visitors can climb the stairs of the stupa
Buddha statues behind the stupa
a row of Buddha statues surrounds the stupa
a 28-meter long reclining Buddha statue
there is the doorway behind this bronze Buddha statue
Inside the ordination hall
Wat Yai Chai Mongkhon
Update : June 20, 2023
Temple is located outside the city island, which is one of the oldest temples in Ayutthaya. The temple was built in 1357 by King U-Thong, the founder and first king of the Ayutthaya Kingdom.
The temple was dedicated to his adopted sons, namely Chao Khaew and Chao Tai, who died of Cholera. And the temple was named "Wat Phraya Tai".
In 1592, the Burmese king (Nanda Bayin) sent his son (Mingyi Swa) and army to attack Siam, which is known today as Thailand. At that time, King Naresuan and his brother led Thai army to fight against the enemy. The elephant of King Naresuan ran so fast that Thai army couldn't catch up with him, and the king was surrounded by the enemy.
With the king's wishdom, the king challenged the Burmese prince to fight with him on elephant back. The king could defeat the Burmese prince, but the king got shot in his hand before Thai army came to rescue him.
Back to Ayutthaya, The king was angry that his army couldn't come to help him in time, so the king wanted to punish them by the death. With the help of Somdej Phra Wanarat (Buddhist leader) and 25 other monks, all of the army survived. But they had to build a stupa instead of being punished.
So the stupa was built to commemorate the victory of the legendary battle. Today, it's the highest stupa (62.10m) in Ayutthaya. And the name of the temple was changed to Wat Yai Chai Mongkhon, that means the great temple of auspicious victory.
As a result of this victory, the Burmese didn't dare to attack Siam again. And Thai people had lived peacefully for around two centuries until 1767.
Interesing things
1. The great stupa, 62.10 meters high, is surrounded by four corner stupas. Inside the stupa, there was a powerful mantra that was specially composed for King Naresuan, by Somdej Phra Wanarat.
The mantra was discovered by LP Jarun of Wat Amphawan. It is said that LP Jaran met Somdej Phra Wanarat in his dream. The old monk told LP Jaran to go to Wat Yai Chai mongkhon, took out the mantra, and published.
2. The statue of King Naresuan pouring water on the ground symbolizes the declaration of independence from the Burmese. It was built the honour the king.
3. A 28-meter long reclining Buddha statue.
4. A small shrine next to the reclining Buddha is where we believe a spirit of king rama 5's son resides in there.
5. The ordination hall with the principal Buddha statue. There is the bronze Buddha statue surrounded by an arch, sitting infront of the doorway of the ordination hall. Most travellers walk past the Buddha statue without noticing the doorway behind.
วัดใหญ่ชัยมงคล
วัดนี้ตั้งอยู่นอกเกาะเมืองอยุธยา เป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างโดยพระเจ้าอู่ทอง (กษัตริย์องค์แรกของอาณาจักรอยุธยา) โดยสันนิษฐานว่าสร้างในปี พ.ศ.1900 เพื่ออุทิศให้กับลูกบุญธรรมสองคน คือเจ้าแก้วและเจ้าไท ที่เสียชีวิตด้วยโรคอหิตกโรค และตั้งชื่อวัดว่า "วัดพระยาไท"
ในปี พ.ศ.2135 พระเจ้านันทบุเรงแห่งพม่าได้ส่งพระมหาอุปราชมังกะยอชะวานำกองทหารมาตีอยุธยา เมื่อสมเด็จพระนเรศวรทราบว่าพม่าจะยกทัพใหญ่มาตี จึงได้เตรียมทัพและออกเดินทางออกจากบ้านป่าโมกไปสุพรรณบุรี และไปตั้งค่ายหลวงบริเวณหนองสาหร่าย จ.สุพรรณบุรี
สมเด็จพระนเรศวรทรงช้าง นามว่า "เจ้าพระยาไชยานุภาพ" ส่วนพระสมเด็จพระเอกาทศรถ ทรงช้างนามว่า "เจ้าพระยาปราบไตรจักร" ซึ่งช้างทรงทั้งสองนั้นเป็นช้างที่เคยผ่านสงครามชนช้างและชนะช้างตัวอื่นมาแล้ว เมื่อกองทัพไทยและพม่าเผชิญหน้ากัน ช้างของสมเด็จพระนเรศวรซึ่งกำลังตกมัน ได้วิ่งถลำลึกเข้าไปในเขตแดนพม่า มีเพียงทหารรักษาพระองค์และจาตุรงค์บาทเท่านั้นที่ติดตามไปทัน
