Naga statues stand at the entrance of Tham Rakang cave
It is cool inside Tham Rakang cave
3 replicas of the statue of the Emerald Buddha
The limestone resembles an elephant's head
Young novices had to bow their heads while walking through a low cave ceiling
After walking through the low ceiling, you will find a holy water pond
A monk statue sits near Tham Tako cave
5 Buddha statues are enshrined in Tham Tako cave
I followed a young novice up the steps to the top of the hill
It's one of my favorite spots
Buddha statues on the hillside seem to radiate in the sunshine
The golden stupa is located on the top of the hill
Wat Tham Tako
Update : November 9, 2022
This temple is far from Wat Bandai Samsean just 1 km. In those days, Luang Pho Phao, a well-known guru monk, travelled to many provinces in Thailand until he reached a place where we call Wat Tham Tako today. And at that time, he thought that it was an ideal place for meditation, so he spent time alone in Tham Tako cave. Later, he had the temple built as villagers' request.
Today (2022), this temple isn't only a place for monks, but for over 100 underprivileged children as well. Therefore, if you want to donate food, second-hand clothes or accessories for them, you come here.
Interesting caves to explore such as Tham Rakang cave and Tham Tako cave. For elderly people and children who can't walk on the hillside, I recommend Tham Rakang cave to you. For those who love adventure, you choose Tham Tako cave where you will absolutely enjoy. It's worth climbing to the top of the hill, even though the steps are quite steep.
Interesting objects in Tham Rakang cave are as follows: 1.Luang Pho Phao's relics are kept in a glass casket in front of a replica of the Emerald Buddha 2.The limestone resembles an elephant's head, we believe it's Erawan elephant, that is a vehicle of Indra god. Look at the photo above, a monk gently touched its cheek. 3.Natural spring water in the pond is considered as "the holy water". And as I remember, the water in the pond has never dried up even in the hot season.
Do you want to explore the holy water pond? if so, you have to walk through a low cave ceiling. As the photo above, two young novices bowed their heads and bent their backs. As for me, I had to bend my body in a C-shape.
After exploring Tham Rakang cave, I continue walking to Tham Tako cave. At the entrance of Tham Tako cave, you will see an old gate with an inscription on a lintel. The inscription says "Pratu Mueang Sangkatsa Nakorn" that means "The gate to Sangkatsa Nakorn Town". (Pratu means a door and Mueang means a city)
You walk up through the old gate, you will see a seated monk statue on the right. Next to the monk statue is Tham Tako cave, a very small cave. It's located behind a deserted building, leaving only the columns and broken concrete steps. Inside the cave, you will find 5 seated Buddha statues.
After that, you continue walking along the hillside until you reach the top of the hill, where you will see a golden stupa on a white concrete boat. To me, it's a perfect spot to stop and check out a great scenery.
Monk Biography
Luang Pho Phao Phuttasaro was born in 1872, coinciding with the year of the Monkey, in Nakhon Sawan Province. He was praised by Luang Pu Mun Phurithatto as one of the true monks in Thailand.
He was strong-minded and also brave. When he was alive, he strictly followed the Buddhist monk's discipline at all times. There were not any monks who dared to break the discipline, although there were lots of monks coming here to practice Dharma every year.
When he was 6 years old, his father sent him to Wat Intaram in Nakhon Sawan to receive education. After 5 years of living at Wat Intaram, he was ordained as a novice and lived there until the age of 20. During that time, he had many chances to follow his master to many places in order to practice Dharma.
When he reached the age of 20, he was ordained as a monk at Wat Khaokaew, Nakhon Sawan. Later, in 1902 LP Phao together with five monks went on a pilgrimage to Burma.
When he came back from Burma, he decided to stay at Wat Chanasongkram in Tak province during Buddhist Lent (The rainy season). After the end of the rainy season, he walked to Uttaradit province to pay homage to Phra Thaen Sila At. It's a rectangular raised platform, made as a throne for the Buddha. We believe the Buddha once sat on this throne.
