the statue of LP Boonme
dragon dance performance
the ordination hall
Buddha statue is called LP Toh
the principal Buddha statue in the ordination hall
mural paintings in the ordination hall
Wat Angkaew
Update : April 24, 2023
It's located very close to Wat Konon in Phasi Charoen district. What makes this temple well-known is Luang Pho Boonme, who was another famous monk in Thonburi area.
Thonburi is an area on the western bank of the Chao Phraya River, that was once a separate province from Bangkok. This temple was constructed in 1876, after 7 years of King Rama 5's succession to the throne.
Who initiated the construction of the temple was LP Rod of Wat Konon. When people heard that LP Rod wanted to build the temple, they donated money and many traditional Thai houses to the temple. After the construction was finished, LP Rod had his disciple (Phra Athikarn Bew) take care of the temple.
What captures my attention is mural paintings in the ordination hall, that were painted with powder colour. The mural paintings depict the Lord Buddha's life and Jataka tales (the 10 previous lives of the Lord Buddha).
An interesting scene from the Lord Buddha's life is a crab pinching a big centipede. This scene is related to the legend of Shwedagon pagoda in Burma, that is hard to be found in the ordination hall of Thai temples.
There is a Buddha statue in the glass cabinet, between the two front doors of the ordination hall. The Buddha statue was built in the mid-twentieth century, called "Luang Pho Toh". LP Toh often fulfills people's wishes, and I'm one of those people.
If you want to visit this temple, there is nothing to see, except the pavilion enshrining the former abbots' statues. As for the ordination hall, it's open to the public on special occasions such as temple annual festival.
The festival takes place on April every year. This year, the fastival took place on 7-9 April, 2023. During the festival, it featured lion & dragon dance performances within the temple.
And the statue of LP Boonme together with lion dance groups paraded through the streets in the morning, and returned to the temple in the late afternoon.
Luang Pu Boonme's Biography
LP Boonme was the 4th abbot of the temple, and a disciple of LP Iam of Wat Konon. He was born on Dec. 6, 1889 and ordained as a monk at Wat Angkaew. He was very famous in Thonburi area, always invited to attend the amulet blessing ceremonies in many provinces in Thailand.
As I mentioned earlier, he was the disciple of LP Iam, so he was second to none amulet blessing. During his time, he created many amulets and talismans. The first batch of amulets was made in1959.
The grand blessing ceremony at Wat Angkaew took place 2 times, in 1973 and 1974. There were many famous monks attending the ceremonies. And some of those monks were Luang Pu Toh of Wat Pradu Chimplee and Luang Pho Phae of Wat Pikunthong.
Most people might not know that LP Toh and LP Boonme were close friends and often saw each other, althoug LP Toh was more famous than LP Boonme.
วัดอ่างแก้ว
วัดนี้อยู่ใกล้ๆ กับ วัดโคนอน ตั้งอยู่เขตภาษีเจริญ ฝั่งธนบุรี สิ่งที่ทำให้วัดนี้มีชื่อเสียงคือ หลวงพ่อบุญมี ท่านถือเป็นอีกหนึ่งเกจิดังในแถบฝั่งธนบุรี ที่ไม่มีใครในย่านนี้ไม่รู้จัก
วัดนี้สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2419 หลังจากที่ ร.5 ขึ้นครองราชย์ 7 ปี ผู้ที่สร้างวัดนี้ คือ หลวงปู่รอดแห่งวัดโคนอน เมื่อครั้งที่ท่านยังจำพรรษาอยู่วัดโคนอน ท่านได้บอกบุญกับญาติโยมเพื่อซื้อที่ดินริมคลองภาษีเจริญ ในตอนนั้นมีคนนำเรือนไม้สักมามอบให้เป็นที่จำพรรษาของพระสงฆ์จำนวนมาก