ช้างของสมเด็จพระนเรศวรวิ่งเร็วจนทหารไทยตามไม่ทัน ทำให้พระองค์ตกไปอยู่ในวงล้อมของทหารพม่า ขณะนั้นเองท่านทราบดีว่าท่านไม่อาจสู้กองกำลังทหารพม่าได้
แต่ด้วยพระปรีชาของพระนเรศวร พระองค์จึงได้พูดด้วยเสียงอันดังว่า "พระเจ้าพี่เราจะยืนอยู่ไยในร่มไม้เล่า เชิญออกมาทำยุทธหัตถีด้วยกัน ให้เป็นเกียรติยศไว้ในแผ่นดินเถิด ภายหน้าไปไม่มีกษัตริย์ที่จะได้ยุทธหัตถีแล้ว" เมื่อมังกะยอชวาได้ยินเช่นนั้น ก็ไสยช้างออกมาสู้รบกับพระนเรศวร ซึ่งการรบครั้งนั้นพระองค์ได้รับชัยชนะ แต่ก็ได้รับบาดเจ็บ
เมื่อกลับมาสู่พระนครแล้ว พระองค์ต้องการจะลงโทษทหารที่ตามพระองค์ไปไม่ทันตอนกระทำศึกยุทธหัตถี ซึ่งการลงโทษนั้นก็คือ การประหารชีวิต
ในตอนนั้น สมเด็จพระพนรัตน์ป่าแก้วและพระราชาคณะ 25 รูป ได้ขอให้สมเด็จพระนเรศวรละเว้นโทษประหารชีวิตให้กับทหารเหล่านั้น พระองค์ทรงทำตามคำขอของสมเด็จพระพนรัตน์ป่าแก้ว และให้สร้างเจดีย์องค์ใหญ่ขึ้น เพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งชัยชนะ และพระะราชทานนามว่า "เจดีย์ชัยมงคล"
จากนั้นก็ได้มีการเปลี่ยนชื่อวัดเป็น "วัดใหญ่ชัยมงคล" นอกจากจะสร้างเจดีย์แล้ว ในสมัยของสมเด็จพระนเรศวรยังมีการสร้างวิหารพระพุทธไสยาสน์ (พระนอน) อีกด้วย
สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด
1.เจดีย์ชัยมงคล
เป็นเจดีย์ที่มีความสูง (จากฐานถึงยอด) 62.10 เมตร และมีเจดีย์ทิศอยู่สี่มุม ความสูง 12 เมตร ถือว่าเป็น เจดีย์ที่สูงที่สุดในอยุธยา ภายในเจดีย์มีการค้นพบบทสวด "พุทธชัยมงคลคาถา หรือพาหุงมหากา" โดยหลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน
เล่ากันว่า หลวงพ่อจรัญฝันเห็นสมเด็จพระพนรัตน์ป่าแก้ว โดยท่านบอกให้หลวงพ่อจรัญเดินทางไปวัดใหญ่ชัยมงคล และนำบทสวดที่ท่านเขียนถวายสมเด็จพระนเรศวรออกมาเผยแพร่ *บทสวดอยู่ด้านล่างนะคะ
2.พระตำหนักสมเด็จพระนเรศวร ภายในประดิษฐานรูปปั้นสมเด็จพระนเรศวรเทน้ำลงพื้นดิน (หลั่งน้ำทักษิโณทก) เพื่อประกาศอิสรภาพไม่ยอมขึ้นแก่กรุงหงสาวดี โดยท่านได้ประกาศอิสรภาพ ณ เมืองแครง ในปี พ.ศ. 2127 หลังจากที่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของหงสาวดีตั้งแต่ พ.ศ. 2112
3.วิหารพระพุทธไสยาสน์ (พระนอนองค์สีขาว ความยาว 28 เมตร) วิหารนี้ได้รับการบูรณะในปี พ.ศ.2508
4.ศาลเจ้าพ่อสิทธิชัย เชื่อว่าเป็นศาลที่สถิตดวงวิญญาณของพระราชโอรสองค์นึงของ ร.5
5.อุโบสถ ซึ่งด้านหน้าอุโบสถจะมีพระพุทธชินราชจำลอง สามารถจุดธูปเทียนไหว้พระขอพรได้ ด้านหลังพระพุทธชินราชจะมีทางเดินเข้าไปด้านในอุโบสถ ซึ่งประดิษฐานพระประธานของวัด นามว่า "พระพุทธชัยมงคล"
บทชัยมงคลคาถา (พาหุงมหากา)
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
( ภาวนา 3 จบ )
พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติฯ
สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิติฯ
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติฯ
1.พาหุงสะหัส สะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง ครีเมขะลัง อุทิตะโฆ ระสะเสนะมารัง ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
2.มาราติเร กะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
3.นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง เมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
4.อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง ธาวันติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
5.กัตตะวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะยะกายะมัชเฌ สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
6.สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกาวาทะเกตุง วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
7.นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
8.ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง พรัหมัง วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
9.เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฉฐะคาถา โย วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญ