many holes in the cave let the air flow smoothly
Buddha statue is enshrined near the cave's mouth
walk deeper in the cave
admire the beauty of nature while driving
Walk up the steps to the ordination hall
Buddha statues on the hillside
Luang Pho Samuyean, The former abbot
let the wind touch your face and see beautiful scenery
Wat Tham Changphuak
Update : November 13, 2022
It's one of the four temples, located on Khao Samo Kon hill. The four temples are Wat Bandai Samsaem, Wat Tham Tako, Wat Tham Changphuak and Wat Khao Samo kon. Each temple has lots of monkeys, except for this temple. In my opinion, only one temple you should be very careful of the monkeys is Wat Bandai Samsaem.
Within this temple, you will see a medium sized cave, that is called "Tham Changphuak cave". The word "Tham" means cave and "Changphuak means white elephant".
Its name came from a legend, saying that there is a white elephant living in a cave. The elephant sometimes walks out of the cave. The only ones who have enough accumulated merit would be able to see it. This legend reminds me of my experience in Tham Tako cave, I found an elephant-head shaped limestone in that cave.
I still remember, I reached Wat Tham Changphuak in the afternoon, on 13 feb 2022. On that day, the weather was quite hot outside but it was much cooler inside the cave, that made me feel fresh and relaxed. I spent around 10-15 minutes exploring the cave.
I saw few Buddha statues near the cave's mouth and then started to walk deeper in the cave. I didn't find anything, except for frying foxes hanging from the ceiling. It's ok to walk deeper, but you should turn on the flashlight on your phone because it's quite dark and has little natural light.
In the past, you could walk up the stairs in the cave to the top. But unluckily, the stairs were pulled down after burglars stole Buddha statues from the cave.
After walking out of the cave, I walked up the steps (out of the cave) to the ordination hall and strolled along the balcony. I overlooked rice green fields and felt the wind gently touch my body. After a while, I walked down slowly and saw a Bodhi tree on the left, that Luang Pho Samuyean (the former abbot) brought from India in 1938.
Well, if you still have the energy to walk up the steps, you go to see the standing Buddha statue on the large platform as the photo above. Before you head back, don't forget to pay your respects to the statue of Luang Pho Samuyean in the vihara next to the ordination hall.
Monk Biography
Luang Pho Samuyuen was born on November 27, 1894 in Takua Pa district, Phang Nga province. He was the abbot of Wat Tham Changphuak from 1934 to 1974, and passed away at the age of 80, in 1974.
His father worked under Phraya Kongka, who was the Phang Nga Governor. In 1908, he became novice and stayed at Wat Khoksai in Phang Nga, under Phrakru kate's care (the Ecclesiastical District Officer).
In the same year, Phraya Kongka built a school with the intention of helping children access to education. But after the construction had been finished, Phraya Kongka couldn't find a teacher, because the older generation lacked education.
Therefore, Phraya Kongka asked Phrakru Kate's advice, and finally LP Samuyuen was choosen as the first teacher due to his smart and diligent. He was a good teacher and worked very well, that made Phraya Kongka feel satisfied.
Later, Phraya Kongka adopted him and supported his education. He was sent to school in Penang, Malaysia, that made him fluent in English. After high school, he returned to Thailand to serve as principal.
But then one day in 1922, he definitely got bored with layman's life. Hence, he resigned from his position and became monk on June 7, 1922 at Wat Chiangmai in Phang Nga province. He received a Buddhist name Chanthasuwanno.
After his ordination, he moved to Wat Mongkon Nimit in Phuket province, and then took his mother to be ordained there. He stayed there until the end of Buddhist Lent.
He then moved to Wat Dusitaram in Bangkok and lived there for many years. Later, in 1933, he returned to Phuket to arrange his mother's funeral.
Go on a pilgrimage
He followed in the Buddha's footsteps after his mother death - decided to go on a pilgrimage. Before he left, he made a vow that he would never come back, if he didn't truly understand the Buddha's teachings.
In 1933, he travelled alone through many provinces in Thailand. When he reached Uthai Thani province, he suddenly saw a very huge herd of buffaloes running towards him. He stood still, closed his eyes, and thought about death.
Thinking about death is a type of meditation practice in Buddhism, called Maranasati (mindfulness of death). He didn't know how much time passed, but when he opened his eyes, he saw each baffalo eating grass.