เมื่อวัดสร้างเสร็จ หลวงปู่รอดได้ให้ลูกศิษย์ของท่าน คือ พระอธิการเบี้ยว อินฺทสุวณฺโณ ไปเป็นเจ้าอาวาสดูแลวัด ส่วนชื่อวัดอ่างแก้วนั้น มาจากที่ดินทางฝั่งอุโบสถที่มีลักษณะเป็นอ่าง และมีน้ำใสๆ ขังอยู่ ก็เลยนำมาตั้งเป็นชื่อวัด
สำหรับสิ่งที่น่าสนใจของวัดนี้ คือ จิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถ (ภาพจิตรกรรมสีฝุ่น) เป็นภาพพุทธประวัติและทศชาติชาดก ซึ่งมีเรื่องราวพุทธประวัติตอนหนึ่ง เป็นภาพปูหนีบตะขาบยักษ์ อันเป็นตำนานของพระเกศธาตุเจดีย์เขาสิงคุตตระ (เจดีย์ชะเวดากอง) ซึ่งหาชมได้ยากนักในปัจจุบันนี้
ด้านหน้าประตูทางเข้าอุโบสถ จะมีพระพุทธรูปปูนปั้นลงรักปิดทอง สร้างตอนต้นพุทธศตวรรษที่ 25 นามว่า "หลวงพ่อโต" เป็นพระที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือ และจะมีคนมาแก้บนตลอด ผู้เขียนเองก็เจอปาฏิหาริย์มาแล้วเหมือนกัน
ขณะนี้ทางวัดวางแผนจะ ทุบห้องน้ำเก่าทิ้งและสร้างใหม่ เนื่องจากอยู่ในสภาพที่ทรุดโทรม บางห้องต้องปิดตายไว้เลย ใครที่อยากร่วมบุญ ก็โอนเงินไป ธนาคาร CIME / ชื่อบัญชี พระครูพินิจสุนทรกิจ / เลขที่บัญชี 70-1191961-9
ถ้าท่านใดต้องการร่วมบุญ เพื่อขอรับวัตถุมงคลจากทางวัด ให้ติดต่อไปที่พระมหากวีวัฒน์ อาภากโร ตามเบอร์นี้ 094-994-1929 เพื่อประสานงานกับเจ้าอาวาส ผู้บริจาคเงิน 1,500 บาท จะได้เหรียญรูปเสมา พ.ศ.2516, ส่วนผู้ที่บริจาค 250 บาท จะได้สมเด็จนางพญา
สำหรับงานประจำปีของวัด จะจัดขึ้นในเดือนเมษายนของทุกปี ซึ่งในปีนี้ตรงกับวันที่ 7-9 เมษายน พ.ศ.2566 ภายในบริเวณวัดมีการก่อเจดีย์ทราย ตักบาตร โชว์สิงโต ภาพยนต์ โดยในวันที่ 9 เม.ย. ได้มีการแห่รูปหล่อหลวงพ่อบุญมี และขบวนสิงโต ไปรอบฝั่งธนบุรี เพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสสรงน้ำ ขอพรท่าน
ประวัติหลวงปู่บุญมี
พระครูพรหมโชติวัฒน์ (บุญมี พฺรหฺมโชติโก) ท่านเป็นเจ้าอาวาสรูปที่ 4 ของวัด และเป็นลูกศิษย์หลวงปู่เอี่ยม สุวณฺณสโร (เจ้าอาวาสวัดโคนอน และวัดหนังบางขุนเทียน)
ท่านเกิดวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ.2432 เมื่ออายุครบ 20 ปีได้อุปสมบท ณ วัดอ่างแก้ว ท่านเป็น พระเกจิที่ดังมากในย่านฝั่งธน ท่านมักจะได้รับอาธนาให้ไปปลุกเสกวัตถุมงคลอยู่เสมอๆ อย่างที่ทราบกันอยู่แล้วว่าท่านเป็นลูกศิษย์หลวงปู่เอี่ยม ดังนั้นด้านการปลุกเสกของขลังท่านก็ไม่เป็นสองรองใครเช่นกัน
ในช่วงที่ท่านยังปกครองวัดอยู่ ท่านได้สร้างวัตถุมงคลมากมาย เพื่อนำเงินมาบูรณะวัด โดยเหรียญรุ่นแรกที่ท่านสร้างและปลุกเสกเอง คือ เหรียญชินราชเสมาเล็ก สร้างในปี พ.ศ.2502
ส่วนพิธีมหาพุทธาภิเษกที่จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ที่วัดอ่างแก้ว และมีพระเกจิดังมาร่วมพิธีมากมาย มีอยู่ 2 ครั้ง ครั้งแรก ในปี พ.ศ.2516 สร้างเหรียญรูปหลวงพ่อเต็มองค์ ราชเสมาใหญ่ และวัตถุมงคลหลายอย่าง, ส่วนครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ.2517 สร้างเหรียญรูปหลวงพ่อเต็มองค์ เสมาใหญ่
หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี และหลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง ก็มาร่วมพิธีทั้ง 2 ครั้ง ส่วนเหรียญรุ่นสุดท้ายของหลวงพ่อ สร้างในปี พ.ศ.2523 ท่านมรณภาพ วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ.2524 สิริอายุ 92 ปี 72 พรรษา
ถึงแม้ว่าท่านจะไม่ดังเท่ากับหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี แต่หลายคนอาจไม่ทราบว่า หลวงพ่อโต๊ะกับหลวงพ่อบุญมีเป็นสหธรรมิกกัน และไปมาหาสู่กันบ่อย
หลวงพ่อบุญมีเป็นพระที่มีวาจาสิทธิ์ เล่ากันว่าสาเหตุที่วัตถุมงคลของท่านไม่ดัง เนื่องจากว่าท่านเคยพูดไว้ว่า "ไม่อยากให้วัตถุมงคลของท่านมีชื่อเสียง เพื่อให้ลูกหลานของท่าน ซึ่งเป็นคนธรรมดาสามารถครอบครองได้"
นอกจากนี้ยังมีอีกเรื่อง เกิดขึ้นในปี พ.ศ.2517 ซึ่งทางวัดกำลังบูรณะอุโบสถ แต่บนหลังคาจั่วของอุโบสถมีตัวต่อมาทำรังอยู่รังใหญ่มาก ลูกศิษย์ของท่านจึงได้ติดต่อหน่วยบรรเทาสาธารณภัยให้มาจัดการทำลายเสีย
เมื่อหลวงพ่อทราบเข้า จึงบอกกับลูกศิษย์ว่าอย่าให้เขามาทำลายเลย หน่วยบรรเทาสาธารณภัยจึงกลับไป ต่อมาไม่นานตัวต่อก็ย้ายรังไปอยู่ที่ต้นไม้ต้นนึงข้างวัด
หลังจากที่ท่านมรณภาพ ท่านก็ได้ให้ลูกศิษย์ของท่าน คือ พระครูเขมาภิรม (หลวงพ่อเกษม สิริวฑฺฒโน) เป็นเจ้าอาวาสรูปที่ 5 ต่อจากท่าน ซึ่งหลวงพ่อเกษม ได้มรณภาพไปเมื่อวันที่ 6 เมษาน พ.ศ.2555 สิริอายุ 87 ปี 67 พรรษา