Here visitors feed the fish at the pier of the temple
there are small gardens in the temple
It was once the residence of King Rama 1 before he became king
an ancient cabinet and paintings on the wooden walls of the house
painting depicts one of the Buddha's top disciple paying homage to the stupa in the heaven
Look at the bells. The name "Wat Rakhang" means the temple of bells
Wat Rakhang
Update : October 2, 2023
This temple is located on the west bank of the Chao Phraya River, opposite the Grand Palace. The easiest way to get to the temple is by boat - take a ferry boat from Tha Chang Pier to the temple.
When approaching the temple, everyone will see the huge statue of one of Thailand's most famous monks. His name is Somdej Toh, whose statue holds an ancient Thai book. He was the supreme patriarch and also abbot of this temple in the mid 19C. His statues can be found almost everywhere in Thailand.
There is the ordination hall, Buddha statues, and a prang tower like other temples. But the special thing in the temple is a traditional Thai house at the side of the temple.
The house was built in form of three houses connected to each other, that was once the residence of King Rama 1 of the present dynasty during the Thonburi period.
But when he became king, he dedicated this house to the temple. Nowadays, it serves as a tripitaka hall so you can find a stunning back lacquer and gold cabinet inside. And you have a chance to admire beautiful mural paintings on the wooden wall.
Besides this, there is a holy water pool at the back of the temple. Somdej Toh built it and wrote mantras at the bottom of the pool. The temple provides plastic bags and rubber bands for anyone who wants to take holy water home.
The history of the temple
It's the temple in the Ayutthaya period, under the patronage of King Taksin and other kings during the Rattanakosin period.
The official name of the temple is Wat Rakhang Kositaram, but it was originally named "Wat Bangwa Yai". Later, its name is shortened to Wat Rakhang that means the temple of bells.
During the reign of King Rama 1, the king heard that an ancient bell was found underground in the temple. So it was moved to the Temple of the Emerald Buddha by the order of the king.
But the king offered 5 bells to Wat Rakang as replacements. That is why we call "Wat Rakhang".
วัดระฆัง
วัดระฆังตั้งอยู่ตรงข้ามกับวัดพระแก้ว แต่คนละฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อนๆ สามารถนั่งเรือข้ามฟากที่ท่าช้าง ซึ่งอยู่ใกล้กับวัดพระแก้วไปยังวัดนี้ได้เลย
เมื่อมาถึงวัด เราจะได้เห็นรูปหล่อสมเด็จโตฯ องค์ใหญ่ ที่ด้านหน้าวัด เนื่องจากท่านเคยเป็นเจ้าอาวาสปกครองวัดนี้มาก่อน ภายในวัดค่อนข้างร่มรื่น เมื่อขึ้นจากเรือ ให้เดินตรงไป เราจะเห็นซุ้มประตูทางเข้าไปยังอุโบสถ เดินเข้าไปเลยค่ะ ภายในมีพระประธานนามว่า "พระประธานยิ้มรับฟ้า" เบื้องหลังพระประธาน เป็นภาพของพระมาลัยขณะขึ้นไปนมัสการพระมหาจุฬามณีบนสวรรค์
หลังจากไหว้พระเสร็จ ก็เดินไปที่เรือนไทย ซึ่งเรือนไทย 3 หลัง เดิมทีเป็นที่ประทับของ ร. 1 ในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสิน แต่เมื่อพระองค์ได้ขึ้นครองราชย์ จึงได้รับสั่งให้ปรับเป็นหอพระไตรปิฏก และถวายวัด โดยพระองค์ให้ปลูกต้นจันทร์ไว้ใกล้ๆ เรือนไทยด้วย ดังนั้น คนจึงเรียกเรือนไทยนี้ว่า "ตำหนักจันทร์"
ต่อมาพระองค์ก็ได้ขอระฆังใบนึงจากวัดนี้ไปไว้ที่วัดพระแก้ว เนื่องจากระฆังใบนี้มีเสียงไพเราะมาก และได้รับสั่งให้สร้างหอระฆังจตุรมุขขึ้น พร้อมกับมอบระฆังอีก 5 ใบให้กับวัดเพื่อเป็นการชดเชย
ใกล้ๆ กับเรือนไทย เราจะเห็นพระปรางค์องค์ใหญ่ ซึ่งสร้างโดย ร.1 ซึ่งถือเป็นพระปรางค์ที่ทำถูกแบบที่สุดในประเทศไทย ตามสถาปัตยกรรมรัตนโกสินทร์ยุคต้น และได้กลายเป็นต้นแบบของพระปรางค์ในยุคต่อมา
หลังจากนั้นให้เดินออกไปทางด้านหลัง และค้นหาอาคารที่เขียนว่า "คณะภาค 6" เราจะได้เห็น บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งสร้างโดยสมเด็จโตฯ อายุก็ประมาณ 200 ปีแล้ว โดยท่านได้เขียนอักขระยันต์ และคาถาชินบัญชรไว้ที่ก้นบ่อนี้ เพื่อนๆ สามารถนำน้ำมนต์กลับไปบ้านได้ฟรี
เราก็เพิ่งไปวัดนี้เมื่อเดือน มิถุนายน ตอนนี้ทางวัดกำลัง บูรณะบ่อน้ำมนต์ สำหรับใครที่อยากร่วมบุญ ก็โอนไปที่ ธนาคารกสิกรไทย / เลขที่บัญชี 144-8-04884-1 / ชื่อบัญชี วัดระฆังโฆสิตาราม (บูรณะบ่อน้ำพระพุทธมนต์)
ประวัติวัด
วัดนี้มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า "วัดระฆังโฆสิตาราม" ชื่อเดิมของวัดคือ "วัดบางหว้าใหญ่" แต่คนส่วนใหญ่นิยมเรียกสั้นๆ ว่า วัดระฆัง เป็นวัดเก่าสมัยอยุธยา ซึ่งอยู่ภายใต้การอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้าตากสิน และกษัตริย์หลายพระองค์ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
หลังจากที่เราเสียกรุงแก่พม่า พระเจ้าตากสินได้รับสั่งให้รวบรวมพระไตรปิฏกจากเมืองนครศรีธรรมราช เพราะพม่าได้เผาวัดที่กรุงศรีอยุธยาเสียหาย ทำให้พระไตรปิฏกกระจัดกระจาย จากนั้นก็ให้เชิญพระอาจารย์สี ที่อยู่วัดพนัญเชิง จ.อยุธยา มาดูแลวัดระฆัง พร้อมทั้งแต่งตั้งให้เป็นสมเด็จพระสังฆราชด้วย
ต่อมาในสมัย ร.1 พระองค์ให้ทำการสังคายนาพระไตรปิฏก และอาราธนาสมเด็จพระสังฆราช (สี) ที่ถูกถอดยศในสมัยของพระเจ้ากรุงธนบุรี มาปกครองวัดตามเดิม ดังนั้นสมเด็จพระสังฆราช (สี) นี้ จึงนับว่าเป็นสังฆราชรูปแรกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และเจ้าอาวาสรูปแรกของวัด ท่านปกครองวัดตั้งแต่ พ.ศ.2312-2337
ส่วนเจ้าอาวาสรูปที่ 6 ของวัดนั้น คือ สมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ท่านปกครองวัดตั้งแต่ พ.ศ.2395-2415 ท่านเป็นผู้รอบรู้และแตกฉานในธรรมะ มีความเป็นเลิศในการเทศนา จนได้รับการยกย่องจากผู้คนมากมาย รวมถึงกษัตริย์ไทยหลายพระองค์ ดังนั้นเราจึงเห็นรูปปั้นของท่านที่วัดนี้