people pull the Buddha statue out of the temple

the Buddha statue is under a three-tiered umbrella

this building is called viharn Phra Sri Ariya

Buddha statues are placed on the corridor

inside Viharn Phra Sri Ariya

look closer at Phra Sri Ariya

it's called Viharn Khao Hong

It's decorated with stucco reliefs

inside Viharn Khao Hong

Buddha statue in Viharn Khao Kong

Wat Lai

Update :  January 23, 2023

Wat Lai is located on the bank of the Bangkham river in Tha Wung district, 4.5 km from Wat Tham Tako. It's an old temple from the early Ayutthaya period about 600 years.

Most people might not know that the temple holds its annual Chakphra festival, in order to commemorate the return of the Buddha from heaven to earth and make people get closer to Buddhism.

The word "chakphra" means "pulling a Buddha statue". The Buddha statue (Phra Sri Ariya Mettrai) will be placed on something that looks like a raft. The raft is decorated with flowers and tied with a very long rope. As for the Buddha statue, It's under a three-tiered umbrella.

The festival is held twice a year - the 14th day of the 6th waxing moon and the 4th day of the 11th waning moon. Last year, the festival took place on Oct. 14, 2022.

Within the temple and the street in front of the temple are crowded with thousands of people. They come here to take part in the festival, while some of them come to give away food to all visitors. Over 50 food stalls on both sides of the street give free food to you.


The story of Phra Sri Ariya Mettrai

Phra Sri Ariya Mettrai (Phra Sri Ariya) is the 5th Buddha. The Buddha is believed to come to the human realm after the era when the Gautama Buddha's teachings have been forgotten.

Now, let me tell you the story of PS Ariya, who once stayed at Wat Lai. In the old days, there was an old man named Montha. He spent his entire life following Dharma practice, in the hope of seeing the future Buddha.

Before his death, he told his relatives to keep his body for a week and then burned it. With his accumulated merit, Lord Indra brought his spirit to heaven, and told him that PS Ariya had already been born as a human and ordained as a monk at Wat Lai. 

Lord Indra also gave him a lotus flower in order to offer it to PS Ariya. When he returned from afterlife, he told his relatives about this and hurried to go to Wat Lai.

When he reached there, he sat down and waited to offer the lotus flower to PS Ariya. He waited until the last monks came out of the ordination hall, but no one saw the flower in his hand. 

Therefore, he asked a novice about all of the monks staying at Wat Lai, and knew that there was another monk who didn't come to the ordination hall that day because he was ill. 

He hurried to the monk's residence. As soon as the monk saw him, the monk sat up to receive the flower. He suddenly realized that the monk was Phra Sri Ariya, but the monk asked him to keep this a secret.

When the monk passed away, faithful devotees joined hands to cast his statue. They kept trying to cast the statue but failed. Finally, Lord Indra transformed himself into a monk in white robe, and helped them cast the statue.

In the those days, the statue of PS Ariya was enshrined in another building in the temple. Later, a fire incident burned down the building, that made the statue damage. 

But luckily, the statue was restored to be in good condition by the order of King Rama 5. Later, the statue was transferred to the new building, where we call Viharn Phra Sri Ariya.


Main attractions

1. Viharn Phra Sri Ariya - the statue of PS Ariya is enshrined inside viharn, where the story of PS Ariya from the beginning to the end is told through the wall paintings. This viharn is encircled by the corridor, that contains many Buddha statues.

2. Viharn Khao Hong - it means a nine-room viharn. It's decorated with stucco reliefs, depicting the story of Thotsachat and Pathomsombodhi on the walls from the Sukhothai period, aged 800-900 years. Inside, there is a big Buddha statue, that is surrounded by an arch called soom ruean kaew.

3. A museum with a large collection of antiquities. It's a golden building, next to Viharn Khao Hong. I didn't take a photo because it was locked that day.

วัดไลย์

วัดไลย์ตั้งอยู่ริมน้ำบางขาม ต.เขาสมอคอน อ.ท่าวุ้ง อยู่ห่างจาก วัดถ้ำตะโก แค่ 4.5 กม. เป็นวัดเก่าตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น 

หลายๆ คน อาจไม่ทราบว่า ทางวัดได้จัดงาน ประเพณีชักพระ เป็นประจำทุกปี เพื่อนมัสการพระศรีอารยเมตไตรย์  โดยจัดขึ้น ปีละ 2 ครั้ง ได้แก่ วันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 6 และ วันแรม 4 ค่ำ เดือน 11 

ภายในบริเวณวัด และถนนหน้าวัดเต็มไปด้วยฝูงชนนับพันคน มีร้านค้ามาออกโรงทานแจกของกินตลอดทาง ถือว่าเป็นงานที่ยิ่งใหญ่มาก ซึ่งเราได้มีโอกาสไปเที่ยวที่นี่ เพราะว่าเพื่อนไปออกโรงทานในวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ.2565

