that he let them walk freely, because he thought they were so tired after working in the sun for many hours.
Later, when he was 14 years old, his father died. He had to carry on his family business, a rice-trading business. One day, he and his crew sailed an empty boat back home.
While the boat was floating down into the most secluded canal, he thought he was standing on the rear of the boat, that was easily attacked by robbers, while his crew was on the front of the boat. So he changed position with his crew.
A few minutes later, he thought that he hired the crew with little money, and his crew was neither the owner of the boat nor the cash. So, he shouldn't throw the risk of death upon him. He then told the crew to return to the same position.
He thought about money and death. And he began to realize why he had to collect lots of money, because he couldn't take his money with him after death. So, he worked harder and saved money for his mother before entering the monkhood.
Share food with a stray dog
He was ordained at the age of 22, in July 1906, at Wat Songpinong in his hometown, Suphanburi province. He was given a Buddhist name "Candasaro".
After a year of ordination, he moved to Wat Pho in Bangkok to study Dharma. He faced many obstacles during his stay, especially food. He received a little food, sometimes only one orange, and some days not at all.
One day, he went out to receive alms as usual. He walked until late and got only one ladle of rice and a banana. When he reached the temple, he was very tired because hadn't eaten for two days.
While he was eating, he saw a stray dog that was so skinny. The dog came to him and begged for food. With his compassion, he shared food with the dog. But the dog ate only the rice and left the banana untouched.
He hesitated to bring it back for himself and thought that it was inappropriate to do that, because he had already given away. And no one around to reoffered the banana to him.
In Thailand, monks can eat if someone offers it to them as the monk's rules. This motivated him to build a refectory for monks, novices and the poor.
วัดปากน้ำภาษีเจริญ