He still followed the Buddha's teaching, even after a near-death experience. He continued walking, and when he arrived in Sukhothai province, he set a long-handled umbrella (tent) near the edge of forest.
When villagers met him, they invited him to stay in the village, but he didn't go. That night, while he was making meditation, he heard a strange sound outside the tent. He opened his eyes and saw a huge leopard lay down beside his tent.
The moment he saw the leopard, he felt very frightened, but tried to pull himself together and thought about death. He didn't know how much time passed, but the leopard disappeared when he opened his eyes.
Early the next morning, he walked into the village to received alms. The villagers were very happy to see him again and told him that "last night, a leopard came to the village and ate a calf". It's believed to be the same leopard he had met.
After he received alms, he went to pay homage to the Buddha statue named "Phra Rung" in Sukhothai, "Phraphuttha Chinnarat" in Phitsanulok, and "Luangpho Phet and Phra Thaen Sila At" in Uttaradit. After that he went to Lumpang, Chiang mai and Phayao.
meet an old man with phychic powers
When he was leaving Phayao, he met an old blind man walking alone. He asked the blind man where he was going, and offered to lead him.
The blind man refused his offer the first few times, but finally let him hold one end of the stick, while the blind man held the other end. After they walked together for a while, the blind man told him that he wanted to go alone. Hence, they went separately.
He went through a forest alone, and sat under a banyan tree. All of a sudden, he heard a woman's voice saying that she was really glad to see him sit under this tree, and also told him to take it easy. He knew it was a deity's voice, so he shared loving kindness (Phae Metta) before leaving.
He then walked through bamboo forests on a mountain, and suddenly came upon a big elephant. He was shocked and slowly moved backwards.
But when he pulled himself together, he stood still and communicated with the big elephant through the power of thought "Oh, friend, if I do whatever bad karma to you in the past lives, let it come back to me" "But if not, please let me pass".
The elephant stood still, spread its ears wide, and used its trunk to grab leaf. He slowly walked past that big elephant, but not long after that, he happened to meet elephants again.
Most of them were eating leaves, except a baby elephant. The baby elephant seemed to start running towards him in a moment. Luckily, another bigger elephant used its trunk to block it and let him walk past. He then headed down the mountain.
Attain enlightenment
After heading down the mountain, he found a temple. There were only one Tai Yai monk and two novices living there. When that monk saw him, that monk asked him where he came from. He said that he came from Phayao, and stayed overnight in Phayao, Thailand.
That monk didn't seem to believe him and also said, "How possible is it?" "Here is Muang Nai city in Shan state in Burma, which is very far from Phayao" "Walking through mountains to this city takes several days"
He wondered what that monk said. He said he left Phayao this morning, and took 5-6 hours to this temple. He added monk didn't lie. After listening to what he said, that monk had faith in him and invited him to stay here for half a month.
After 15 days, he continued walking to Chiang Tung city. During his travel, he met Tai Yai villagers. Most of them had respect for monk, and also offered food to him, even through they couldn't communicate with him in Thai language.
When he reached Chiang Tung city, he walked up to pay homage to the Buddha's footprint, that is called "Phra Phutthabat Nangrung" in Phra Mondop building. At that time, it was already dark, so he spent time alone on the mountain.
He chanted and preached to deities. After giving a sermon, he suddenly thought of five Buddha's footprints, which is believed that if anyone pays homage to five Buddha's footprints, they won't go to hell. He prayed that he wanted to worship them all, even though he doubted the existence of them.
That night, the loud sound of Thai music woke him up. At first he thought he was dreaming, but it wasn't. He suddenly remembered what he had prayed for, and thought about the Buddha's teaching - everything happens for a reason, not just by chance.
He thought If people just worshipped the Buddha's footprint but did bad things, how they could escape from hell. All of the sudden, he heard the sound of Thai music and loud voices saying "Sathu (amen), that is right".
He then thought that "keeping the precepts pure is the way to be saved from hell", so the five precepts is five Buddha's footprints. A moment later, he heard the same sound and words. But this time, it was very loud. Now, he felt sure what he thought was right.
The next day, he went to Mandalay which is the capital city of Burma to study Buddhism. He also had many chances to preach an English sermon to large crowds. Burmese people had a lot of respect for him, so they called him "Phra Katsapa"
When he returned to Thailand, he stayed at Wat Dusitaram. It wasn't long after that he moved to Wat Tham Changphuak, Lopburi and lived there until he passed away.