พระศรีอารยเมตไตรย์จะถูกยกมาวางไว้บนแท่นตะเฆ้ ซึ่งเป็นแท่นที่ไม่มีล้อและมีฉัตรกั้นอยู่เหนือเศียรพระพุทธรูป และนำเชือกขนาดใหญ่ 2 เส้น มาผูกกับตะเฆ้ นอกจากนี้จะมีคนแต่งกายชุดขาว 2 คน ยืนอยู่ด้านหลังพระพุทธรูป จากนั้นให้ประชาชนชักลากพระไปตามเส้นทางที่กำหนดไว้


พระศรีอารยเมตไตรย์

พระศรีอารยเมตไตรย์ หรือพระศรีอารย์ เป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่ 5 ที่เชื่อกันว่าจะเสด็จมาโปรดสัตว์ ก่อนโลกจะแตกดับ โดยจะอุบัติขึ้นในภายหน้า หลังจากสิ้นศาสนาพระโคดมแล้ว 

สำหรับความเป็นมาของพระศรีอารย์ที่วัดไลย์ มีดังนี้ มีชายแก่คนหนึ่งชื่อว่ามณฑา เขาหมั่นทำบุญรักษาศีลด้วยความหวังว่าจะได้มีอายุยืนให้ถึงสมัยพระศรีอาริย์มาโปรดโลกมนุษย์ 

ก่อนจะตายเขาได้สั่งเสียญาติไว้ว่า ให้เอาศพไว้ 7 วัน แล้วค่อยเผา ด้วยบุญกุศลที่เขาสร้างไว้ เมื่อเขาตายไป พระอินทร์จึงเป็นผู้มารับวิญญาณ และบอกกับเขาว่า "พระศรีอารย์มาเกิดเป็นมนุษย์แล้ว และบวชเป็นพระอยู่ที่วัดไลย์ แต่ไม่รู้ว่าหน้าตาเป็นอย่างไร" 

ก่อนวิญญาณเขาจะกลับเขาร่าง พระอินทร์ได้มอบ "ดอกบัวให้หนึ่งดอก" เพื่อนำไปกราบพระศรีอารย์ *แต่บางตำนานก็บอกว่าเป็นดอกมณฑา เมื่อเขาฟื้นขึ้นมาก็ได้เล่าเรื่องนี้ให้ญาติพี่น้องฟัง และรีบเดินทางไปวัดไลย์ 

เมื่อไปถึงอุโบสถ เขาก็นั่งรอพร้อมกับพนมมือชูดอกบัวถวาย แต่กลับไม่มีพระรูปใดเห็นดอกบัวในมือของเขาเลย เมื่อพระเดินออกจากอุโบสถจนหมดแล้ว เขาจึงถามเณรว่ายังมีพระรูปอื่นอีกไหม จึงทราบว่ามีพระอีกรูปชื่อว่า "พระศรี" ซึ่งอาพาธ จึงไม่ได้มาสวดมนต์ที่โบสถ์ 

เขาจึงรีบไปที่กุฎิพระศรี เมื่อพระศรีเห็นดอกบัวที่มือเขา ก็รีบลุกขึ้นรับ เขารู้ทันทีว่าพระรูปนี้คือ พระศรีอารย์ และต่อมาเขาก็ได้อยู่รับใช้พระศรี โดยพระศรีขอไม่ให้เขาเล่าเรื่องนี้ให้ใครฟัง

เมื่อพระศรีมรณภาพ ประชาชนจึงร่วมกันหล่อรูปพระศรีอารย์ขึ้น แต่ทำอย่างไรก็ไม่สำเร็จ พระอินทร์จึงแปลงกายเป็นชีปะขาว มาเททองหล่อพระให้ โดยได้นำอัฐิของลุงมณฑามาเป็นส่วนผสม เนื่องจากอัฐิของเขากลายเป็นสีทองแดงหลังจากที่เผา 

ครั้งนึงวิหารด้านหลังที่ประดิษฐานรูปหล่อพระศรีอารย์ถูกไฟไหม้ ทำให้พระได้รับความเสียหาย ร.5 จึงทรงให้นำพระมาปฏิสังขรณ์ในกรุงเทพฯ หลังจากนั้นก็นำกลับมาส่งคืนให้ที่วัดดังเดิม


สิ่งที่น่าสนใจ

1. วิหารพระศรีอารย์ ภายในมีเรื่องราวของ พระศรีอารย์ ซึ่งถูกบรรยายเป็น รูปภาพบนฝาผนัง วิหารถูกล้อมรอบด้วยระเบียงทั้งสี่ด้าน ภายในระเบียงประดิษฐานพระพุทธรูป

2. มีวิหารเก้าห้อง อาคารสีขาว ตกแต่งด้วยลายปูนปั้นเรื่องทศชาติ และเรื่องปฐมสมโพธิ์ ป็นสถาปัตยกรรมแบบสุโขทัย อายุราว 800-900 ปี ภายในมีพระพุทธรูปขนาดใหญ่ มีซุ้มเรือนแก้วรอบองค์พระ

3.พิพิธภัณฑ์วัดไลย์ เราไม่ได้เข้าไปถ่ายรูป เพราะทางวัดได้ปิดพิพิธภัณฑ์ไว้ ในวันที่มีงานชักพระ