The ordination hall is adorned with old ceramic bowls
Three statues of the great kings from Thai history
an old stupa
The Buddha statue is called Luang Pho Suwan Ratsame
a big sacred cowry known as Bia Kae
Traditional Thai house
Wat Sadao
Update : Septemper 5, 2022
It was originally called Wat Maela. Later, Its name was changed to Wat Sadao, located on the west bank of the Maela River, Maela sub-district.
It is an old temple, no one knows when it was built. We only know that it was once an area of Indian immigrants. Most of them were Buddhists, who worked as rice farmers.
In the old days, there was no temple in their community, until a monk on pilgrimage (Luang Pho Nin) travelled to where we call Wat Sadao and set a long-handled umbrella there.
All the villagers were very happy to hear that there was a monk staying in their commuity. So they built a small residence and a pavilion for LP Nin.
The main feature of the temple is Its unusual ordination hall, entirely adorned with old ceramic bowls and old newspapers. The construction of the ordination hall was begun in 1918, that was designed by the former abbot, Luang Pho Fung. It turns 103 years old in 2021.
Besides the ordination hall, you can also see an old stupa, traditional Thai houses, a big sacred cowry known as Bia Kae and three statues of the great kings from Thai hisorty.
The three kings as I said above are Phra Piya Maharat or King rama 5 (the Rattanakosin period) who brought prosperity to Thailand by opening the country such as Western style education, technologies, modern transportation, medical treatment, etc.
Phra Naresuan Maharat (the Ayutthaya period) and Phra Chao Taksin Maharat (the Thonburi period) were the leaders to set the kingdom free from the control of Burma.
วัดสะเดา
วัดนี้ตั้งอยู่ ต.แม่ลา อ.บางระจัน ห่างจากตัวเมือง ประมาณ 6 กม. แต่เดิมนั้นวัดนี้ชื่อ "วัดแม่ลา" แต่มาเปลี่ยนชื่อเป็น "วัดสะเดา" เพราะบริเวณวัดมีต้นสะเดาขึ้นเป็นจำนวนมาก ประชาชนในท้องถิ่นคือคนอินเดีย อพยพมาตั้งรกรากทำนาและทำการประมง เพราะสมัยก่อนบริเวณนี้มีปลาชุกชุมมาก
การเดินทางมาวัดสะเดา ถ้ามาจากตัวเมืองสิงห์บุรีให้ขับเลียบคลองมาเรื่อยๆ จนมาถึงร้านอาหาร "บ้านสวนแม่ลาการ้อง" เมื่อถึงร้านอาหารขับเลียบคลองมาตลอด แต่อย่าขับเร็วเพราะโค้งเยอะมาก น่าจะสิบโค้งได้ บรรยากาศข้างทางคือทุ่งนาล้วนๆ
ชาวอินเดียที่อพยพมาส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ แต่ในอดีตบริเวณนี้ไม่มีวัด จึงพากันไปทำบุญที่อื่น ต่อมามีพระธุดงค์ (หลวงพ่อนิล) มาปักกลดพักแรมที่นี่ ชาวบ้านจึงได้สร้างกุฏิหลังเล็กๆ กับศาลา เพื่อให้ท่านได้พักอาศัย และประกอบพิธีทางศาสนา ต่อมาสถานที่แห่งนี้ก็ได้รับการพัฒนาจนกลายเป็นวัดอย่างที่เราเห็นกันทุกวันนี้
สมัยก่อนมีการเผาเชิงตะกอน เศษกระดูกที่เหลือจากการเผาก็จะนำไปโยนใสต้นสะเดา ต่อมา พ.ศ. 2500 ต้นสะเดาใหญ่ (วัดรอบต้น 8 เมตร) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของวัดได้ตายลง ชาวบ้านจึงนำไม้สะเดาไปเผาถ่าน นำไปทำเครื่องใช้บ้าง แต่สุดท้ายชาวบ้านก็นำไม้มาคืน เพราะพวกเขาเห็นนางไม้ผมยาวมานั่งสางผม และบางคนก็เจอวิญญาณมาตามทวง
ความแปลกของโบสถ์ที่นี่คือ โบสถ์ที่ตกแต่งด้วยถ้ายชามและหนังสือพิมพ์เก่า ซึ่งชามบางชิ้นเก่ามากถึงยุคสักคโลกเลย โบสถ์เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ.2461 จนถึงปัจจุบันนี้ก็เป็นเวลา 103 ปี นี่เป็นแนวคิดของ หลวงพ่อฟุ้ง (พระอธิการฟุ้ง อุตฺตโม) อดีตเจ้าอาวาสวัดสะเดา โดยท่านเป็นผู้ดูแลงานก่อสร้างด้วยตนเอง
หลวงพ่อฟุ้งถือเป็นอีกหนึ่งพระเกจิดังของเมืองสิงห์ ท่านเป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่ศรี วัดพระปรางค์ (ชัณสูตร) ถือได้ว่าเป็นศิษย์รุ่นพี่ของหลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง เพราะห่างพรรษากัน ประมาณ 20 ปี ท่านเคยจำพรรษาอยู่ที่วัดราษฎร์บำรุงเป็นเวลา 5 พรรษา ต่อมาก็มาจำพรรษาอยู่ที่วัดสะเดา
นอกจากโบสถ์แล้ว ที่นี่ยังมี เบี้ยแก้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก เมื่อเดินไปรอบๆ วัด ก็จะพบเจดีย์เก่า บ้านเรือนไทยโบราณ พระพุทธรูป ซึ่งบรรยากาศที่นี่ร่มรื่นทีเดียวค่ะ ข้างๆ วัด ก็มีแม่น้ำ แวะให้อาหารปลาก่อนกลับบ้านกันนะคะ