Holy object
LP Samuyuen didn't like to make an amulet. As far as I know, he made a batch of amulets only once, in order to raise funds for the construction of the stupa in 1970 as the temple committee's request.
Luang Pho Sai of Wat Phakyak Karam had compassion on LP Samuyuen, even though LP Samuyuen was 40 years younger than him.
During the construction of the stupa, LP Sai asked villagers about the construction progress, and also said not to worry about the construction, it would be definitely finished. He asked villagers pass on the word to LP Samuyuen.
วัดถ้ำช้างเผือก
วัดนี้คือ หนึ่งในสี่วัด ที่อยู่ตั้งอยู่บนเทือกเขาสมอคอน (อยากรู้ว่ามีวัดไหนบ้าง คลิกที่ลิ้ง วัดบันไดสามแสน) เป็นอีกวัดที่เราชอบนะ คือบรรยากาศร่มรื่นดี และเป็น วัดเดียวที่ไม่มีลิงมาแอบมอง ปกติมีแต่แมวกับหมาที่มอง
แต่ภายในวัดไม่มีค่อยสิ่งปลูกสร้างอะไรมากนัก แต่สิ่งที่โดดเด่นและน่าค้นหา คือถ้ำที่อยู่หน้าวัด มีชื่อว่า "ถ้ำช้างเผือก" ซึ่งมีเรื่องเล่ากันมาแต่โบราณว่า "ในถ้ำแห่งนี้มีช้างเผือก วันดีคืนดีจะมีช้างเผือกออกมาจากถ้ำ และคนมีบุญเท่านั้นจึงจะมองเห็น" ถ้าพูดถึงเรื่องช้างเผือก เราไปพบหินที่มีรูปทรงเหมือนใบหน้าช้างเผือกเลย แต่อยู่ใน วัดถ้ำตะโก ลองแวะไปเที่ยวนะ วัดอยู่ใกล้ๆ กัน
เราได้ไปที่วัดนี้ ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2565 บรรยากาศในวัดค่อนข้างร่มรื่น เพราะต้นไม้เยอะ ส่วนภายในถ้ำช้างเผือก ก็มีพระพุทธรูปไม่กี่องค์ ภายในถ้ำอากาศปลอดโปร่งมาก เพราะมีโพรงระบายอากาศด้านบนถ้ำ เดินเข้าไปไม่ลึกมากนักจะพบค้างคาว แต่ต้องส่องไฟถึงจะเห็น เพราะถ้ำนี้ไม่ได้ติดหลอดไฟ ถ้ำดูเหมือนจะใหญ่นะคะ แต่จริงๆ ไม่ได้ใหญ่มากนัก เดินเล่นสัก 10 นาที ก็พอ
จริงๆ ภายในถ้ำมีบันไดขึ้นไปด้านบนนะคะ แต่สมัยก่อนมีขโมยแอบเข้ามาขโมยพระพุทธรูป ดังนั้นทางวัดจึงได้นำบันไดออกไป ถ้าเพื่อนๆ อยากขึ้นไปด้านบนก็ขึ้นบันไดที่อยู่ด้านนอกถ้ำ หรือขับรถขึ้นไปก็ได้ค่ะ สำหรับทางที่ขับรถขึ้นไปก็ไม่ชัน ขับรถง่าย แค่ 3-5 นาที โดยถ้ำช้างเผือกจะอยู่กึ่งกลางระหว่างบันไดและทางขับรถขึ้นไปด้านบน โดยสองเส้นทางนี้จะไปบรรจบกัน