At that time, LP Phao met a monk on pilgrimage and had too much faith in him, so LP Phao asked him to be his master. Moreover, LP Phao asked for permission to follow him to everywhere, but that monk didn't allow him to do that.
That monk gave him a reason that "LP Phao didn't have a water filter, even though he would use his robe to filter water every time before drinking."
LP Phao thought about What that monk said, and finally truly understood it. It means "Practicing Samatha and Vipassana meditation needs to keep the precepts pure. If not, the meditation practice isn't as advanced as it should be, like a tree without heartwood."
After thinking carefully, he left almost everything except an alms bowl and a set of monk's robes, and then continued travelling. During his journey, he found a cave that is full of topiary trees.
Later, this cave and surrounding areas are developed into a temple, which is known today as Wat Tham Tako. Tham means cave, while tako means topiary tree.
In 1925, he made a pilgrimage again and found a peaceful place in Lopburi province, called Khao Wongkot. Hence, he had the temple built. It's surrounded by mountains from 3 sides and called Wat Khao Wongkot.
LP Phao passed away on Feb. 28 ,1931, at the age of 60, in the position of meditation.
Holy object
It was said that he could turn a soild mercury into liquid by looking at it for a while. When he made an amulet, he would put a small piece of solid mercury in his hand, looked at it until it was completely melted, and then poured into an amulet mold.
He made only two types of amulet. The 1st one is the coin with his image, made around 1925 at Wat Tham Tako. The 2nd one was made as a temple commemorative coin in 1927 at Wat Khao Wongkot - the front side of the coin features the image of Phra Phuttha Sopha, while the other side is Buddhist wheel.
วัดถ้ำตะโก
วัดนี้อยู่ห่างจาก วัดบันไดสามแสน แค่ 1 กม. ในอดีตมีพระเกจิชื่อดัง คือ หลวงพ่อเภา พุทธสโร เดินทางมาพบสถานที่แห่งนี้ แล้วพบว่ามีความสงบ ร่มรื่น จึงได้ใช้เป็นที่ทำสมาธิ ต่อมาชาวบ้านทราบว่ามีพระธุดงค์มาที่นี่ จึงได้ขอร้องให้หลวงพ่อเภา ช่วยสร้างวัดขึ้น
ที่นี่ไม่ได้เป็นแค่วัด แต่ยังเป็นสถานสงเคราะห์เด็กด้อยโอกาสอีกด้วย ปัจจุบันนี้ (พ.ศ.2565) มีเด็กกำพร้าที่ทางวัดดูแล ประมาณ 100 กว่าชีวิต สำหรับท่านใดที่อยากมาเลี้ยงขนมเด็กๆ หรือนำข้าวสาร เสื้อผ้า มาบริจาค ก็นำมาได้เลยนะคะ
สิ่งที่น่าสนใจในวัดนี้ ก็คือ ถ้ำระฆัง และ ถ้ำตะโก สำหรับผู้สูงวัยที่ขึ้นบันไดสูงไม่ไหว เราแนะนำให้ ไปถ้ำระฆัง เพราะทางขึ้น-ลง บันได ไม่ชัน ภายในถ้ำอากาศเย็นสบาย ส่วนถ้ำตะโก จะเป็นการขึ้นบันไดตามไหล่เขา ซึ่งค่อนข้างชัน ถ้าขึ้นไปถึงด้านบนสุดที่มีเจดีย์ เราจะเห็นทัศนียภาพโดยรอบ สวยงามมากคะ
ด้านหน้าถ้ำระฆัง จะมีทางแยก 2 ทาง ให้เดินไปทางซ้ายนะคะ ส่วนทางขวา (ที่อยู่ใกล้ท้าวเวสสุวรรณ) เป็นทางเข้าไปยังหมู่บ้าน อย่าเผลอเดินไปละ เดี๋ยวกลับไม่ถูก
สิ่งที่น่าสนใจในถ้ำระฆัง
1. อัฐิธาตุของหลวงพ่อเภา อยู่ในผอบ ซึ่งตั้งอยู่ด้านหน้าพระแก้วมรกต
2.หินที่มีลักษณะเหมือนใบหน้าช้าง เราจะเห็นดวงตาและปากช้าง หลวงพ่อเล่าว่า นั่นคือช้างเผือก เป็นช้างเอราวัณ (ดูรูปนะคะ หลวงพ่อได้วางมือไว้ที่โหนกแก้มของช้าง)
3.บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นน้ำที่ผุดขึ้นมาเอง น้ำไม่เคยแห้งเลย และที่แปลกคือ น้ำนั้นอยู่เหนือระดับพื้นถ้ำ เคยมีชาวบ้านมาอธิษฐานขอนำน้ำไปดื่มเพื่อรักษาโรค แล้วหายป่วยด้วย แต่การจะเข้าไปดูบ่อน้ำนั้น เพื่อนๆ ต้องฝึกวิชาสายย่อ ก้มตัวเยอะๆ เพราะเพดานถ้ำต่ำมาก (ดูรูปสามเณรน้อยละกัน ย่อกันสุดๆ)
4.รูปปั้นฤาษี ญาณเวท พระพุทธรูป ฯลฯ
สิ่งที่น่าสนใจในถ้ำตะโก
1.ทางขึ้นมีอักษรเขียนว่า "ประตูเมืองสังกัสสนคร" เมื่อขึ้นไปได้นิดนึงให้มองด้านขวามือ เราจะเห็นรูปปั้นพระภิกษุขนาดใหญ่ อยู่ในท่านั่งสมาธิ เดินถัดจากรูปปั้นพระมาทางอาคารร้างที่เหลือแต่เสา จะพบ "ถ้ำตะโก เถราจารย์สถาน" ภายในถ้ำ มีพระพุทธรูป 5 องค์
2.เอาล่ะขึ้นบันไดไปต่อกัน เราจะพบเจดีย์สีทอง อุโบสถเก่า อาคารร้าง ชมธรรมชาติไปเรื่อยๆ (อาคารเหล่านี้ถูกปิดเอาไว้หมด) เดินจนถึง "เจดีย์ทรงเรือมรรคสัจจ์" เป็นเจดีย์ที่ตั้งอยู่บนเรือสำเภาบนยอดเขา จุดนี้เองเราจะเห็นสิ่งก่อสร้างในวัดทั้งหมด ทุ่งนาโดยรอบ คุ้มค่ากับที่ปีนขึ้นมาเลย