พระพุทธรูปสีทองขนาดใหญ่นั่งอยู่ใกล้กับเจดีย์สีขาว กำลังจะกลายเป็นสิ่งที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้ามายังกรุงเทพฯ ด้วยขนาดของพระพุทธที่ใหญ่ เราจึงสามารถมองเห็นพระพุทธรูปได้จากหลายพื้นที่
สำหรับใครที่อยากมาเที่ยววัด ก็นั่งรถไฟฟ้ามาลงที่ BTS วุฒากาศ เมื่อลง BTS แล้ว ก็นั่งมอเตอร์ไซค์มาลงที่วัดเลย วัดนี้ตั้งอยู่ในเขตฝั่งธนบุรี ติดกับ วัดอัปสรสวรรค์
วัดนี้เป็นวัดที่ใหญ่ ใช้เวลาประมาณ 2 ชม. ในการเดินเล่นรอบวัด สำหรับคนที่ชอบแมว ต้องมาที่นี่เลย แมวที่นี่อ้วนกลมทุกตัว แบบว่ากินดีอยู่ดี และระหว่างทางเดินเป็นพื้นหินอ่อน มีต้นไม้ น้ำตกจำลอง ร่มรื่นมาก นอกจากจะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแล้ว ที่นี่ยังมีผู้มาปฏิบัติธรรมอีกด้วย
สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด ได้แก่
1. เจดีย์สีขาวขนาดใหญ่ มีชื่อว่า "พระมหาเจดีย์มหารัชมงคล" ความสูง 80 เมตร เป็นเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ศิลปะล้านนาผสมกับรัตนโกสินทร์
ใช้เวลาก่อสร้างถึง 9 ปี สร้างเสร็จในวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ.2555 ภายในเจดีย์แบ่งเป็น 5 ชั้น จัดแสดงสิ่งของต่างๆ ดังนี้
ชั้น 1 ห้องมหาชนคุณารมณ์ - เป็นพิพิธภัณฑ์จัดแสดงสิ่งของโบราณ
ชั้น 2 ห้องธรรมกายคุณารมณ์ - เป็นพื้นที่สำหรับปฏิบัติธรรม นั่งสมาธิ
ชั้น 3 ห้องสังฆคุณารมณ์ - เป็นพิพิธภัณฑ์จัดแสดงสิ่งของส่วนตัวของสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (สมเด็จช่วง) ซึ่งท่านเพิ่งมรณภาพไปเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ.2564
ชั้น 4 ห้องพุทธคุณารมณ์ - ประดิษฐานหลวงรูปเหมือนหลวงปู่สด ซึ่งทำด้วยทองคำทั้งหมด
ชั้น 5 ห้องพุทธคุณารมณ์ - ประดิษฐานเจดีย์แก้วจำลองที่แกะสลักด้วยมือ เจดีย์นี้มีชื่อว่า "พระรัตนเจดีย์ศรีมหามงคล" บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ดวงแก้ว พระพุทธรูปทองคำ และหลวงพ่อทองคำ ส่วนด้านบนเพดานเป็นภาพจิตรกรรมงดงาม
2. พระพุทธรูปสีทององค์ใหญ่ นามว่า "พระพุทธธรรมกายเทพมงคล" ได้ถูกสร้างขึ้นตามนิมิตของหลวงปู่สด ซึ่งท่านเห็นพระพุทธรูปองค์นี้ในขณะที่ทำสมาธิ โดยเริ่มก่อสร้างเมื่อ 4 มีนาคม พ.ศ.2560 และเสร็จเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ.2564
ส่วนต่างๆ ของพระองค์นี้ถูกผลิตในประเทศจีน และส่งกลับมาประกอบที่ประเทศไทย พระพุทธรูปนี้ทำด้วยโลหะเนื้อทองแดง ความสูงเทียบเท่าตึก 20 ชั้น หน้าตักกว้าง 40 เมตร สูง 69 เมตร ที่พระเกตุของพระพุทธรูปประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ
ถือว่าเป็นพระพุทธรูปที่สูงที่สุดในกรุงเทพฯ แต่พระพุทรูปที่สูงสุดในประเทศไทย คือ หลวงพ่อใหญ่ หรือ พระพุทธมหานวมินทร์ศากยมุนีศรีวิเศษชัยชาญ ใช้เวลาสร้าง 16 ปี โดยสร้างเสร็จในปี 2550 (2535-2550) จัดเป็นพระพุทธรูปที่ใหญ่ อันดับ 1 ของไทย และใหญ่อันดับ 4 ของโลก สูง 95 เมตร เทียบเท่าตึกสูง 32 ชั้น
ประวัติวัด
วัดนี้ตั้งอยู่บริเวณปากคลองด่าน เชื่อมกับคลองบางกอกใหญ่ เป็นส่วนนึงของดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีพื้นที่ประมาณ 20 ไร่ วัดนี้สร้างขึ้นในสมัยอยุธยา ปี พ.ศ.2153
วัดนี้ได้รับการบูรณะหลายครั้ง ตั้งแต่รัชกาลของพระเจ้าตากสิน และต่อเนื่องมาถึงราชวงศ์จักรี ในสมัย ร.1, ร.3 และ ร.5 ซึ่งต่อมาในรัชกาล 6 วัดถูกปล่อยทรุดโทรมลง ไม่มีเจ้าอาวาสมาดูแล
ทางเจ้าคณะปกครองจึงได้ส่งหลวงปู่สด (พระสมุห์สด จนฺทสโร) จากวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) มาเป็นเจ้าอาวาสปกครองวัด ซึ่งท่านได้สอนสมถวิปัสสนากรรมฐาน ส่งเสริมการศึกษาพระปริยัติธรรม
ท่านได้สร้าง โรงเรียนพระปริยัติธรรมที่ทันสมัยที่สุดในสมัยนั้น ทำให้พระภิกษุสามเณร และบุคคลทั่วไปเข้ามาปฏิบัติธรรมเป็นจำนวนมาก
ประวัติหลวงพ่อสด
หลวงพ่อสด เกิดวันศุกร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ.2427 อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี ชีวิตในวัยเด็กนั้น ท่านได้เรียนหนังสือขอมจนสามารถอ่านได้คล่อง
หลังจากที่เรียนหนังสือท่านก็จะช่วยทางบ้านเลี้ยงวัว ท่านเป็นคนที่มีเมตตากับสัตว์ เวลาให้วัวไถนา ท่านจะคอยสังเกตดูดวงตะวันว่าใกล้เพลหรือยัง ถ้าถึงเวลาเพล ท่านจะไม่ให้วัวทำงานต่อเพราะเห็นว่าวัวเหนื่อยมากแล้ว ท่านก็จะพาไปอาบน้ำ ปล่อยให้เดินเล่นอิสระ
ต่อมา เมื่อท่านอายุ 14 ปี บิดาได้เสียชีวิตจากการทำงานค้าข้าว ท่านจึงต้องมารับช่วงคุมงานแทน วันนึงท่านนำเรือเปล่ากลับบ้านพร้อมกับเงินจำนวนมาก ระหว่างทางเรือต้องผ่านคลองบางอีแท่น ซึ่งเปลี่ยวและมีโจรชุกชุม
ตอนแรกท่านยืนถือปืนอยู่ท้ายเรือ ซึ่งเป็นจุดที่อันตรายที่โจรมักจะจู่โจม ท่านจึงให้ลูกจ้างมาถือปืนแทนตรงท้ายเรือ และตัวท่านไปหยิบปืนยาวไปถ่อเรือแทนลูกจ้างทางหัวเรือ ขณะที่เรือแล่น ท่านก็คิดว่า "คนพวกนี้ เราจ้างเขามาเพียง 11 - 12 บาท เท่านั้น ส่วนตัวเราเป็นทั้งเจ้าของทรัพย์และเจ้าของเรือ เมื่อมีภัยใกล้ตายกลับโยนไปให้ลูกจ้าง"
เมื่อคิดเช่นนี้ ท่านจึงตัดสินใจกลับมาที่ท้ายเรือตามเดิม ต่อมาท่านก็มาคิดว่า "การหาเงินเลี้ยงชีพนั้นลำบาก บิดาของเราก็หามาอย่างนี้ ต่างไม่มีเวลาว่างกันทั้งนั้น ถ้าใครไม่รีบหาให้มั่งมีก็เป็นคนชั้นต่ำ ไม่มีใครนับหน้าถือตา เข้าหมู่เพื่อนบ้านก็อับอายขายหน้าไม่เทียมหน้าเขา บุรพชนต้นสกุลก็ทำมาอย่างนี้เหมือนกันจนถึงบิดาเรา และตัวเราในบัดนี้ก็คงทำอยู่อย่างนี้เหมือนกัน ก็บัดนี้บุรพชนทั้งหลายได้ตายไปหมดแล้ว ตัวเราก็จักตายเหมือนกัน เราจะมัวแสวงหาทรัพย์อยู่ทำไม ตายแล้วเอาไปไม่ได้ บวชดีกว่า"