เมื่อไปถึงด้านบน เราจะพบต้นโพธิ์ ซึ่งหลวงพ่อสมุห์เยื้อน (อดีตเจ้าอาวาส) นำมาจากอินเดียตั้งแต่ พ.ศ.2481 ต่อไปก็ขึ้นไปชมบรรยากาศรอบพระอุโบสถ ซึ่งจะมองเห็นทุ่งนาโดยรอบ แต่น่าเสียดายที่ทางวัดไม่มีการเปิดอุโบสถให้เข้าชม
ส่วนด้านข้างอุโบสถ เราจะเห็นพระพุทธรูปยืนขนาดใหญ่ตั้งอยู่บนระเบียง เพื่อนๆ สามารถขึ้นไปยืนตากลมชมทัศนียภาพกันได้คะ ส่วนรูปปั้นช้างเผือกในวัด หลวงพ่อบอกว่าตอนนี้ไม่มีแล้วนะคะ น่าจะเสียหายไปตามกาลเวลา
ประวัติหลวงพ่อสมุห์เยื้อน
หลวงพ่อพระสมุห์เยื้อน จันทสุวัณโณ เกิดวันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ.2437 อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา เป็นเจ้าอาวาสวัดถ้ำช้างเผือก ตั้งแต่ปี พ.ศ.2477 และมรณภาพในปี พ.ศ.2517 สิริอายุ 80 ปี
ในวัยเด็กท่านมาอาศัยอยู่กับลุงขอบ ซึ่งเป็นกำนัน เนื่องจากบิดาของท่านไปรับราชการอยู่กับพระยาคงคา เจ้าเมืองพังงา ท่านเป็นเด็กขยันและไฝ่รู้ ทำให้เป็นที่รักใคร่ของลุงขอบและญาติพี่น้อง
เมื่ออายุได้ 14 ปี ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดโคกสาย จ.พังงา ภายใต้การดูแลของพระครูเกตุ เจ้าคณะอำเภอ ในปีเดียวกันนั้นเจ้าพระยาคงคา เจ้าเมืองพังงาได้สร้างโรงเรียนขึ้นหลังนึง แต่เมื่อสร้างเสร็จ ท่านเจ้าเมืองหาครูสอนไม่ได้ เพราะสมัยก่อนคนส่วนใหญ่ขาดการศึกษา ท่านเจ้าเมืองจึงไปปรึกษากับพระครูเกตุ ซึ่งพระครูเกตุได้เสนอชื่อสามเณรเยื้อน ดังนั้นสามเณรเยื้อนจึงได้เป็นครูคนแรก
สามเณรเยื้อนทำหน้าที่ครูได้อย่างดีมาก จนเป็นที่พอใจของท่านเจ้าเมือง ต่อมา ท่านเจ้าเมืองได้ขอรับสามเณรเยื้อนไปเป็นบุตรบุญธรรม และพาไปศึกษากับครูอาจารย์ในเมือง ท่านสอบได้ที่ 1 แทบทุกครั้ง ท่านเจ้าเมืองพอใจมาก จึงให้สามเณรเยื้อนลาสิกขา เพื่อไปศึกษาต่อที่เมืองปีนัง ประเทศมาเลเซีย จนจบชั้น ม.6 ทำให้ท่านพูดภาษาอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่ว จากนั้นท่านได้เดินทางกลับมารับราชการเป็นครูใหญ่ ทำการสอนที่โรงเรียนในเมืองพังงาเรื่อยมา
ต่อมาเมื่ออายุ 29 ปี ท่านเกิดความเบื่อหน่ายในทางโลก จึงลาออกจากราชการและอุปสมบท ในวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ.2465 ณ วัดเชียงใหม่ อ.ตะกั่วทุ่ง จ.พังงา ฉายาของท่านคือ จันทสุวัณโณ