ส่วนคนที่กลัวลิง ไม่ต้องกังวลนะคะ เพราะทางวัดให้อาหารลิงจนอิ่ม ส่งผลให้ลิงอ้วนทุกตัว ดังนั้นลิงเขาจะไม่มายุ่งกับเรา อ้อ ลืมบอกค่ะ เมื่อขับรถผ่านประตูวัดจะเห็นลิงหลายตัว ให้ขับตรงมาเรื่อยๆ จะเห็น "พระนาคปรกขนาดใหญ่" ทางด้านขวามือ ให้จอดรถตรงนั้นได้เลยคะ
ถ้าเพื่อนๆ ไม่อยากพลาดสิ่งที่น่าสนใจในวัด ก็ไปตามทางที่เราบอกนะ เพราะวันนี้เราได้สามเณรน้อยเป็นไกด์พาเราทัวร์
ประวัติหลวงพ่อเภา
หลวงพ่อเภา พุทธสโร พระเกจิดังผู้ที่ได้รับคำชมจากหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ว่า "เป็นพระแท้องค์หนึ่งในประเทศไทย" ท่านเกิดวันอังคาร เดือน 6 ปีวอก พ.ศ.2415 ที่บ้านใต้วัดอินทาราม อ.พยุหคีรี จ.นครสวรรค์
เมื่ออายุท่านได้ 6 ปี บิดาได้นำท่านไปฝากกับพระอธิการคง ที่วัดอินทาราม จ.นครสวรรค์ เพื่อให้ได้รับการศึกษา จนกระทั่งท่านอายุได้ 11 ปี ก็ได้บวชเป็นสามเณร และได้อยู่จำพรรษาที่วัดอินทาราม ซึ่งในระหว่างนั้นท่านได้มีโอกาสออกธุดงค์กับพระอาจารย์อยู่บ่อยครั้ง
ต่อมาเมื่ออายุครบ 20 ปี ซึ่งตรงกับปี 2535 ท่านได้อุปสมบท ณ วัดเขาแก้ว อ.พยุหคีรี จ.นครสวรรค์ ต่อมาในปี พ.ศ.2445 ท่านได้ออกธุดงค์ โดยมีพระสงฆ์อีก 5 รูป ร่วมเดินทางไปด้วย โดยท่านได้เดินไปถึงประเทศพม่า และไปกราบนมัสการพระบรมธาตุ ณ เขาสิงคูดร เมืองย่างกุ้ง
เมื่อกลับจากพม่า ท่านได้แวะจำพรรษาที่ วัดชนะสงคราม จ.ตาก เมื่อออกพรรษาแล้ว ท่านได้เดินทางไปนมัสการ พระแท่นศิลาอาสน์ จ.อุตรดิตถ์ ในตอนนั้นท่านได้พบกับพระธุดงค์รูปนึง ท่านเกิดความเลื่อมใสศรัทธาในพระรูปนั้นมาก จึงขอฝากตัวเป็นศิษย์ และขอตามธุดงค์ด้วย แต่พระรูปนั้นไม่ยอมให้ท่านเดินทางไปด้วย ด้วยเหตุผลที่ว่า "หลวงพ่อเภาไม่มีที่กรองน้ำเวลาฉัน แม้ท่านจะใช้จีวรกรองน้ำทุกครั้งที่ฉันก็ตาม"
ท่านจึงได้นำคำพูดของพระรูปนั้นมาพิจารณา และก็ทราบว่านั่นคือ อุบายธรรม ทำให้ท่านคิดได้ว่า "อันการที่จะเจริญสมถะและวิปัสสนากรรมฐานนั้น จำต้องอบรมศีลของตนให้บริสุทธิ์เสียก่อน ถ้าศีลยังบกพร่อง แม้จะเจริญวิปัสสนาก็ไม่มั่นคงถาวร ดุจไม้ที่ไร้แก่นฉันนั้น"
เมื่อท่านคิดได้ดังนั้น ท่านก็สละทุกสิ่งอย่าง เหลือเพียง ผ้า 3ผืน บาตร 1ใบ และมุ่งออกค้นคว้าหาสัจธรรมต่อไปอย่างไม่ลดละ ในการเดินทางครั้งนี้ท่านได้มาพบ กับถ้ำตะโก จ.ลพบุรี ซึ่งมีต้นตะโกขึ้นอยู่มากมาย นอกจากนี้ยังพบร่องรอยอิฐเก่า ทำให้ทราบว่าบริเวณนี้เคยเป็นวัดมาก่อน ซึ่งภายในถ้ำมีพระพุทรูปพุทธรรมจักร แต่ภายหลังได้ถูกขโมยหายไป ต่อมาท่านจึงได้ก่อสร้างสำนักขึ้นที่นี่ โดยมีพระภิกษุ และญาติโยมมาปฏิบัติธรรมอย่างต่อเนื่อง
หลวงปู่เกตุ จันทสุวัณโณ วัดศรีเมือง อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย ได้กล่าวยกย่องหลวงพ่อเภาว่า "หลวงพ่อเภา ท่านมีจิตใจเด็ดเดี่ยวกล้าหาญมาก และท่านเคร่งครัดในทางพระธรรมวินัย แม้พระธุดงคกรรมฐานปีหนึ่ง ๆ มากันเป็นจํานวนมากก็จริง แต่ข้อวัตรที่ท่านวางไว้นั้น มีความศักดิ์สิทธิ์นัก ไม่เคยมีพระเณรองค์ใดละเมิดได้เลย"
นอกจากนี้ ท่านยังเป็นผู้ที่มีจิตใจกล้าหาญ สามารถเดินฝ่าดงเสือได้แบบไม่กลัว หลวงพ่อเภาได้กล่าวว่า "ตายในธรรมะ มีคุณวิเศษกว่าตายในกองกิเลส"
ต่อมาในปี พ.ศ.2468 ท่านได้ธุดงค์มาพบ "เขาวงกฏ" ซึ่งเป็นสถานที่เงียบสงบเหมาะแก่การบำเพ็ญเพียร ท่านจึงได้สร้างวัดขึ้นที่นั่น ให้ชื่อว่า วัดเขาวงกฏ ตั้งอยู่ ต.สนามแจง อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี
ภายหลัง พระองค์เจ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ ได้เสด็จมายังอําเภอบ้านหมี่ และได้พบหลวงพ่อเภา จึงเกิดความเลื่อมใสและได้ถวายเงิน 1,000 บาท แก่ท่านเพื่อสร้างวัด ท่านจึงนำเงินนี้ไปสร้างกุฎิหลังนึง และให้ชื่อว่า "ตึกบริพัตร" ซึ่งท่านก็ได้อยู่จำพรรษาที่นั่นจนกระทั่งท่านมรณภาพ โดยท่านมรณภาพในท่านั่งสมาธิ ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2474 สิริอายุ 60 ปี พรรษา 40
วัตถุมงคล
ถ้าพูดถึงวัตถุมงคลของท่าน ถือว่าขลังสุดยอด ในอดีตเล่ากันว่า ท่านสามารถเพ่งปรอทที่แข็งให้กลายเป็นของเหลวได้ในชั่วพริบตา เวลาท่านจะทำพระแจก ท่านจะหยิบก้อนตะกั่วดิบมาวางบนฝ่ามือ แล้วเพ่งให้ตะกั่วนั้นเหลวคามือ จากนั้นก็เทลงแม่พิมพ์ แค่ชั่วอึดใจก็ได้องค์พระและส่งมอบให้กับญาติโยมได้เลย
ส่วนลูกอมของท่าน ก็มีวิธีการทำที่แปลกมาก โดยท่านจะนำก้อนดินสอพองมาบี้ให้ละเอียดบนฝ่ามือ แล้วก็ปั้นดินสอพองที่ป่นๆ ให้แข็งเป็นก้อนขึ้นมาได้ในชั่วพริบตา
วัตถุมงคลที่ท่านสร้าง มีแค่เหรียญ 2 รุ่น โดยรุ่นแรกเป็นเหรียญหลวงพ่อเภา สร้างราวปี พ.ศ.2468 ณ วัดถ้ำตะโก เป็นเนื้อทองแดง ด้านหน้าเป็นรูปเหมือนนั่งเต็มองค์ ด้านหลังเป็นอกเลา และอักขระ
ส่วนเหรียญรุ่นที่สอง สร้างในปี พ.ศ.2470 ณ วัดเขาวงกฏ เป็นเหรียญรูปเสมา เนื้อเงินและทองแดงกะไหล่ทอง ซึ่งลูกศิษย์ได้ขออนุญาติท่าน สร้างเหรียญที่ระลึกในสร้างพระไตรปิฎก เป็นเหรียญรูปพระพุทธโสภา และอีกด้านเป็นรูปพระพุทธธรรมจักร มีพุทธคุณด้านเมตตามหานิยม