ท่านจึงได้ตั้งสัจจะอธิษฐานว่า "ขอเราอย่าได้ตายเสียก่อนเลย ขอให้ได้บวชเสียก่อน เมื่อบวชแล้วจะไม่ลาสิกขา ขอบวชไปจนตลอดชีวิต" นี่เป็นคำอธิษฐานเหมือนกับท่านได้บวชมาแล้วตั้งแต่อายุ 19 ปี เมื่อได้ตั้งใจแน่วแน่ ท่านจึงเร่งทำงานอย่างหนักเพื่อหาทรัพย์ไว้ให้มารดาได้เลี้ยงชีพ เมื่อไม่มีท่านแล้ว มารดาจะได้ไม่ลำบาก
แบ่งปันอาหารให้หมาจร
เมื่ออายุได้ 22 ปี ท่านได้อุปสมบท ณ วัดสองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี มีฉายาว่า จนฺทสโร ท่านจำพรรษาอยู่ที่นั่น 1 พรรษา แล้วย้ายมาที่วัดพระโพธิ์ กรุงเทพฯ เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรม ขณะนั้นท่านได้รับความลำบากในการบิณฑบาตมาก เพราะบางวันบิณฑบาตได้ไม่พอฉัน บางวันได้เพียงส้มผลเดียว บางวันไม่ได้เลย
ท่านก็ไม่ฉันของพระรูปอื่น ซึ่งได้อาหารเพียงเล็กน้อย ท่านคิดว่า "อย่างน้อยที่สุด ถ้าจะต้องตายเพราะไม่ได้ฉันอาหารก็จะเป็นเหตุให้พระทั้งเมืองมีฉัน เพราะว่าใครๆ จะเล่าลือกันไปทั่วจนทำให้ชาวบ้านสงสารพระภิกษุ”
วันนึงท่านออกไปบิณฑบาตอยู่จนสาย ได้ข้าวเพียงหนึ่งทัพพีและกล้วยน้ำว้าหนึ่งผล ท่านกลับมาถึงวัดด้วยความเหนื่อยอ่อนเพราะไม่ได้ฉันมา 2 วันแล้ว
เมื่อเริ่มลงมือฉันได้คำหนึ่ง ท่านก็เหลือบไปเห็นหมาตัวหนึ่งผอมโซ เพราะอดอาหารมาหลายวัน ท่านจึงปั้นข้าวที่เหลืออีกคำหนึ่งและแบ่งกล้วยน้ำว้าครึ่งผลให้แก่หมาตัวนั้น หมากินแต่ข้าว ไม่กินกล้วย
ท่านก็คิดว่า "ไม่รู้ว่าเจ้าไม่กิน" คิดจะเอากล้วยกลับมาแต่เห็นว่าไม่สมควร เพราะได้สละขาดไปแล้ว จะเอากลับมาฉันใหม่ในที่นั้นก็ไม่มีใครจะประเคนให้ เหตุการณ์นี้ทำให้ท่านตั้งจิตอธิษฐานว่า "ขึ้นชื่อว่าความอดอยากอย่างนี้ ขออย่าให้มีอีกเลย" หลังจากนั้นเป็นต้นมา ทุกครั้งที่ท่านไปบิณฑบาต ปรากฏว่าได้อาหารมามากมาย ท่านจึงได้แบ่งถวายพระภิกษุรูปอื่นด้วย
ท่านเริ่มเรียนบาลี และวิชาอื่นๆ โดยท่านได้ไปศึกษากับอาจารย์ตามวัดต่างๆ เมื่อฉันเช้าแล้วข้ามฟากไปเรียนที่วัดอรุณ กลับมาฉันเพลที่วัดโพธิ์ เพลแล้วไปเรียนต่อที่วัดมหาธาตุ ตอนเย็นไปเรียนที่วัดสุทัศน์ฯ บ้าง วัดสามปลื้มบ้าง กลางคืนไปเรียนที่วัดโพธิ์ แต่ไม่ได้ไปติดๆ กันทุกวัน มีเว้นบ้างสลับกันไป
ท่านเดินทางไปศึกษาในสำนักต่างๆ หลายปีต่อมาข้าหลวงในวังกรมหมื่นมหินทโรดมเลื่อมใสท่าน จึงช่วยจัดภัตตาหารมาถวายเพลทุกวัน ทำให้ท่านตั้งโรงเรียนขึ้นเองที่วัดโพธิ์
เร่งปฏิบัติธรรม
หลวงพ่อสดปฏิบัติธรรมทุกวัน ถ้าวันไหนมีเวลา ท่านมักจะไปศึกษาวิปัสสนาธุระจากพระอาจารย์ในสำนักต่างๆ อยู่เสมอ เช่น ท่านเจ้าคุณสังวรานุวงศ์เถร(เอี่ยม) วัดราชสิทธาราม, ท่านเจ้าคุณพระมงคลทิพมุนี (มุ้ย) วัดจักรวรรดิฯ, พระครูญาณวิรัติ (โป๊) วัดโพธิ์, พระอาจารย์ปลื้ม วัดเขาใหญ่ จ.กาญจนบุรี และ พระอาจารย์สิงห์ วัดละครทำ ธนบุรี
หลวงพ่อสดเคยปฏิบัติธรรมตามแบบพระอาจารย์สิงห์ จนได้ดวงสว่างขนาดประมาณเท่าฟองไข่แดงของไก่ติดอยู่ที่ศูนย์กลางกาย พระอาจารย์สิงห์จึงมอบหมายให้ท่านเป็นอาจารย์ช่วยสอนผู้อื่นต่อไป แต่ท่านไม่รับเพราะเห็นว่าตนเองยังมีความรู้น้อย
ในพรรษาที่ 11 ท่านได้ไปจำพรรษาที่ วัดโบสถ์บน ต.บางคูเวียง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 ท่านมีความคิดที่จะกระทำความเพียรอย่างหนัก "เราบวชมาจวนจะครบ 12 พรรษาแล้ว วิชชาของพระพุทธเจ้าเรายังไม่ได้บรรลุเลย ทั้งที่การศึกษาของเราก็ไม่เคยขาดเลยสักวัน ทั้งคันถธุระและวิปัสนาธุระ อย่าเลย ควรจะรีบกระทำความเพียรให้รู้เห็นของจริงในพระพุทธศาสนาเสียที"
ค้นพบวิชชาธรรมกาย
ในพรรษาที่ 11 วันนึงเมื่อกลับจากบิณฑบาต ท่านก็ไปนั่งสมาธิในอุโบสถ โดยตั้งใจว่าหากไม่ได้ยินเสียงกลองเพลจะไม่ยอมลุกจากที่ จากนั้นก็หลับตาภาวนา "สัมมา อะระหัง" เมื่อเวลาผ่านไปท่านก็เริ่มปวดเมื่อย จิตใจกระวนกระวาย แต่ท่านได้ตั้งสัจจะไว้แล้วจึงทนนั่งต่อไป ในที่สุดใจก็เริ่มสงบลง แล้วเห็นเป็นดวงแก้วใสบริสุทธิ์ ขนาดเท่าฟองไข่แดงของไก่ ติดอยู่ที่ศูนย์กลางกาย
เย็นวันนั้น ท่านได้กลับเข้าไปในอุโบสถอีกครั้ง เมื่อกราบพระประธานแล้วก็ได้ตั้งจิตอธิษฐานว่า "ขอให้พระองค์ทรงพระเมตตาโปรดประทานธรรมที่พระองค์ทรงตรัสรู้แล้วแก่ข้าพเจ้า แม้จะเป็นเพียงส่วนน้อยนิดก็ยินดี"
"ถ้าหากการบรรลุธรรมของข้าพเจ้าจะเกิดโทษแก่พระศาสนา ก็ขออย่าได้ทรงประทานเลย แต่ถ้าจะเป็นคุณแก่พระศาสนาแล้ว ขอได้โปรดประทานแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด ข้าพเจ้าจะขอรับเป็นทนายพระศาสนาต่อไปจนตลอดชีวิต"
ขณะที่ท่านหลับตา มีมดไต่ขึ้นมารบกวน ท่านจึงหยิบขวดน้ำมันก๊าดขึ้นมาเพื่อจะทากันมด แต่แล้วก็คิดได้ว่า "ชีวิตของเรา เราได้สละแล้วเพื่อการบำเพ็ญเพียร แต่เหตุไฉนจึงยังกลัวมดอยู่อีก" ท่านจึงวางขวดน้ำมันก๊าดลง แล้วทำสมาธิต่อไปจนถึงยามดึก
ตอนนั้นท่านได้เห็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ เมื่อได้รู้เห็นธรรมะแล้วท่านจึงได้เข้าใจว่า "พระธรรมนี้เป็นของลึกซึ้งยิ่งนัก ยากที่มนุษย์จะเข้าถึง การจะเข้าให้ถึงได้ต้องรู้ตรึก รู้นึก รู้คิด ต้องหยุดเป็นจุดเดียวกัน เมื่อหยุดแล้วจึงดับ เมื่อดับแล้วจึงเกิด ถ้าไม่ดับก็ไม่เกิดนี่เป็นของจริง ของจริงต้องอยู่ตรงนี้ ถ้าไม่ถูกส่วนนี้เป็นไม่เห็นเด็ดขาด"
เมื่อมองเข้าไป ท่านก็เห็นดวงใหม่ผุดซ้อนขึ้นมาแทนที่ดวงเก่า แต่ใสสว่างมากยิ่งขึ้น จนในที่สุดก็เห็นกายต่างๆ ตามลำดับจนกระทั่งถึง "ธรรมกาย"
เผยแพร่วิชชาธรรมกาย
เมื่อเข้าถึงพระธรรมกายแล้ว ท่านจึงได้ลาเจ้าอาวาส วัดโบสถ์บน ไปพักที่ วัดบางปลา ซึ่งท่านเห็นในสมาธิว่าจะมีผู้บรรลุธรรมกายตามอย่างท่านได้
ท่านจึงได้สอนภาวนาที่วัดบางปลา จนมีพระภิกษุบรรลุธรรมกาย 3 รูป และบุคคลธรรมดา อีก 4 คน หนึ่งในนั้น คือ พระสังวาลย์ ท่านจึงได้พาพระสังวาลย์ซึ่งเข้าถึงธรรมกายไปสอนธรรมที่ วัดบรมนิวาส จนมีผู้เข้าถึงธรรมกายด้วยเช่นกัน
จากนั้นท่านก็ได้เดินทางกลับมายังวัดโพธิ์ แต่ต่อมาพระอาจารย์ของหลวงพ่อสด (ท่านเจ้าคุณพระธรรมปิฏก) วัดโพธิ์ ได้ขอให้ท่านไปจำพรรษาที่วัดปากน้ำภาษีเจริญ ซึ่งในขณะนั้นไม่มีเจ้าอาวาส ท่านจำต้องรับเพราะไม่อยากขัดใจ
หลวงพ่อสด พร้อมกับพระติดตามอีก 4 รูป จึงได้ย้ายมาจำพรรษาที่วัดปากน้ำ ในตอนนั้นเองท่านต้องเผชิญกับการต่อต้าน การใส่ร้ายป้ายสี เพราะมีพระสงฆ์และชาวบ้านบางกลุ่มเสียผลประโยชน์ที่ท่านมาปกครองวัด
วันนึงขณะที่หลวงพ่อปู่เดินออกมาจากศาลา คนร้ายได้ใช้อาวุธปืนยิงท่าน ถูกจีวรทะลุ 2 รู แต่หลวงปู่ไม่เป็นอะไร ท่านมีคติว่า "พระเราต้องไม่สู้ ต้องไม่หนี ชนะทุกที่" สมณศักดิ์สูงสุดที่ท่านได้รับในปี พ.ศ.2500 คือ "พระมงคลเทพมุนี" แต่ผู้คนทั่วไปรู้จักท่านในนาม "หลวงพ่อวัดปากน้ำ"
การถวายภัตตาหาร
หลวงปู่สด ได้เคยกล่าวว่า "การถวายภัตตาหารแก่พระภิกษุว่า จะได้บุญใหญ่ ก็ให้ถวายในหมู่สงฆ์ ไม่ควรเจาะจงพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ให้ทำใจให้เป็นกลาง"
หลวงปู่ท่านเน้นว่าเป็นทายกต้องฉลาด โง่ไม่ได้ เพราะถ้าถวายเจาะจงเสียแล้วผลบุญก็ลดน้อยลงไปคนฉลาดต้องถวายให้เป็นกลาง จะได้ผลบุญใหญ่ที่เรียกว่า "สังฆทาน" อย่างนี้ได้ชื่อว่าบริจาคถูกทางสงฆ์ ถูกเป้าหมายของบุญ
มรณภาพ
ก่อนที่หลวงปู่สดจะมรณภาพประมาณ 5 ปี ท่านได้เรียกประชุมศิษย์ทั้งหมด เพื่อแจ้งให้ทุกคนทราบว่าท่านจะมรณภาพในอีก 5 ปีข้างหน้า กิจการใดที่ท่านได้ดำเนินไว้แล้ว ขอให้ช่วยกันทำต่อไป
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "เรื่องการเผยแผ่วิชชาธรรมกาย" ท่านเห็นเป็นเรื่องสำคัญที่สุด ท่านบอกว่า "ต่อไปวัดปากน้ำจะเจริญรุ่งเรืองใหญ่โต" มีลูกศิษย์หลายคนได้อาราธนาขอไม่ให้ท่านมรณภาพ ท่านตอบว่าไม่ได้
เมื่อท่านอาพาธหนักได้เรียกศิษย์ให้ดำเนินการสอนเผยแผ่วิชชาธรรมกายต่อไป และสั่งว่า เมื่อท่านมรณภาพแล้ว ให้เก็บสรีระของท่านไว้ไม่ให้เผา หลวงปู่สดมรณภาพ ที่วัดปากน้ำภาษีเจริญ เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502