เมื่ออุปสมบทแล้ว ท่านได้กราบลาพระอุปัชฌาย์ไปจำพรรษาที่ วัดมงคลนิมิตร จ.ภูเก็ต ในคราวนั้นท่านได้กลับไปรับมารดามาบวชเป็นแม่ชีอยู่ที่วัดนี้ เมื่อถึงวันออกพรรษา ท่านได้ย้ายไปอยู่ที่วัดดุสิตาราม กทม และได้ศึกษาภาษาบาลีที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์
ท่านอยู่ที่วัดดุสิตารามเรื่อยมา จนกระทั่งในปี พ.ศ.2476 ท่านได้เดินทางกลับ จ.ภูเก็ต เพื่อจัดงานศพให้มารดาของท่าน (แม่ชีเขิน) เมื่อมารดาสิ้นบุญ ท่านก็หมดห่วงและตัดสินใจออกธุดงค์
ออกธุดงค์
ในตอนนั้นท่านขอให้โยมอุปัฏฐากช่วยจัดหาผ้าไตรจีวรและมุ้งกลด 1 ชุด โดยให้นำผ้าขาวผืนใหญ่ไปพันศพคนที่ตายแล้วเสียก่อน จากนั้นให้นำไปซักเป็นผ้าบังสุกุล แล้วนำไปตัดเย็บเป็นจีวร ทำมุ้งกลด ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า
ก่อนออกเดินทาง ท่านได้ตั้งจิตอธิษฐานว่า "ถ้าไม่รู้แจ้งในแสงแห่งพระธรรมของพระพุทธเจ้าแล้ว จะไม่ขอหวนกลับมาอีก จะขอไปตายเอาดาบหน้า"
ปี พ.ศ.2476 ท่านได้ออกเดินทางเพียงลำพังผ่าน จ.สุพรรณบุรี จ.ชัยนาท และ จ.อุทัยธานี ในตอนนั้นเองท่านได้พบควายป่าฝูงใหญ่ พวกควายวิ่งตรงมายังบริเวณที่ท่านกำลังเดินอยู่ ขณะนั้นท่านได้ตั้งสติ หยุดยืนหลับตานิ่ง แล้วเจริญมรณานุสติ แล้วพูดว่า ตายๆๆ เวลาผ่านไปเท่าไรไม่ทราบได้ ท่านมารู้สึกตัวอีกทีก็พบว่าทุกอย่างเงียบสงัด ท่านจึงลืมตาขึ้น แล้วพบว่าควายเหล่านั้นต่างก้มหน้าก้มตากินหญ้า
ท่านเดินทางต่อไปเรื่อยๆ จนถึง จ.สุโขทัย และปักกลดอยู่แนวชายป่า เมื่อชาวบ้านมาพบท่าน จึงนิมนต์ให้ท่านเข้าไปพักในหมู่บ้านเพราะเกรงว่าเสือจะมาทำร้าย แต่ท่านไม่ไป ชาวบ้านจึงนำฟืนไฟมาจุดให้ท่านและสนทนาธรรมกับท่านจนดึกจึงกลับเข้าหมู่บ้าน
กลางดึกคืนนั้น ท่านได้ยินเสียงประหลาดข้างๆ กลด ท่านจึงลืมตาและได้เห็นเสือดาวตัวใหญ่นอนข้างกลด จู่ๆ ท่านก็รู้สึกกลัวขึ้นมา ท่านจึงนึกถึงความตายเป็นอารมณ์ เวลาผ่านไปเท่าไรไม่รู้ ท่านมารู้สึกตัวอีกทีก็พบว่าเสือตัวนั้นหายไปแล้ว
ตอนเช้าท่านออกไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน ชาวบ้านดีใจที่ได้เห็นหลวงพ่อและเล่าให้ท่านฟังว่า เมื่อคืนมีเสือเข้าไปคาบลูกควายของชาวบ้านไปกินตัวนึง ซึ่งคงจะเป็นเสือตัวเดียวกับที่มานอนเลียขนข้างกลดหลวงพ่อ
เมื่อท่านบิณฑบาตแล้ว ก็ออกเดินทางต่อไปที่ จ.สุโขทัย ไปกราบนมัสการพระร่วง จากนั้นก็มุ่งหน้าไปที่ จ.พิษณุโลก ไปกราบพระพุทธชินราช แล้วเดินไปจนถึง จ.อุตรดิตถ์ นมัสการหลวงพ่อเพชรและไปชมพระแท่นศิลาอาสน์ หลังจากนั้นท่านก็เดินทางไปที่ จ.ลำปาง จ.เชียงใหม่ และ จ.พะเยา
พบผู้มีอำนาจวิเศษ
ขณะที่ท่านกำลังออกจาก จ.พะเยา ท่านได้พบชายชราตาบอดเดินอยู่ตามลำพัง ท่านจึงเข้าไปถามชายตาบอดผู้นั้นว่า "กำลังจะไปไหนหรือ" ชายชราตอบว่า "ผมกำลังจะไปข้างหน้าโน้น ไปเรื่อยๆ ตามประสาคนตาบอด" หลวงพ่อจึงพูดว่า "ถ้าอย่างงั้นโยมส่งไม้เท้ามาให้อาตมาจับที่ปลายข้างนึงเถอะ อาตมาจะจูงโยมเดินไปเอง" แต่ชายตาบอดตอบว่า "ไม่ต้องห่วงครับ เสียเวลาท่านเปล่าๆ นิมนต์ท่านเดินไปก่อนเถอะ" พูดจบชายตาบอดก็หลบทางให้หลวงพ่อ
แต่หลวงพ่อยังยืนจะพาชายตาบอดผู้นั้นเดินไปด้วย ชายตาบอดจึงส่งไม้เท้าให้หลวงพ่อ พอเดินไปได้สักครู่เดียว ชายตาบอดก็บอกหลวงพ่อว่าจะเดินไปเอง สุดท้ายหลวงพ่อจึงปล่อยไม้เท้า
เมื่อท่านแยกจากชายตาบอดมาแล้ว ท่านก็เดินเข้าป่าไป และได้ไปนั่งพักที่โคนต้นไทรต้นนึง ทันใดนั้นท่านก็ได้ยินเสียงของผู้หญิงพูดขึ้นว่า "ข้าพเจ้าดีใจเหลือเกินที่เห็นท่านมานั่งพักที่โคนต้นนี้ นิมนต์ตามสบายนะเจ้าคะ" นั่นคือเสียงนางไม้นั่นเอง ท่านพักที่นั่นได้ครู่นึงแล้วแผ่เมตตา จากนั้นก็เดินทางต่อ
เมื่อท่านเดินผ่านป่าไผ่ในภูเขา ทันใดนั้นท่านก็ได้เผชิญหน้ากับช้างตัวใหญ่ตัวนึง โดยห่างกันเพียงวาเดียว ด้วยความตกใจ ทำให้ท่านเดินถอยหลังออกมา แต่เมื่อตั้งสติได้ ท่านจึงได้พูดในใจว่า "เพื่อนเอ๋ย หากแกกับเราเคยมีกรรมเวรต่อกันมาแต่ปางก่อนแล้ว ก็ขอให้แกจงทำร้ายเราเถิด แต่หากไม่เคยมีเวรต่อกัน ก็จงหลีกทางให้เราโดยสะดวกเถิด" ช้างตัวนั้นก็ยืนนิ่ง ทำหูผึ่ง แล้วหันไปด้านข้าง เอางวงสาวกินใบไผ่ ท่านจึงค่อยๆ เดินผ่านช้างตัวนั้นไป
เดินมาได้สักพัก ท่านก็ได้พบกับช้างหลายตัว ซึ่งกำลังกินใบไม้อยู่ แต่มีลูกช้างตัวนึงขนาดใหญ่เท่ากับควายทำท่าจะวิ่งมาใส่ท่าน แต่ช้างตัวใหญ่เอางวงกั้นไว้ ท่านจึงค่อยๆ เดินผ่านโขลงช้างนั้นไปพร้อมกับแผ่เมตตา จากนั้นก็มุ่งหน้าลงดอย
พบธรรมที่ป่าเชียงตุง
เมื่อท่านลงจากดอย ท่านได้พบวัดๆ นึง มีพระอยู่รูปเดียวกับสามเณรอีกสองรูป เมื่อพระชาวไทใหญ่เห็นหลวงพ่อ จึงเดินออกมาต้อนรับและถามว่าหลวงพ่อมาจากไหน หลวงพ่อตอบว่า ท่านมาจากพะเยา เมื่อคืนก็ค้างคืนที่เขตพะเยา เมื่อพระรูปนั้นได้ฟังก็ทำท่าเหมือนว่าไม่เชื่อที่ท่านพูด
พระรูปนั้นจึงกล่าวว่า "จะเป็นไปได้อย่างไรครับ ที่นี่คือเขตเมืองนาย รัฐฉานของไทใหญ่ อยู่ห่างจาก จ.พะเยา ของประเทศไทยมาก หากเดินด้วยเท้านี้มาตามหุบเขา หุบดอย ต้องใช้เวลาหลายวันทีเดียว"
เมื่อหลวงพ่อได้ฟังเช่นนั้นก็อดสงสัยไม่ได้ ท่านบอกกับพระรูปนั้นว่า "ท่านออกเดินทางจากพะเยาเมื่อเช้านี้ เดินทางขึ้นภูเขาสูงมาได้ 5-6 ชั่วโมง ก็มาถึงวัดของท่านนี่ละครับ" หลวงพ่อจึงกล่าวว่า ท่านเป็นพระธุดงค์ไม่พูดโกหก เมื่อพระรูปนั้นได้ฟังก็เกิดความศรัทธาต่อท่านมาก และนิมนต์ให้ท่านอยู่ต่ออีกครึ่งเดือน ท่านก็รับนิมนต์อยู่ต่อ
เมื่อครบกำหนด 15 วัน ท่านก็ออกเดินทางต่อ พระชาวไทใหญ่ได้จัดเตรียมอาหารและให้คนนำทางไปส่งหลวงพ่อทางประตูป่า เมื่อท่านขึ้นดอยไปได้สักพัก คนนำทางก็ชี้บอกทางที่จะไปเมืองเชียงตุง จากนั้นท่านก็ออกเดินทางตามลำพัง ระหว่างทางไม่มีหมู่บ้านคนเลย ท่านก็อาศัยปักกลัดนอนระหว่างทาง
พอรุ่งเช้าก็ออกเดินทางต่อ และได้ไปพบหมู่บ้านนึง ท่านจึงได้ไปนั่งพัก มีชาวบ้านไทใหญ่เห็นท่าน พวกเขาจึงนำอาหารออกมาวางไว้ที่หน้าท่าน และชี้มือมาที่ข้าวเหนียวกับเนื้อตากแห้ง คล้ายจะบอกให้ท่านกิน แต่วินัยสงฆ์นั้น ท่านไม่สามารถฉันอาหารได้ ถ้าไม่มีคนประเคน หลวงพ่อจึงต้องทำท่าให้เขารู้เพื่อให้เขาหยิบอาหารส่งให้ เมื่อท่านฉันอาหารแล้ว ท่านก็ให้พรชาวบ้านเป็นภาษาบาลี ชาวบ้านต่างมีใบหน้าที่ยินดี
จากนั้นท่านก็เดินทางต่อจนถึงเมืองเชียงตุง และไปไหว้พระพุทธบาทนางรุ้งในพระมณฑปบนเขา แต่ขณะนั้นเป็นช่วงค่ำแล้ว ท่านจึงพักอยู่บนเขาตามลำพัง ในตอนนั้นท่านได้สวดมนต์ และเทศนาพระธรรมแก่เหล่าเทพเทวดาทั้งหลาย
หลังจากเทศนาจบ ท่านก็นึกถึงเรื่องที่คนพูดกันว่า "ถ้าใครได้กราบรอยพระพุทธบาท ทั้ง 5 แห่งแล้ว จะไม่ตกนรก" ท่านจึงตั้งจิตอธิษฐานว่า "หากแม้นรอยพระพุทธบาททั้ง 5 รอย มีอยู่จริง ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด ใกล้หรือไกล ก็ขอให้ข้าพเจ้าได้มีโอกาสไปกราบนมัสการครบทั้งหมดด้วยเถิด" จากนั้นท่านก็เข้ากลดไปนอนพัก
แต่ท่านก็ต้องตื่นขึ้นมาเพราะเสียงปี่พาทย์ที่ดังกังวาล เดิมทีท่านคิดว่ากำลังฝัน แต่ไม่ใช่ฝัน ท่านจึงนั่งพิจารณาว่าในป่าเช่นนี้จะมีดนตรีได้อย่างไร ทันใดก็พลันนึกได้ว่า ก่อนจะนอนท่านได้อธิษฐานขอไปกราบรอยพระบาท แล้วก็คิดว่าถ้าไปกราบรอยพระบาทแล้ว จะไม่ตกนรกจริงหรอ?
ท่านนั่งพิจารณาถึงคำพูดนึงที่พระอัสสชิ กล่าวแก่พระสารีบุตร เมื่อครั้งที่ท่านเป็นปริพาชก มีความว่า "ธรรมทั้งหลายเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตทรงแสดงเหตุแห่งธรรมทั้งหมดเหล่านั้น และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น" พระพุทธเจ้าท่านสอนอย่างนี้ ท่านคิดต่อไปว่า นั่นเป็นคำสอนที่รับรองเหตุและผล
หากคนเราเพียงแค่กราบไหว้รอยพระบาทแต่ไม่ละความชั่วแล้ว จะพ้นจากนรกได้อย่างไร เมื่อท่านคิดได้เช่นนี้ เสียงดนตรีปี่พาทย์ก็ดังขึ้นอีกครั้ง พร้อมกับมีเสียง "สาธุๆ ถูกแล้วๆ" ดังไปทั่ว เมื่อท่านได้ยินเช่นนั้น ก็เกิดความมั่นใจว่าที่คิดนั้นถูกแล้ว
ท่านจึงพิจารณาต่อไปอีกว่า ศีล 5 ประการนี้ ก็คือ รอยพระพุทธบาททั้งห้า ถ้ารักษาศีลให้บริสุทธิ์ได้ก็ไม่ตกนรก จากนั้นก็มีเสียงปี่พาทย์และเสียง "สาธุๆ" ดังกึกก้องไปทั่ว เมื่อท่านรู้แจ้งในธรรมแล้ว ท่านก็ตั้งใจว่าจะนำคำสอนเรื่องศีล5 นี้ไปสั่งสอนผู้คน
วันต่อมาท่านได้เดินทางไปที่เมืองหลวงของพม่า จนถึงริมฝั่งแม่น้ำสาละวิน แต่ไม่พบหมู่บ้านเลย ท่านจึงตั้งใจจะว่ายข้ามแม่น้ำไป ในขณะที่คิดอยู่นั้น สายตาก็เหลือบไปเห็นแพไม้ไผ่ ซึ่งมีคนถ่อเรืออยู่ เขากวักมือเรียกท่าน ท่านจึงลงแพข้ามฝั่งไป เมื่อท่านขึ้นฝั่ง ท่านได้หันกลับไปมองคนถ่อเรือ แต่ไม่เห็นทั้งแพและคนถ่อเรือ ซึ่งเป็นเรื่องอัศจรรย์มาก
จากนั้นท่านเดินทางต่อไปจนถึง กรุงมัณฑะเลย์ เมืองหลวงของพม่า เพื่อศึกษาพระพุทธศาสนา และยังได้ เทศนาสั่งสอนชาวบ้านเป็นภาษาอังกฤษ อีกด้วย ชาวบ้านที่นั่นนับถือท่านมาก จึงเรียกท่านว่า "กัสสปะ" ต่อมาท่านได้เดินทางกลับมายังประเทศไทย และจำพรรษาที่วัดดุสิตาราม แต่ไม่นานนัก ท่านก็ได้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดถ้ำช้างเผือก
วัตถุมงคล
วัตถุมงคลของท่านมีน้อยมาก เพราะท่านไม่ชอบให้สร้าง จะมีก็รูปของท่านเมื่อครั้นที่ท่านกลับจากอินเดีย โดยในตอนนั้นท่านได้นำต้นโพธิ์ตรัสรู้กลับมาด้วย ซึ่งลูกศิษย์ขออนุญาติถ่ายรูปท่านเก็บไว้
ในปี พ.ศ.2513 กรรมการวัดได้ขออนุญาติท่านสร้างเหรียญ เพื่อนำเงินมาสร้างเจดีย์ที่ยังค้างอยู่ให้เสร็จ และขอให้ท่านช่วยปลุกเสก ท่านจึงได้บอกกับลูกศิษย์ว่า "ครั้งเดียวนา ไม่ทำอีกแล้ว"
หลังจากที่ท่านปลุกเสกเสร็จแล้ว ก็บอกกับคณะกรรมการว่า "เอาไปให้ท่านมีเสกด้วย" เมื่อไปถึงวัดเขาสมอคอน หลวงพ่อบุญมีก็พูดขึ้นว่า "ท่าจะบ้ากันหมดนะพวกเอ็ง ท่านเยื้อนปลุกเสกให้แล้ว จะขนมาเอาอะไรกันอีก" แต่หลวงพ่อบุญมีก็ทนเสียงรบเร้าไม่ไหว จึงปลุกเสกให้
หลวงพ่อสาย วัดเสือ (วัดพยัคฆาราม) จ.ลพบุรี ท่านเมตตาหลวงพ่อสมุห์เยื้อนมาก แม้ว่าหลวงพ่อสมุห์เยื้อนจะอายุน้อยกว่าหลวงพ่อสายถึง 40 ปี
ในช่วงที่ท่านสร้างเจดีย์ หลวงพ่อสายได้สอบถามกับชาวบ้านว่า "หลวงพ่อสมุห์เยื้อนสร้างเจดีย์ไปถึงไหนแล้ว" หลวงพ่อสายพูดว่า "ไปบอกท่านเยื้อนนะว่า เจดีย์น่ะสร้างเสร็จแน่ไม่ต้องกลัว เป็นกำลังใจให้"